ผู้คัดเลือกหนังสือที่มีวัสดุฯประกอบ ต้องระบุไว้บนสลิปที่แนบกับตัวเล่มหนังสือว่ามีวัสดุฯ ประเภทใดประกอบ ดังตัวอย่าง
ผู้ทำหน้าที่ประทับตราห้องสมุดและติดบาร์โค้ดต้องตรวจดูหนังสือทุกเล่มว่ามีวัสดุฯประกอบแนบมาด้วยหรือไม่ เพราะผู้คัดเลือกอาจลืมระบุไว้บนสลิปดังกล่าว จากนั้นจึงนำหนังสือที่เป็นหลักมาประทับตรา “มีวัสดุลักษณะประกอบ”สำหรับภาษาไทย และ “With accompanying materials” สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ โดยประทับตราที่หน้าปกในตรงมุมล่างด้านซ้ายด้วยหมึกสีแดง สำหรับวัสดุประกอบนั้นจะต้องประทับตราห้องสมุด ประทับวันที่ทำ ติดบาร์โคด และดำเนินการอื่น ๆ ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกันตามประเภท ดังนี้
- ซีดี-รอม (CD-ROM)
– ตรวจดูชื่อเรื่องบนแผ่น ซีดี-รอม หากไม่มีต้องเขียนชื่อเรื่องให้เรียบร้อยก่อน
– นำ ซีดี-รอม ใส่กล่องพสาสติก
– ติดสติ๊กเกอร์สีขาวตรงมุมบนขวาของกล่องพลาสติก
– เขียนประเภทของวัสดุฯ และจำนวนวัสดุฯ ที่อยู่ในกล่องพลาสติกลงบนสติ๊กเกอร์ใต้ตราห้องสมุด เช่น ซีดี-รอม 1 แผ่น หรือ 1 CD- ROM
– ประทับวันที่ทำตรงส่วนล่างของสติ๊กเกอร์
– ติดบาร์โคตตรงมุมล่างซ้ายของกล่องพาสติก - แผนที่ – MAP
– นำวัสดุประทับตราคณะและวันที่
– นำวัสดุฯ ใส่ซองกระดาษสีน้ำตาลตามขนาดที่เหมาะสม
– ประทับตราห้องสมุดตรงมุมบนขวาของซอง เขียนประเภทและจำนวนวัสดุฯ ที่อยู่ในซองไว้ด้านล่างของตราห้องสมุด เช่น แผนที่ 1 แผ่น หรือ 1 MAP
– ประทับตราวันที่ทำตรงมุมล่างของซอง
– ติดบาร์โคดตรงมุมล่างซ้ายของซอง
– พิมพ์ชื่อเรื่องของวัสดุ แล้วนำมาติดบนซอง - วัสดุฯ ประเภทอื่นๆ : แว่นตา
– นำวัสดุฯใส่ซองกระดาษสีน้ำตาล
– ประทับตราห้องสมุดตรงมุมบนขวาของซอง เขียนประเภทและจำนวนวัสดุฯที่อยู่ในซองไว้ด้านล่างของตราห้องสมุด เช่น แว่นตา 2 คู่ หรือ Pair $-d Glasses
– ประทับตราวันที่ทำตรงมุมล่างขวาของซอง
– ติดบาร์โคดตรงมุมล่างซ้ายของซอง