ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเวลาสืบค้นหนังสือของสำนักหอสมุด จะได้เลขเรียกหนังสือหรือเลขหมู่หนังสือนั้นมีอยู่หลายแบบ อาจจะทำให้ผู้ใช้บริการสงสัยอยู่บ้าง ทั้งนี้บางครั้งจะพบว่าหนังสือเล่มเดียวกันแต่มีเลขเรียกหนังสือต่างกัน เพราะสำนักหอสมุด ได้มีการปรับเปลี่ยนเลขเรียกหนังสือให้สอดคล้องกับปัจจุบันโดยไม่กลับไปแก้ไขเลขเรียกหนังสือเดิม ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการกำหนดเลขเรียกหนังสือของผู้ปฏิบัติงาน การจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้นของผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนการค้นหาของผู้ใช้บริการ
ตัวอย่าง หนังสือเล่มเดียวกันแต่มีเลขเรียกหนังสือต่างกัน
การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ โสตทัศนวัสดุ เอกสาร) ในห้องสมุดจะจัดเก็บตามประเภทของทรัพยากร (Collection) โดยจัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือของทรัพยากรนั้น เช่น หนังสือทั่วไป (General Books) หนังสืออ้างอิง (Reference Books
) วิทยานิพนธ์ (Thesis) หนังสือหายาก (Rare Books) นวนิยาย (Fiction) หรือเอกสาร (Document) (สิ่งพิมพ์ที่มีขนาดเล็ก หรือจำนวนหน้าไม่เกิน 50 หน้า จัดเก็บในระบบปิดผู้ใช้บริการสามารถขอใช้บริการได้จากบริการยืม-คืน) เป็นต้น
สำนักหอสมุดเริ่มแรกนั้นได้จัดหมวดหมู่หนังสือเป็นระบบทศนิยมดิวอี้ หรือระบบตัวเลข เช่น 340.8 .น6 2547 ปัจจุบันก็ยังสามารถพบได้แต่ในจำนวนน้อย
ทั้งนี้เพราะห้องสมุดได้เปลี่ยนมาใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ในระบบรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress classification : LC) เพื่อให้สอดคล้องกับสาขาวิชาและจำนวนทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น
ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือระบบ LC
มาจนถึงปี 2557 สำนักหอสมุดได้เปลี่ยนระบบการจัดหมวดหมู่ใหม่อีกครั้ง โดยใช้การจำแนกหมวดหมู่ตามสาขาวิชาของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทั้งสาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาย่อย หรือที่เราเรียกว่า เลขหมู่ระบบใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันที่หนังสือมีจำนวนมาก ลดขั้นตอนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและค้นหา
ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือระบบใหม่
เปรียบเทียบเลขเรียกหนังสือ ระบบใหม่ และ ระบบ LC
นอกจากหนังสือที่หอสมุดกำหนดเลขหมู่หนังสือแล้ว ยังมีทรัพยากรอย่างอื่น เช่น เอกสาร (Document) นวนิยาย (Fiction) และโสตทัศนวัสดุ ที่หอสมุดกำหนดขึ้นเอง (Local Call Number)
ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือของเอกสาร