สวัสดีครับ ผมชื่อหมอเปรม แต่ไม่ใช่เป็นหมอรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลทั่วไปนะครับ ผมเป็นหมอประจำห้องสมุด คลีนิกของผมชื่อว่า “ห้องคลังหนังสือกลางน้ำ” ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ข้างๆสหกรณ์ออมทรัพย์เยื้องกับศูนย์การเรียนรู้หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไปมาหาสะดวกนั่งมอเตอร์ไซด์วินแวะชมได้ในเวลาราชการ (08.00-16.00น.) คลีนิกของเราจะรับซ่อมเฉพาะหนังสือของสมาชิก และ ห้องสมุดสาขาที่สังกัดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น เราไม่ได้รับแบบ EVENT ทั่วไป และท่านที่สนใจเกี่ยวกับการรักษาหนังสือ ซ่อมหนังสือ ที่เราบริการแนะนำหรือปรึกษาได้นะครับ อย่างเช่นวันนี้เราก็ได้แนะนำเกี่ยวกับการทำหนังสือที่เป็นคลื่นเกิดจากการเปียกน้ำของน้อง บุคส์
หมอเปรม: “สวัสดีครับน้องบุคส์”
น้องบุคส์: “สวัสดีครับลุงหมอ”
หมอเปรม: “วันนี้น้องบุคส์มีอะไรให้ลุงหมอช่วยหรือครับ?”
น้องบุคส์: “มีครับลุงหมอหนังสือเปียกน้ำแล้วเป็นคลื่นครับ”
หมอเปรม: “ไปทำยังไงให้หนังสือเปียกน้ำ?”
น้องบุคส์: “แหม! ลุงหมอก็รู้ๆอยู่ว่า ธรรมศาสตร์รังสิตฝนมันตกต้องตามฤดูกาลรึ.”
หมอเปรม: “ฝนตกแล้วเป็นยังไง? น้องบุคส์เอาหนังสือเป็นร่มหรือไงฝนถึเปียก”
น้องบุคส์: “ ถูกต้องแล้วคร้าบ…, ลุงหมอนี้เดาแม้นจริงๆ”
หมอเปรม: “ลุงไม่ได้เดาหรอกนะเว้ย…,มันเป็นข้อสังเกตของลุงเห็นน้องๆทำกันเป็นประจำ, กระเป่ามีก็ไม่ใส่, เอาละ!…ไหนเอามาดูซิ!”
หมอเปรม: “คลื่นนิดเดียวนะน้องบุคส์”
น้องบุคส์: “เล่มนี้คลื่นไม่มากครับลุงหมอ”
หมอเปรม: “ยังมีอีกเล่มรึ?”
น้องบุคส์: “ยังมีอีกเล่มครับผม”
หมอเปรม: “อยู่ไหนล่ะ”
น้องบุคส์: “อยู่นี่ครับผม”
หมอเปรม: “โอโฮ้!…นี่มันคลื่น..สึนามิ..นี่หว๋า; ไม่เป็นไรเดียวลุงจะสาธิตให้ดู การทำให้เรียบเหมือนเดิม..ง่ายนิดเดียว”
น้องบุคส์: (นึกในใจ) “ลุงนี่ขี้โม้จริงๆ”
หมอเปรม: “นำแผ่นพลาสติกมาสอดใต้แผ่นกระดาษที่เป็นคลิ่น แล้วใช้พู่กันจุ่มน้ำเปล่าธรรมดามาละเลงบนคลื่นกระดาษ เมื่อถูกน้ำกระดาษก็จะคลาย เห็นไหม? หลังจากนั้นก็นำกระดาษทิชชูหรือกระดาษซับน้ำมาวางทับบนกระดาษหนังสือที่เปียกน้ำ เพื่อที่จะซับน้ำออกจากกระดาษหนังสือ พอกระดาษหนังสือเปียกหมาดๆ เราก็พลิกกระดาษทิชชูหรือกระดาษซับน้ำอีกด้านหนึ่ง วางทาบบนกระดาษแล้วนำแผ่นพลาสติกมาวางทับอีกทีหนึ่ง ดังจะได้ดูต่อไปนี้.”
หมอเปรม: “ทำไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมดแผ่นคลื่นกระดาษ”
น้องบุคส์: “วันนี้ลุงหมอสาธิตให้หมดทั้งสองเล่มเลยนะครับ”
หมอเปรม: “เฮ้ย!..ไอ้หมอนี้นี่; จะเอาเปรียบคนแก่แล้วนะโว้ย.. ลองไปทำเองดูบ้างมันจะได้ทำเป็น คราวหน้าไม่ต้องมาพึ่งลุงอีก”
น้องบุคส์: “แหม..ลุงก๊..ล้อเล่นแค่เนี๊ยะทำเป็นบ่นยาวเลยนะ เดียวผมเอาไปทำที่บ้านก็ได้ครับ”
หมอเปรม: “เออ…ต้องยังงั้นซิไอ้หนู ดีมากลูก”
หมอเปรม: “เมื่อทำเสร็จแล้วก็นำของหนักๆ หรือหนังสือสัก10เล่มทับ เห็นไหม? กำลังทับอยู่เนี๊ยะ รออีก 5 ชั่วโมงเราจะมาเปิดดูกัน.”
หมอเปรม: “เป็นไงบ้างน้องบุคส์ถูกพวกเดียวกันทับไว้ตั้งห้าหกชั่วโมงหนักไหม?”
น้องบุคส์: “โถ; ลุง..ลองให้พวกลุงทับดูบ้างซิครับว่ามันอึดอัดแค่ไหน”
หมอเปรม: “เอาล่ะ!; ได้เวลาที่จะต้องเอากระดาษและแผ่นพลาสติกออกแล้ว ดึงออกทีละแผ่นๆตั้งใจดูน่ะ.”
หมอเปรม: “ทุกอย่างจบลงด้วยดีเรียบร้อย; Chi’s school.”
น้องบุคส์: “ลุงหมอพูดอังกฤษเป็นด้วยรึ?”
หมอเปรม: “ลุงก็เป็นหมอลักจำ ก็จำเขามาแค่นั้นเอง”
น้องบุคส์: “ลุงหมอครับ! เราเสร็จทุกขั้นตอนแล้วใช่ไหมครับ?”
หมอเปรม: “Ok, ทุกอย่างทุกขั้นตอนเรียบร้อย;กลับขึ้นชั้นได้ เลย.”
น้องบุคส์: “ครับ..ขอบพระคุณมากๆครับลุงหมอ”
หมอเปรม: “โชคดีนะครับ”
ในที่สุดการซ่อมคลื่นหนังสือก็เสร็จสิ้นลงแต่โดยดี การชำรุดหนังสือบางอย่างเราก็สามารถทำเองได้ไม่ยากเพียงแต่เรามีอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้นอย่างเช่นในกรณีนี้ก็มี น้ำ,พูกัน,กระดาษซับน้ำหรือกระดาษทิชชู และก็แผ่นพลาสติก สี่ห้าอย่างก็ทำได้สะบายๆ อุปกรณ์เหล่านี้เราสามารถหาซื้อได้ตามร้านสดวกซื้อทั่วไป, มีหนังสือเก่าๆ หรือหนังสือใหม่ ในห้องทำงาน หรือที่บ้านถ้ามีอย่างในกรณีเคส case นี้ก็ลองทำดูนะครับ เรามาเป็นหมอช่วยกันรักษาชีวิตหนังกันเถิดครับ. “อ่านหนังสือกันวันละนิดชีวิตจะโสภา รักษาหนังสือกันคนละเล่มโลกนี้เต็มไปด้วยปัญญา”
( พบกันใหม่โอกาสหน้าถ้าชีวิตมี)
ขอบคุณครับ