การจัดทำ CONTENTdm : วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีระบบ CONTENTdm โดยเนื้อหาประเภทหนึ่งที่บรรจุในระบบดังกล่าว คือ วิทยานิพนธ์ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าถึงข้อมูลฉบับเต็ม (Full text) ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางมาห้องสมุด เพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัสแป้นพิมพ์ ก็สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเบื้องหลังของขั้นตอนการทำ CONTENTdm วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนำไฟล์วิทยานิพนธ์แต่ละชื่อเรื่องมากำหนดเมทาดาทา (metadata) ซึ่งวิทยานิพนธ์แต่ละชื่อเรื่องต้องกำหนดให้มี 2 ไฟล์ คือไฟล์ที่เป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full text) และไฟล์ที่เป็นบทคัดย่อ (Abstract) โดยจัดเก็บเป็นไฟล์สกุล .pdf และนำมากำหนดเมทาดาทาทั้ง 2 รายการ

ขั้นตอนการจัดทำเมทาดาทา

1.เปิดโปรแกรม Adobe Acrobat Pro Extended เพื่อกำหนดเมทาดาทา (metadata) ให้กับ ไฟล์วิทยานิพนธ์แต่ละชื่อเรื่อง ทั้งไฟล์ Full text และ Abstract

ตัวอย่างการจัดทำเมทาดาทาวิทยานิพนธ์ของอภิรักษ์ แซ่เตีย

1. นำไฟล์วิทยานิพนธ์ของอภิรักษ์ แซ่เตีย ที่จัดเก็บเป็นไฟล์สกุล PDF มากำหนดเมทาดา (Metadata) ทั้งไฟล์ เอกสารฉบับเต็ม (Full text) และไฟล์บทคัดย่อ (Abstract) ดังนี้

คำอธิบายการบันทึกรายละเอียดทางบรรณานุกรม

Title: การศึกษาปัจจัยและค่าที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการคายประจุไฟฟ้าสถิตในชุดประกอบหัวอ่าน-เขียนสำเร็จ : กรณีศึกษาในกระบวนการอัลตร้าโซนิคแท็บบอนด์, Study of the effect parameters on ESD transient current during the ultrasonic tab bonding process of head stack assembly

Author: “อภิรักษ์ แซ่เตีย, Apirak Saetia”

Subject : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม

Keywords : ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, กระบวนการผลิต, กระบวนการอัลตร้าโซนิคแท็บบอนด์, การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Thammasat University, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Thammasat University Libraries

เมื่อกำหนดเมทาดาทาเสร็จทั้ง 2 ไฟล์แล้ว ให้นำข้อมูลที่จัดเก็บเป็น Full text และ Abstract บันทึกเข้าสู่ฐานข้อมูล CONTENTdm Project Client

ขั้นตอนการการบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์เข้าสู่ฐาน Content dm วิทยานิพนธ์

1. เปิดโปรแกรม CONTENT dm

2. นำไฟล์วิทยานิพนธ์ แต่ละชื่อเรื่อง ที่บันทึกเป็น PDFไฟล์ ทั้ง Full text และ Abstract ของวิทยานิพนธ์ เข้าสู่ฐานข้อมูล CONTENTdm คลิก Compound Objects ที่ เมนู Add

3. บันทึกรายละเอียดทางบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์

4. เมื่อบันทึกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยให้ จัดเก็บข้อมูล คลิก Save และ Close ตามลำดับ

คำอธิบายรายละเอียดทางบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์

1 ชื่อเรื่อง Title การศึกษาปัจจัยและค่าที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการคายประจุไฟฟ้าสถิตในชุดประกอบหัวอ่าน-เขียนสำเร็จ : กรณีศึกษาในกระบวนการอัลตร้าโซนิคแท็บบอนด์

2. ชื่อเรื่องเทียบเคียง Title Alternative Study of the effect parameters on ESD transient current during the ultrasonic tab bonding process of head stack assembly

3. ผู้แต่ง Creator อภิรักษ์ แซ่เตีย

4. ชื่อผู้แต่งในภาษาอื่นๆ Creator in other language Apirak Saetia

5. คำสำคัญ Keyword อุปกรณ์หน่วยเก็บของคอมพิวเตอร์; การปล่อยประจุไฟฟ้า ; การออกแบบการทดลอง ; ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ; กระบวนการผลิต; กระบวนการอัลตร้าโซนิคแท็บบอนด์

6. สำนักพิมพ์ Publisher มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ Contributors จิรวรรณ คล้อยภยันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา

8. ปีการศึกษา ระบุเป็นปี ค.ศ. Date of issued 2013

9. ประเภทเอกสาร Type Text

10. รูปแบบของดิจิทัลไฟล์ Format application/pdf

11. จำนวนหน้า Format-extent (11), 111 แผ่น

12. ภาษา Language tha

13 คำอธิบายลิขสิทธิ์ Rights Copyright of Thammasat University. Licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives license.
(ระบุเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

14. เจ้าของลิขสิทธิ์ Rights holder Thammasat University
(ระบุเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

15. ชื่อปริญญา Degree name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนางานอุตสาหกรรม)
(*หมายเหตุ อ้างอิงตามคู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (โครงการปกติ และโครงการพิเศษ ) จัดทำโดย สำนักทะเบียนและประมวลผล  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

16. สาขาวิชา หรือ ภาควิชา Degree discipline การพัฒนางานอุตสาหกรรม; ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

17. คณะ /วิทยาลัย/Faculty/College คณะวิศวกรรมศาสตร์

5. ทำเครื่องหมายถูกหน้า ในช่องสี่เหลี่ยม และคลิกปุ่ม Upload for Approval

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม Full text ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้ที่เว็บไซต์ http:// beyond.library.tu.ac.th ดังรูป
หน้าจอแสดงผลการสืบค้นวิทยานิพนธ์ของอภิรักษ์ แซ่เตีย

หากมีข้อผิดพลาดในการบันทึกรายละเอียดข้อมูลทางบรรณานุกรม ผู้จัดทำสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โปรแกรมCONTENT dm

ที่กล่าวข้างต้นคือขั้นตอน การจัดทำ CONTENT dm วิทยานิพนธ์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารฉบับเต็ม Full text วิทยานิพนธ์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการเดินทางมาห้องสมุด ไม่ว่าจะอยู่ทีไหน เมื่อไหร่ Anywhere Anytime ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย