Category Archives: Tricks & Tips

นัดหมายการประชุมด้วย Doodle

วันนี้มีโอกาสได้ทดลองใช้ Doodle จากการสำรวจบุคลากรที่สะดวกเข้าร่วมทำแผนกลยุทธ์ ของสำนักหอสมุดในครั้งต่อไป เห็นว่ามีประโยชน์อย่างมาก ช่วยบริหารจัดการ เพื่อนัดหมายประชุมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ยิ่งถ้ามีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมากด้วยแล้ว กว่าจะสรุปวันเวลาที่สะดวกร่วมกันได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว

225323757_640

Continue reading นัดหมายการประชุมด้วย Doodle

เพิ่มพื้นที่ Dropbox แบบฟรีๆ ด้วยวิธีการแสนง่าย

amazingbox-vflRtyiCe

เมื่อเราสมัครใช้บริการ Dropbox เราจะได้รับพื้นที่ไว้เก็บข้อมูลแบบฟรีๆ 2 GB แต่หากเราต้องการพื้นที่เพิ่มโดยไม่ต้องเสียเงินจะทำอย่างไรดี วันนี้จะนำเสนอวิธีการง่ายๆ ในการเพิ่มพื้นที่ Dropbox ของทุกคนกันครับ ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนว่า Dropbox คืออะไร

“Dropbox คือ บ้านสำหรับรูปภาพ เอกสาร วิดีโอ และไฟล์ทั้งหมดของคุณ ทุกสิ่งที่คุณเพิ่มใน Dropbox จะปรากฏโดยอัตโนมัติบน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแม้แต่ เว็บไซต์ Dropbox คุณจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้จากทุกที่”

Continue reading เพิ่มพื้นที่ Dropbox แบบฟรีๆ ด้วยวิธีการแสนง่าย

เทคนิคการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ก่อนการขับขี่อย่างปลอดภัย

 เชื่อว่าเพื่อนๆ หรือพี่ๆ และน้องๆ ทุกท่านที่เป็นบุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ล้วนขี่รถจักรยานยนต์เป็นกันทุกคน

ทั้งขับขี่ในละแวกที่พักอาศัย ขับขี่มาทำงาน หรือขับขี่ในกิจกรรมอื่นๆ

แต่การขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่นนั้นเป็นอย่างไร  มีวิธีปฏิบัติแบบไหน ลองติดตามอ่านในบทความต่อไปนี้เลยดีกว่า

10301181_10152204469766275_6890626366293496851_n

Continue reading เทคนิคการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ก่อนการขับขี่อย่างปลอดภัย

วิธีแก้ปัญหา Flash Drive มองไม่เห็นข้อมูลที่เก็บไว้

ปัญหานี้เกิดจากการติดไวรัสจะทำให้มองไม่เห็นข้อมูลใน Flash Drive ก่อนอื่นต้องฆ่าไวรัสด้วยโปรแกรม Anti Virus ก่อน เพราะถ้าไม่ฆ่าไวรัสก่อนเวลากู้ข้อมูลกลับมา ข้อมูลก็จะติดไวรัสอยู่ดี มีวิธีแก้ไขปัญหานี้ 2 วิธีลองเลือกวิธีที่ถนัดได้เลยครับ  Continue reading วิธีแก้ปัญหา Flash Drive มองไม่เห็นข้อมูลที่เก็บไว้

พูดแบบ TED

Talk like TED (พูดแบบ TED)
Talk like TED (พูดแบบ TED)

พูดแบบ TED หรือ Talk like TED : The 9 Public Speaking Secrets of the World’s Top Minds ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ รีบอ่าน แต่กว่าจะอ่านจบก็ล่วงเลยมาหลายวันเหมือนกัน เพราะอ่านๆ หยุดๆ อ่านข้ามๆ ก็ไม่ได้ เพราะมีเรื่องผลการวิเคราะห์จากผู้เขียนที่นำเสนอเข้ามาประกอบ ทำให้ต้องอ่านและทำความเข้าใจไปอย่างช้า

พูดแบบ TED เขียนโดย คาร์ไมน์ แกลโล (Carmine Gallo) ภาษาไทยแปลโดย พลอยแสง เอกญาติ สรุปถึงเคล็ดลับการพูดในที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ โดยวิเคราะห์การนำเสนอการพูดของ TED กว่า 500 ชุด และพูดคุยกับผู้พูดของ TED ที่ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งยังสัมภาษณ์นักประสาทวิทยา นักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารชั้นนำระดับโลกเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าเหตุใด แนวคิดซึ่งเป็นพื้นฐานขององค์ประกอบเหล่านี้ถึงได้มีความสำคัญ สรุปได้ว่า การนำเสนอที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ TED มีองค์ประกอบร่วมกัน 9 ประการ Continue reading พูดแบบ TED

การค้นหาภาพบนอินเทอร์เน็ต เพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัย

ในการเขียนบทความขึ้นเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต มักจะมีภาพประกอบเนื้อหา แต่การนำภาพมาใช้ประกอบนั้น ต้องไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพที่ปลอดภัยที่สุดคือ ภาพที่ถ่ายเอง หรือสร้างขึ้นมาเอง หรือถ้าจะใช้ภาพที่มีการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ต้องทราบวิธีในการค้นหาภาพทีมีการเผยแพร่แบบสาธารณะหรือเป็น public domain หรือ creative commons สามารถอ่านรายละเอียดการค้นหารูปภาพบน google ที่ปลอดภัย

Knowledge Sharing แลกเปลี่ยนการเรียนรู้

หลักสูตรการอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรของสำนักหอสมุด 2 วันที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์กับบุคลากรทั้งได้ความรู้เพิ่มเติม ได้บ้าง ได้นิดหน่อย ได้นิดๆ  บางท่านที่เข้าอบรมถามกับทางทีมงานว่า มีเอกสารคู่มือไหม จะหาทบทวนได้ที่ใดบ้างเพราะโปรแกรมน่าสนใจนำมาประยุกต์ใช้กับงานประจำ และใช้ในเรื่องส่วนตัวบ้างบางส่วน ทางทีมงานก็เลยจะนำตัวอย่างโปรแกรม การเข้าถึงของโปรแกรม ที่ท่านๆ สามารถเข้าไปใช้งานและทดลองทบทวนความรู้และนำไปพัฒนาได้โดยเริ่มจาก

โปรแกรม Antivirus Panda
เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานในการปกกัน Virus คอมพิวเตอร์ที่ดีตัวหนึ่งและไม่จำเป็นต้อง Update เพราะระบบการ Update จะไปที่ cloud Internet สะดวกรวดเร็วในการ Install Program และใช้งานง่าย สามารถ Download ผ่านทาง http://www.cloudantivirus.com

Continue reading Knowledge Sharing แลกเปลี่ยนการเรียนรู้

DIY เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร ( ภาพถ่ายที่ต้องการระยะโฟกัสสั้นมากๆ ) ด้วยกล้องจากสมาร์ทโฟน อย่างง่ายๆ

ในปัจจุบัน ผมเชื่อว่าทุกคนล้วนมีสมาร์ทโฟน หรือโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ หรือมือถือรุ่นใหม่ๆ  กันแทบทุกคน ซึ่งเป็นเหมือนอวัยวะที่  33 ของมนุษย์เราเข้าไปทุกที เพราะมันอำนวยความสะดวกได้สารพัดอย่าง รวมถึงการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรหมแดน การจัดเก็บข้อมูล การเข้าถึงเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตเปิดสู่โลกกว้าง ฯลฯ

และที่มีแถมมากับสมาร์ทโฟนแทบทุกรุ่นคือกล้องถ่ายภาพซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีถ่ายภาพในสมาร์ทโฟนนั้นล้ำหน้าไปไกลมีคุณภาพสูงทีเดียวพักหลังๆ มานี้ผมจึงเริ่มชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องมือถือครับ เพราะด้วยเทคโนโลยีของกล้องมือถือนั้นมีเพิ่มมากขึ้นทั้งความละเอียด,ฟังก์ชั่น,ความคมชัด เรียกว่าถ้าถ่ายกันดีๆ มุมได้ แสงได้ นี่สวยไม่แพ้กล้องโปร DSLR เลยทีเดียว และผมเชื่อว่า ชาวสำนักหอสมุดก็คงเช่นเดียวกัน
สำหรับกล้องมือถือนั้นมีการถ่ายอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจคือการถ่ายมาโครครับ คือการถ่ายภาพแบบโฟกัสเข้าหาวัตถุใกล้เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดขึ้นและเพิ่มมุมมองใหม่ๆที่แปลกตา แต่กล้องมือถือบางรุ่นการถ่ายภาพมาโครนั้น บางทีก็มีอุปสรรคเหมือนกันนั่นก็คือเรื่องของการโฟกัสที่ไม่ค่อยจะได้ดั่งใจสักเท่าไร Continue reading DIY เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร ( ภาพถ่ายที่ต้องการระยะโฟกัสสั้นมากๆ ) ด้วยกล้องจากสมาร์ทโฟน อย่างง่ายๆ

ขั้นตอนการติดตั้ง Firefox บน Windows

บางท่านมีคำถามว่าทำไมเวลาลงระบบปฏิบัติการใหม่ (Windows) ทำไมไม่มี Browser Firefox แล้วมีวิธีการติดตั้งอย่างไรขั้นตอนยากไหม ตอบเลยไม่ยากครับมาทำตามขั้นตอน ไปที่ หน้าดาวน์โหลด Firefox ใน Browser ใดก็ได้ (ตัวอย่างเช่น Microsoft Internet Explorer) หน้านั้นจะเลือกรุ่นที่ดีที่สุดของ Firefox ให้อัตโนมัติสำหรับลงในเครื่องของท่าน
https://www.mozilla.org/en-US/firefox/new/?scene=2#download-fx

f1คลิกที่ ลิงก์ดาวน์โหลดสีเขียวเพื่อดาวน์โหลดตัวติดตั้ง Firefox หลังจากนั้นกดปุ่ม Run แนะนำให้ออกจากโปรแกรมทุกโปรแกรมที่ท่านเปิดใช้งานไว้อยู่ Continue reading ขั้นตอนการติดตั้ง Firefox บน Windows

นำเสนอได้เก่งด้วย 2 วิธี

จากบทความของ David Lee King พูดถึงการที่ต้องไปนำเสนอในการบรรยาย การสัมมนา ในโอกาสต่างๆ เค้าก็ได้เรียนรู้ว่า การนำเสนอที่น่าสนใจ และทำให้เรานำเสนอได้ดีขึ้น มี 2 วิธี

ข้อแรก คือ นำเสนอแบบการเล่าเรื่อง (Tell a Story)
ข้อที่สอง คือ ตบท้ายว่าจะทำต่อไป (End with Next Steps)

การเล่าเรื่อง: นำเสนอแบบการเล่าเรื่อง ก็เพราะว่า การเล่าเรื่องเป็นสิ่งที่ติดตามได้ง่าย จดจำได้ง่าย เพราะเนื้อเรื่อง มีการตั้งต้น มีกลางเรื่อง และมีตอนจบ ในการเล่าเรื่องมีภาพเพื่อให้เห็นภาพได้มากกว่า มีแต่ตัวอักษร

ตัวอย่างเช่น  คุณอาจจะเล่าเรืองว่า

  • คุณจะพัฒนาห้องสมุดของคุณได้อย่างไร
  • ทำไมหน่วยงานของคุณถึงต้องการงบประมาณเพิ่มเติม
  • คุณทำงานอะไร   บริการใหม่ๆ ของคุณเป็นอย่างไร

ตบท้ายด้วยจะทำอะไร: ผู้นำเสนอมักจะพูดว่า ต่อไปเป็นสไลด์สุดท้ายแล้ว แต่ถ้าคุณเปลี่ยนตอนจบของการนำเสนอเพื่อให้ผู้ฟัง ทราบว่าคุณจะทำอะไรต่อไป เช่น

  • จะทำอะไรต่อไปในสัปดาห์หน้าหลังจากฟังการนำเสนอนี้แล้ว
  • เราจะทำอะไรที่แตกต่างไปจากนี้ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากนี้
  • มี 3 ขั้นตอนที่สามารถทำได้ในวันพรุ่งนี้ เพื่อปรับปรุงบางอย่าง
  • ฉัน ควรจะทำอย่างไรกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตน่าจะลองเอาไปใช้ดูนะคะ

รายการอ้างอิง
King, David Lee. Two Ways to Improve Your Presentations. Retrieved March 26, 2015 from http://www.davidleeking.com/2015/02/19/two-ways-to-improve-your-presentations/