ปัจจุบันเวลาสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นจากการสืบค้นผ่าน
มักจะเจอรายการบรรณานุกรมภาษาไทย มีอีกหนึ่งภาษาขึ้นมาคู่กัน เป็นภาษาที่จะเรียกว่า Karaoke ก็ไม่ใช่ แต่จะคล้ายๆ จะมีอักษรลักษณะพิเศษเพื่อช่วยในการออกเสียง ภาษาที่ว่านี้กัน นั่นคื่อภาษา Romanization
Romanization คือ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง (ดูคู่มือการถอดเสียงได้ที่นี่) ในกรณีของภาษาญี่ปุ่น คือ Romaji ในกรณีของภาษาจีนคือ Pinyin
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารและการเก็บ ข้อมูลในระดับสากล เพราะปัจจุบันสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC (Online Computer Library Center)
ปัจจุบันผู้อำนวยการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นประธานกรรมการบริหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ฐานข้อมูล OCLC เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมขนาดใหญระดับโลก เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรม ทั้งในแง่การใช้ฐานข้อมูลบรรณานุกรมร่วมกันหรือการยืมระหว่างห้องสมุด (OCLC WorldShare)
การ Romanization เพื่อการสื่อสารและเก็บข้อมูลในฐาน OCLC ของสำนักหอสมุด ปัจจุบันจะ Ramanization โดยใช้ โปรแกรมแปลงสาส์น ช่วย และบรรณารักษ์จะตรวจสอบความถูกต้องของอักษรโรมันและการออกเสียงอีกครั้ง
สำหรับรายละเอียดบรรณานุกรมที่ทางสำนักหอสมุด Romanization ได้แก่เขตข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง (กรณีไม่มีชื่อภาษาอังกฤษ) ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ในส่วนของหัวเรื่องจะใช้เป็นหัวเรื่องภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ชาวต่างชาติที่ใช้ข้อมูลด้วยกัน สามารถอ่านออกเสียงภาษาไทยได้และทราบว่าหนังสือเล่มนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร
เมื่อทำรายการบรรณานุกรมที่ฐาน OCLC แล้วก็จะดาวน์โหลดข้อมูลมาใช้ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) ของห้องสมุด ประหยัดเวลาทำรายการบรรณานุกรมใหม่ จึงทำให้ปรากฏข้อมูลบรรณานุกรมเป็นภาษาไทยและภาษาการ Romanization เช่น
เอกสารอ้างอิง
นิตยา กาญจนะวรรณ. “คำชี้แจงเรื่อง Romanization” [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2558 จาก http://www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/2038_4817.pdf