ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบทำรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาของสำนักหอสมุดมาหลายแห่ง
เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่งในระยะแรกๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันโดยใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และเขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนที่เห็น เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทัพยากรฯ และรับผิดชอบงานการทำรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดยรวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่ารายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yuโดยเขียนแยกกัน และใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักภาษาอังกฤษซึ่งจะเขียนภาษาต่างๆ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และเขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน(中国)จะสะกดเป็นZhongguoปักกิ่ง(北京)จะสะกดเป็น Beijing เป็นต้น
หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของALA-LC Romanizationแล้วจึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่งจะขอเล่าความเป็นมาและยกตัวอย่างหลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้
- ระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC ใช้การสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin ซึ่งระบบ Pinyin ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่กลางศตวรรษที่20โดยการใช้อักษรลาตินแทนอักษรจีน ALA-LC จะใช้ระบบPinyinแทนระบบ Wade-Giles ซึ่ง ALA-LC ใช้ในระยะแรกๆ ALA-LC จะใช้ระบบPinyin ที่ใช้ใน Han yu pin yin fang an 汉语拼音方案 (1962) โดยจะไม่ใส่เสียงวรรณยุกต์
- การออกเสียงสะกดคำตามมาตรฐานภาษาจีน ถ้ามีคำใดที่ออกเสียงได้หลายเสียงก็จะยึดตาม Cihai 辞海(พิมพ์โดย Shanghai ci shuchu ban she) หรือถ้ามีข้อสงสัยก็สามารถค้นหาจากแหล่งต่างๆ เช่น Xian dai Han yu ci dian现代汉语词典, Zhonghua da zidian中华大字典, Han yu da ci dian汉语大词典และ หรือ XinHuazidian新华字典หรือ พจนานุกรมเฉพาะสาขา เช่น Zhongguo li daiyijiazhuanlu
中国历代医家转录, พิมพ์ปี 1991 - การแปรเป็นอักษรโรมันคำที่ไม่ใช่ภาษาจีน ถึงแม้จะเป็นคำรู้จักกัน หรือ ใช้อักษรลาตินมาแต่เดิม ก็จะใช้การสะกดตามระบบPinyin เช่น
– 乌鲁木齐ใช้ Wulumuqiไม่ใช้ Urumchi
– 哈尔宾市ใช้Haerbin Shi ไม่ใช้ Harbin
– 芝加哥ใช้ Zhijiageไม่ใช้ Chicago
– 东京ใช้ Dongjingไม่ใช้ Tokyo เป็นต้น - การแยกพยางค์ ให้แยกการแปรอักษรโดยการเว้นวรรคคำแต่ละคำเช่น
明清小说比较研究Ming Qing xiaoshuo bi jiaoyanjiu - ชื่อเฉพาะจะเขียนติดกันและใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น
中山大学Zhongshan da xue - ชื่อชาวจีน จะใช้แซ่(ชื่อสกุล)ตามด้วยชื่อตัว โดยใช้แซ่เป็นอักษรตัว
ใหญ่ตัวแรก และชื่อตัวจะใช้อักษรตัวใหญ่ตัวแรกเช่นกัน เช่น 毛泽东Mao Zedong
นอกจากหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีรายละเอียดต่างๆ ที่ ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จาก ALA-LC Romanization
ตัวอย่างการลงรายการหนังสือภาษาจีน ของ OCLC
049 TULA
1001 陈楠, ǂe author.
1001 Chen, Nan, ǂe author.
24510图说大秦帝国 / ǂc陈楠编著.
24510 Tushuo da Qin di guo / ǂc Chen Nan bianzhu.
24630大秦帝国
24630 Da Qin di guo
2461 ǂi English title on page [4] of cover: ǂa History of Qin dynasty
250 第1版.
250 Di 1 ban.
264 1武汉市 : ǂb武汉出版社, ǂc 2012.
264 1 Wuhan Shi :ǂb Wuhan chu ban she, ǂc 2012.
300 16 pages, 8 pages, 263 pages : ǂb illustrations (some color), maps (some color), portraits, facsimiles ; ǂc 26 cm.
336 textǂb txt ǂ2 rdacontent
337 unmediatedǂb n ǂ2 rdamedia
338 volumeǂbncǂ2 rdacarrier
4901 历史看得见 = ǂa History ; ǂv 7
4901 Li shikan de jian = ǂaHistory ;ǂv 7
4901 帝国风云系列
4901 Di guofengyun xi lie
651 0 China ǂx History ǂy Qin dynasty, 221-207 B.C.
651 7 China.ǂ2 fast ǂ0 (OCoLC)fst01206073
648 7221 – 207 B.C. ǂ2 fast
655 7 History.ǂ2 fast ǂ0 (OCoLC)fst01411628
830 0历史看得见 ; ǂv 7.
830 0 Li shikan de jian ;ǂv 7.
830 0帝国风云系列.
830 0 Di guofengyun xi lie.
จากตัวอย่างรายการหนังสือภาษาจีนข้างต้น หากเราสืบค้นโดยสะกดและเว้นวรรคคำต่างกัน จะไม่สามารถสืบค้นรายการหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ ดังนั้นผู้สืบค้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้การสะกดและเว้นวรรคคำภาษาจีนให้ถูกต้อง จึงจะสามารถสืบค้นหนังสือตามที่ต้องการได้