Category Archives: Tricks & Tips

Pathfinder เส้นทางการหาสารสนเทศ

Pathfinder เป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้บริการ เช่น นักศึกษา นักวิจัย  ในการวางแผนการหาสารสนเทศ เป็นเหมือนแผนที่นำทางสำหรับการบอกสารสนเทศที่สำคัญๆ หรืออาจจะพูดง่ายๆ ได้ว่า pathfinder เป็นเสมือนเนวิเกเตอร์ของสารสนเทศนั่นเอง

การสร้าง Pathfinder ต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างบรรณารักษ์และการเรียน การสอนในชั้นเรียน เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์มากที่สุด วัตถุประสงค์ของ Pathfinder ก็คือ การนำเสนอทรัพยากรสารสนเทศที่เลือกสรรแล้ว ทั้ง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อไม่ตีพิมพ์

Pathfinder เป็นเรื่องที่คุ้นเคยในห้องสมุดมานานหลายปีแล้ว เพราะช่วยประหยัดเวลาให้กับนักศึกษา นักวิจัยได้เป็นอย่างดี การสร้าง pathfinder จะช่วยเสริมทักษะการสืบค้นและเสริมความสามารถของบรรณารักษ์ในการเข้าใจหรือมีความชัดเจนในหัวข้อ เพื่อให้สามารถหาแหล่งสารสนเทศที่มีคุณภาพ การทำ pathfinder ที่ดีจะเป็นเสมือนเครื่องมืออ้างอิงอย่างหนึ่ง Continue reading Pathfinder เส้นทางการหาสารสนเทศ

รายละเอียดที่ต้องใส่ใจ

เมื่อต้องออกไปพูดหน้าเวที หรือต่อหน้าชุมชน ขอให้ใส่ใจกับรายละเอียดเหล่านี้ ได้แก่

  • ไมโครโฟน ก่อนพูดควรมีการทดสอบไมค์เสียก่อน ไมค์ที่ถูกจัดมาให้นั้น บางทีไม่ใช่ไมค์ลอย ซึ่งจะเป็นตัวจำกัดการเคลื่อนไหวของผู้พูด เพราะอาจจะต้องนั่งอยู่กับโต๊ะบรรยาย อย่างเดียว หรือยืนพูดอยู่กับที่ ควรต้องมีการพูดกับเจ้าภาพหริอเจ้าของสถานที่ เพื่อให้มีไมค์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการพูด ควรเหน็บไมค์ไร้สายให้เรียบร้อย
  • เวที บางงานจัดโต๊ะสำหรับบรรยายไว้กลางเวที ทำให้บังจอที่อยู่หลังผู้พูด การวางโต๊ะหรือวางแท่นพูดควรไว้ทางซ้ายมือของเวที ให้เวทีสำหรับการเดิน และขึ้นอยู่กับว่าจะบริหารเวทีได้เก่งแค่ไหน เหมือนสตีฟ จอบ์ส หรือไม่ ถ้าไม่เก่งจริง อาจเป็นการฆ่าตัวตายได้
  • ที่นั่ง การจัดที่นั่ง บางครั้งก็เป็นปัญหาในการมองเห็นผู้พูด หรือจอ มีการบังกัน การจัดที่นั่งที่ดีควรจัดเป็นรูปพัด จะทำให้ไม่บังกัน

วิทยากรแนะนำฐานข้อมูล : ประสบการณ์จากหอสมุดป๋วยฯ

ขอแชร์ประสบการณ์ของการเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และโปรแกรมช่วยการวิจัยของสำนักหอสมุด ในมุมของผู้เขียนเองที่ทำหน้าที่นี้มาประมาณ 7 ปีแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมตัวทุกครั้งก่อนจะออกไปสอน คือ

284817_10150262572679916_2542849_n

1) ต้องมีความรู้ในเรื่องที่เรากำลังจะถ่ายทอด จะต้องหมั่นศึกษาฐานข้อมูลและโปรแกรมช่วยการวิจัยต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ คอยตรวจสอบว่าฐานข้อมูลมีการอัพเดทหรือไม่ ถ้ามีการอัพเดทก็จะต้องเข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อเรามีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างดีแล้ว ก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจในการแนะนำผู้ใช้ต่อไป

2) ต้องลำดับเนื้อหาในการฝึกอบรมให้มีความต่อเนื่อง ไม่กระโดดข้ามเนื้อหาไปมา เพราะจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสับสนในเนื้อหาได้

3) จะต้องเป็นคนถ่ายทอดเป็น อันนี้สำคัญที่สุดเนื่องจากการวัตถุประสงค์ของการสอนการใช้ฐานข้อมูล ก็เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมนั้น สามารถใช้ฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตนเองหลังจากจบการฝึกอบรมไปแล้ว หน้าที่ของวิทยากรคือการพูดเรื่องที่เข้าใจยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย ต้องพูดจาฉะฉาน จุดเน้นอยากจะเน้นเป็นพิเศษก็ใช้น้ำเสียงให้หนักเบาช่วยได้ ที่สำคัญอย่าพูดเร็ว เพราะผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะตามไม่ทัน

4) ในขณะที่สอนก็ต้องดูท่าทีของคนที่รับการอบรมว่ามีท่าทางอย่างไรบ้าง กำลังง่วงเหงาหาวนอนหรือสนใจฟังในสิ่งที่เรากำลังอธิบาย ถ้าหากว่ากำลังง่วง เราก็อาจจะต้องพักเบรกเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ผ่อนคลายอิริยาบถบ้าง ถ้าหากคลาสไหนเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ อันนี้ต้องประสานกับผู้ช่วยวิทยากรให้ดีว่าผู้รับการฝึกอบรมตามทันหรือไม่

154547_469952459915_8301989_n

5) จะต้องมีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย ผู้เข้ารับการอบรมบางคนหัวไว เรียนรู้เร็ว แต่บางคนอาจจะไม่เข้าใจ ต้องมีการซักถาม หรือขอให้เราอธิบายอีกที ตรงนี้คนเป็นวิทยากรก็จะต้องเป็นคนที่ใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส คอยช่วยเหลือด้วยน้ำใจเมตตา ไม่หงุดหงิดที่จะต้องอธิบายเนื้อหาซ้ำๆ

284198_10150262572644916_6577669_n

6) ยอมรับในความเป็นตัวเองและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเป็นวิทยากร กล่าวคือ ถ้าธรรมชาติของเราไม่ใช่คนตลก แต่เราอยากจะลองตลกดูบ้างเพื่อสร้างบรรยากาศของการฝึกอบรมให้มีความสนุกสนานและเป็นกันเอง ซึ่งตรงนี้ต้องระวังให้ดี ถ้าเราทำตลกได้ไม่แนบเนียน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาจจะดูออกว่าเรากำลังฝืนทำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ดีเท่ากับการที่เราสอนในรูปแบบที่เป็นตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น บุคลิกภาพของเราเป็นคนจริงจัง มีมาดของนักวิชาการ เราก็สามารถเป็นวิทยากรในรูปแบบวิชาการได้ แต่ก็ต้องระวังอย่าให้เคร่งเครียดจนเกินไป มิฉะนั้นบรรยากาศของห้องเรียนจะดูเข้มข้นจริงจัง ชวนให้เบื่อหน่าย

เมื่อสอนเสร็จแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษก็คือ comment ของผู้รับการฝึกอบรมที่เราสามารถจะนำมาปรับปรุงเพื่อให้การเป็นวิทยากรในครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องบอกว่า comment นี้มีประโยชน์มากๆ
ผู้เขียนเองก็เคยได้นำ comment มาปรับใช้กับตัวเองอยู่บ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงปีแรกๆ ของการฝึกเป็นวิทยากร comment ที่จะได้รับเสมอคือ พูดเร็วเกินไป ตามไม่ทันค่ะ เราก็จะรู้ว่าต่อไปเราจะต้องพูดช้าๆ ชัดๆ ซึ่งก็ได้ผลดี เพราะตอนนี้ไม่มี comment เรื่องพูดเร็วแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นคำชมมากกว่า เช่น วิทยากรน่ารักจังค่ะ อธิบายดีมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มากเลย ฯลฯ เชื่อว่าถ้าใครเป็นวิทยากรและได้รับ comment แบบนี้ก็คงจะทำให้กำลังใจและอยากทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ส่วนตัวมองว่าการทำอะไรก็ตาม ถ้าหากเราหมั่นฝึกฝน เราจะเกิดความชำนาญในสิ่งนั้นเอง จากที่เคยคิดว่าตัวเองเป็นวิทยากรไม่ได้ ทุกวันนี้ก็ทำได้ดีในระดับหนึ่ง อาจจะยังไม่ดีที่สุด แต่ก็จะพยายามฝึกฝนต่อไป สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจเล็กๆ ให้กับทุกคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นวิทยากรต่อไปนะคะ Fighting!!!

คิดด้วยภาพ

การนำเสนอด้วยภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะถ่ายทอดความคิดของผู้นำเสนอออกไปถึงผู้รับฟัง ผู้อ่าน เห็นและเข้าใจความคิดที่ผู้พูดหรือผู้นำเสนอต้องการสื่อสารออกไป แต่การนำเสนอด้วยภาพ จะต้องถูกกรองด้วยการคิดด้วยภาพ การคิดและนำเสนอด้วยรูปภาพ ทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเข้าใจง่าย

หนังสือ เรื่อง คิดด้วยภาพ หรือ Think in Pictures ให้แนวคิดพื้นฐานในการคิดด้วยภาพ รวมทั้งให้คำแนะนำว่า ควรจะใช้เครื่องหมายแต่ละชนิดแทนความสัมพันธ์แบบใด พร้อมนำเสนอและสื่อสารความคิดในการทำงานด้วยรูปภาพที่มีประสิทธิภาพ

การนำเสนอด้วยภาพ
การคิดเสนอด้วยภาพ

 

คิดด้วยภาพ หรือ ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ว่า Zukai Suru Shikoho เขียนโดย นิชิมูระ คัตสึมิ แปลและเรียบเรียงโดย ประวัติ เพียรเจริญ  น่าหามาอ่านเพื่อจะได้แนวทางในการนำเสนอที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จากสมุดหน้าเหลือง สู่ Online Directory

เมื่อก่อนสัก 20 ปีที่แล้ว ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย หากเราต้องการค้นหาหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อใครสักคน หลายคนคงนึกถึง สมุดหน้าเหลือง หรือ Yellow Pages เป็นแน่ หากเป็นการค้นหาหมายเลขติดต่อในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นสมุดที่รวบรวมรายชื่อ (Directory) ซึ่งกว่าจะเปิดหาได้ก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน และกว่าอัพเดทข้อมูลกันสักทีก็ต้องรอกันเป็นปีเลยทีเดียว

Continue reading จากสมุดหน้าเหลือง สู่ Online Directory

Tip โปรแกรม EndNote: วิธีการคัดลอกรูปแบบการอ้างอิง (styles) ที่ใช้ในการอ้างอิง

จากการที่ได้ลองใช้โปรแกรม EndNote มาสักพัก ผมได้พบข้อจำกัดอย่างหนึ่งของโปรแกรม นั่นก็คือการคัดลอก style ของการอ้างอิง

ทำไมเราจึงต้องคัดลอก style ของ EndNote?

endnote
รูปจาก http://www.uib.no/ub/81071/endnote-kurs-p%C3%A5-bibliotek-humaniora

ในบางครั้งผู้ใช้ก็ต้องการ style การอ้างอิงที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน เพื่อให้ตรงกับข้อกำหนดของหน่วยงาน/องค์กรของตน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้การอ้างอิงแบบ APA แต่ในขณะเดียวกัน APA ตามข้อกำหนดของธรรมศาสตร์ก็แตกต่างไปจาก APA มาตรฐาน อย่างชื่อผู้แต่งชาวไทย จะไม่กลับเอานามสกุลขึ้นก่อน และยังมีข้อแตกต่างอื่นๆอีก ถึงแม้ว่าโปรแกรม EndNote จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขดัดแปลง (edit) style ของการอ้างอิงได้ หรือแม้กระทั่งสร้าง style ใหม่ได้ แต่การแก้ไขดัดแปลงจะทำให้เสีย style การอ้างอิงเดิมไป จึงเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม ส่วนการสร้างใหม่แต่ต้นนั้น ก็เป็นวิธีที่ยุ่งยากเกินไป ดังนั้นในทิปนี้ ผมจะเสนอวิธีการคัดลอก style ใน EndNote โดยการคัดลอกจากข้อมูลของ style โดยตรง โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

Continue reading Tip โปรแกรม EndNote: วิธีการคัดลอกรูปแบบการอ้างอิง (styles) ที่ใช้ในการอ้างอิง

Infographic- ทางเลือกใหม่ในการประชาสัมพันธ์ของห้องสมุด

Infographic คืออะไร?

ภาพประกอบจาก Infograpghicthailand.com
ภาพประกอบจาก Infograpghicthailand.com

Infographic หรือ Data / Information + Graphic คือ การสื่อสารโดยใช้ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ข่าวสาร หรือความรู้ โดยมีหลักการคือ ข้อมูลที่เรามีอยู่มหาศาลจะทำอย่างไรให้เข้าใจง่ายในเวลาอันจำกัดและเห็นภาพอย่างชัดเจน

การใช้ Infographic กับห้องสมุด 

TU Library

ในปัจจุบันการใช้ Infographic เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นองค์กรรัฐหรือเอกชน ในการนำเสนอข้อมูลหรือองค์ความรู้ขององค์กร และการประชาสัมพันธ์ต่างๆ เนื่องจากผู้บริโภคมักจดจำสื่อรูปภาพได้ง่ายกว่าสื่อที่เป็นข้อความเพียงอย่างเดียว ห้องสมุดก็สามารถใช้ Infographic ในการสื่อสารกับผู้ใช้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวันนี้ผู้เขียนจะแนะนำวิธีการสร้าง Infographic แบบง่ายๆ สำหรับห้องสมุดกันค่ะ

Continue reading Infographic- ทางเลือกใหม่ในการประชาสัมพันธ์ของห้องสมุด

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques) โดย อาจารย์ จรีพร กิตติวิมล ได้เสนอแนะวิธีและเคล็ดลับต่างๆ ในการนำเสนออย่างมืออาชีพ ดังนี้

Continue reading เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques)

Presentation strategies

ขอนำแนวทางในการตรวจสอบตนเองในการพูดหรือนำเสนอ แม้ว่าจะได้แนวทางนี้จากการฝึกพูดภาษาอังกฤษก็ตาม แต่เทคนิคเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเตรียมการพูดหรือนำเสนอโดยทั่วไปได้ค่ะ (Guidelines for checking own progress in making presentation in English)

Part I: Write 3 (often), 2 (sometimes), 1 (never)

  1. I practice English almost everyday?
    – I listen to the news in English
    – I read aloud or speak English
    – I write something in English
  2. I check website or read books to find new ideas.
  3. I identify the audience before I prepare my presentation.
  4. I write and rewrite my presentation a couple of times.
  5. I rehearse before I give a presentation, trying to stress or pause before important issues.
  6. I check the venue and equipment before I give a talk.
  7. I take a deep breath before I walk to the podium.
  8. I visualize myself doing a good presentation.
  9. I tell myself that I can do it well as I am well prepared.
  10. I do a small talk with some of the audience to establish human touch.
  11. I make a good start by starting with a problem.
  12. I capture the audience’s interest by telling them our success story.
  13. I prepare the audience by outlining the key areas I will talk about.
  14. My presentation has clear introduction, body and ending.
  15. I sum up key areas I have covered and strongly propose a course of actions.
  16. I believe in my ideas and speak with enthusiasm.
  17.  I stress or pause before the important points.
  18.  My voice is loud and clear.
  19.  I use visuals to support my talk (ie;…………………)
  20.  I maintain eye contact with audience.
  21. The audience understand the points I want to make.

Part II:

  1. If I have to rate my presentation I will give it 1/2/3. 1 for needing improvement. 3 for very good.
  2. If you rate 1 or 2, please specify areas you need to develop; (prioritize 1,2,3)
    ______general English proficiency
    ______pronunciation
    ______presentation skill
    ______strategies for building up confidence
    ______other………………………………