All posts by นางธัญกมล บุญลือ

ภาวะ Burnout ในงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย

อะไรคือภาวะ Burnout  ผู้เขียน  คุณนิตยา บุญปริตร  ได้กล่าวถึงภาวะ Burnout คือ สภาวะซึมเศร้า ท้อใจและไร้ความสามารถในการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในหมู่พนักงานอาจมีสาเหตุจากหลายอย่าง อาจเกิดได้จากปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาจากทางบ้าน
หรือปัญหาส่วนตัวที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของ
พนักงาน ผู้บริหารไม่สามารถควบคุมเหตุดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม
จากงานวิจัยพบว่าฝ่ายบริหารจัดการสามารถหาวิธีต่างๆ เพื่อบรรเทา
หรือขจัดภาวะ Burnout รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้ อาทิจัดการอบรมเพื่อ
การพัฒนาอย่างสมบูรณ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการปรับตัว
ในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นและให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องสามารถ
ช่วยป้องกันสภาวะ Burnout ที่อาจเกิดขึ้นในที่ทำงานอย่างได้ผล

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

คุณนิตยา บุญปริตร. ภาวะ Burnout ในงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย  2552

โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2552)  56:59

ดิวอี้ เหมียวสมุด (2)

คุณชูมาน ถิระกิจ ได้เล่าถึง ดิวอี้ แมวเหมืยวที่อยู่ในห้องสมุด เป็นแมวประจำห้องสมุดประชาชนเมือง Spencer รัฐ Iowa สหรัฐอเมริกา   ดิวอี้ไม่ได้ใช้เวลานั่งๆ นอนๆทำตัวน่าเอ็นดูเพียงอย่างเดียว มันถือว่าตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ห้องสมุดของมันมีความสำคัญ และเอาใจใส่ในการทำให้ผู้เข้าใช้ห้องสมุดทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย รู้สึกถึงความเป็นมิตร ความยินดีในการต้อนรับพวกเขาเมื่อมาใช้ห้องสมุดอย่างทั่วถ้วน ไม่มีใครที่เข้ามาห้องสมุดแล้วจะไม่ได้รับการทักทายจากดิวอี้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

ชูมาน ถิระกิจ. ดิวอี้ เหมียวสมุด (2)  2552. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2552) :  64:70

งานวิจัยในมุมมองของ KM

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และงานวิจัย  ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง ของการจัดการความรู้และงานวิจัย  ชื่อว่า “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  ซึ่งผู้เขียน คุณจงจิต วงษ์สุวรรณ, คุณเจนจิรา อาบสีนาค, คุณศุภณัฐ เดชวิถี และคุณพรพิมล ช่างไม้  สรุปประเด็นได้ 7 ข้อ ดังนี้

  1. ขั้นตอนเริ่มต้น
  2.  การปฏิบัติ
  3. ชนิดของความรู้ที่เน้น
  4. ตัวแปร
  5. การยืดหยุน
  6. วิธีคิด
  7. ทิศทางการดำเนินงานความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

จงจิต วงษ์สุวรรณ  เจนจิรา อาบสีนาค ศุภณัฐ เดชวิถี และ พรพิมล ช่างไม้  (2552)  “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)  : 22:27

 

แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ ในสถาบันอุดมศึกษา ชื่อว่า  “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang”   ซึ่งผู้เขียน คุณกาญจนา จันทร์วัน  ดร.นันทวัน อินทชาติ  และ ดร.ศิรินทร ภู่จินดา ได้สรุปว่ามีกระบวนการจัดการความรู้ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมี 6 กระบวนการ ดังนี้

  1. การสร้างและแสวงหาความรู้
  2. การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
  3. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
  4. การเข้าถึงความรู้
  5. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
  6. การประยุกต์ใช้ความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

กาญจนา จันทร์วัน  นันทวัน อินทชาติ  และ ศิรินทร ภู่จินดา (2552)  “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang”                             วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)

 

โทรศัพท์มือถือช่วยในการทำงานมากกว่าที่คุณคิด

โทรศัพท์มือถือมีอิทธิพลมากสำหรับผู้คนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีโทรศัทพ์มือถือด้วยกันทั้งนั้น  เพราะนอกจากใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันแล้วยังสามารช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวดเร็วและประหยัดเวลาในการทำงาน เช่น

  • ใช้ในการติดต่อประสานงาน มือถือพัฒนาไปมากกว่าแค่การพูดคุย สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ติดต่อได้เร็วขึ้น และยังหาข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทุกทีทุกเวลา  สามารถติดต่อกันได้ผ่านทาง Facebook หรือ ทาง Line  ใช้ในการคุยหรือประชุมกันได้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
  • สามารถส่งเอกสาร รูปถ่ายไปให้เพื่อการตัดสินใจในการทำงานได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลาใช้คอมพิวเตอร์ในการส่ง email สามารถถ่ายรูปและส่งได้เลย ประหยัดเวลาและสามารถใช้ได้ทุกทีทำให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น
  • สามารถบันทึก วีดีโอ สามารถบันทึกเสียงในการประชุม
  • สามารถใช้โทรศัพท์ตรวจสอบความถูกต้องหรือชี้นำ กรณีเดินทางไปในสถานที่ไม่คุ้นเคย  ประโยชน์ของโทรศัทพ์ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าว เราควรหันมาดูแลโทรศัทพ์เพื่อยืดอายุของการใช้งานได้ง่าย ๆ ได้ดังนี้

1. ถอดสายชาร์ตออกทันทีเมื่อแบตเตอรี่เต็ม                                                            2. ลดแสงสว่างหน้าจอลง                                                                                                 3. ปิดฟังค์ชั่นต่าง ๆเมื่อไม่ใช้งาน

เพียงทำแค่นี้ก็สามารถยืดอายุการใช้งานของโทรศัพท์ของคุณได้

การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความรู้ของแต่ละหน่วยงาน ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข  เป็นอีกหนึ่งห้องสมุดที่มีการจัดการความรู้และ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการใช้ KM กับหน่วยงาน  เริ่มจากมีการเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk)  มีการจัดกิจกรรม CoP การใช้เทคโนโลยี Web 2.0 กับการจัดการความรู้ (KM) และ บล็อก (Blog) บล็อกเป็นการจดบันทึกความรู้ส่วนบุคคลและเป็นบันทึกประจำวันแบบสาธารณะ หรือ Public Diary ที่ให้คนอื่นอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ เมื่อนำมาใช้กับหน่วยงานจะยิ่งเป็นประโยชน์  สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

รุจเรขา  วิทยาวุฑฒิกุล. 2552. การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. โดมทัศน์  ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)

 

เรื่องเล่าจากต่างแดน: ดูงานห้องสมุดที่ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง

ผู้เขียน (คุณทิพวรรณ อินทมหันต์ และ คุณปัณฑารีย์ วีระพันธ์) ได้มีโอกาสไปดูงานห้องสมุด ณ เขต ปกครองพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน   จำนวน 2  แห่ง  ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง (The University of Hong Kong Libraries: HKUL) และ  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮ่องกง  (The Hong Kong  University of Science and Technology Library HKUSTL) จากการศึกษาดูงานห้องสมุดในต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นรูปแบบ การให้บริการที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ และเป็นแนวทางในการพัฒนางานบริการของหน่วยงานได้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

ทิพวรรณ อินทมหันต์ และ  ปัณฑารีย์ วีระพันธ์วารสาร. 2552. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 51-63

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie (Macquarie University Library)

ผู้เขียน (คุณรุ้งทิพย์  ห่อวโนทยาน)  ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานห้องสมุดในประเทศออสเตรเลีย และห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie   เป็นอีกหนึ่งห้องสมุดที่สนับสนุนการวิจัย มีการสนับสนุนการวิจัยด้วยบทบาทของบรรณารักษ์ผู้ช่วยห้องสมุด พร้อมทั้งการจัดให้ความรู้สารสนเทศ  การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด  ดังที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie ได้ประกาศไว้ว่า    “ห้องสมุดเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัย”  

โปรดติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

รุ้งทิพย์  ห่อวโนทยาน. 2552.  ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Macquarie (Macquarie University Library). วารสารโดมทัศน์ ปีที 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 43-50.

 

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library)

ผู้เขียนคือ คุณฐิติมา หิรัญเวชยางกูร ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและดูงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library)  เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เน้นด้านการวิจัย  ทำให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ มีบทบาทสำคัญในการให้การสนับสนุนข้อมูลในด้านการวิจัย ห้องสมุดมีบริการส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการวิจัยเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศด้วยตนเอง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้ จัดทำสื่อการสอนสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยรูปแบบที่นำเสนอจะใช้ภาพประกอบลักษณะ Animation และข้อความหรือคำบรรยายสั้นๆ

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง
ฐิติมา หิรัญเวชยางกูร. 2552. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library). วารสารโดมทัศน์ ปีที 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 37-42.

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย The Australian National University Library

ผู้เขียน (คุณสุมนา วัสสระ และ คุณจันทนา มากมิตร)                                 ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและดูงาน ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย The Australian National University Library ได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย    โครงสร้างการบริหารห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย      หรือในด้านการบริการของห้องสมุด ที่มีความรู้และเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานเป็นอย่างดีสามารถ  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง
สุมมนา วัสสระ และ จันทนา มากมิตร. 2552. วารสารโดมทัศน์ ปีที 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 22-36.