การนำเสนออย่างทรงพลัง (2)

บรรยากาศในชั้้นเรียน
บรรยากาศในชั้้นเรียน

 

บรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียน

ในตอนที่ 1 ได้สรุปจากเอกสารประกอบการสอนของ อาจารย์ธงชัย บทความนี้ (ตอนที่ 2) ขอสรุปจากการฟังและร่วมปฏิบัติการในระหว่างการอบรม ดังนี้

  • ซอฟต์แวร์นำเสนอตัวใดดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น PowerPoint สำหรับ Windows หรือ Keynote สำหรับเครื่อง MAC ทั้งสองตัวเป็นซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดในการนำเสนอ ผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็น ไม่ได้ แปลว่า นำเสนอเป็น เพราะเป็นทักษะคนละอย่างกัน
  • ความเชื่อเรื่องการนำเสนอ
    1.  การมีโลโก้ เป็นการแสดงความเป็นเจ้าของ การใส่จะทำให้เสียพื้นที่ พูดก็เพียงพอแล้ว ควรใส่หน้าแรก หรือหน้าสุดท้ายก็เพียงพอแล้ว
    2. ภาพ clip art ไม่นิยมใส่ในภาพการนำเสนออย่างมืออาชีพ ควรจะใช้กับเด็กๆ
    3. การใช้ bullet ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่ถ้ามากเกินไป จะไม่ดี เพราะซอฟต์แวร์จะบีบตัวอักษรให้เล็กลงไปเรื่อยๆ ควรหารูปแบบอื่นที่เหมาะสมกว่า
    4. คนไม่สามารถที่จะอ่านและฟังพร้อมกันได้ ข้อความเยอะเหมาะกับการพิมพ์ในเอกสาร และอ่านทีละบรรทัดให้ฟัง
    5. การใช้ Template หมายถึง ความน่าเบื่อ  เหมือนกันหมดไม่มีความตื่นเต้น
  • หลักการออกแบบงานนำเสนอ  สิ่งที่ต้องทราบก่อนการนำเสนอ
    1. หัวข้อ ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ ถ้าไม่ถนัด ควรแนะนำให้ไปคนอื่น
    2. กลุ่มเป้าหมาย สำคัญมาก
    3. จำนวนคน สำคัญมากอย่างยิ่ง เป็นตัวกำหนดรูปแบบการพูด
    4. ระยะเวลาในการนำเสนอ
    5. สถานที่ที่จะไปนำเสนอ ขึ้นอยู่กับระยะทางในการมา ถ้าเป็นสถานที่ที่ไม่เคยไป ยิ่งต้องระวังเรื่องเวลา การไปถึงก่อนเวลา เป็นเรื่องสำคัญ
    6. เทคโนโลยีที่ใช้ในการนำเสนอ ขอให้ใช้ notebook ของตัวเองดีที่สุด มั่นใจ และสามารถใช้งานได้คล่อง หรือให้ทางเจ้าภาพเตรียม notebook สำรองให้ เพรา ะ Projector จะคุยกับเครื่องบางเครื่องไม่ได้ เช่น MAC
    7. ต้องมีไฟล์เก็บไว้อย่างน้อย 3 แห่ง ได้แก่ ใน notebook ของเราเองเก็บที่ thumb drive กรณีเกิดเหตุกับ notebook  และ เอาไฟล์ขึ้น drop box
    8. ถ้าเป็น PowerPoint หรือ Keynote ให้แปลงเป็น PDF เพื่อให้เปิดได้กับทุกเครื่อง
    9. ควร charge ไฟ notebook ให้เต็มล่วงหน้า กรณีฉุกเฉินไฟดับ หรือมีปัญหาเรื่องไฟ
    10.กิจกรรมที่จะใช้ในการนำเสนอ ขึ้นอยู่กับเวลา
    11. การรักษาเวลาของผู้พูด
    12. วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการไปพูด
    13. ข้อมูลของหน่วยงานที่จะไปบรรยาย เพื่อเตรียมการบ้าน
  • พลังของการเล่าเรื่อง (Storytelling) เล่าเรื่องให้น่าสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ตัวอย่างจริง ในการเล่าเรื่องควรวางแผนการนำเสนอบนกระดาษก่อน จะทำได้ดีกว่า ทำได้หลายวิธี- storyboard
    – ออกแบบไอเดีย การนำเสนอใส่ในกระดาษ
    – ฝึกซ้อมพูด
    – ถ้าทำสไลด์ไม่ทัน หรือใช้สไลด์ไม่ได้ เราก็สามารถพูดได้ สไลด์เป็น prop ของเรา
  • การออกแบบบน computer อย่างไรให้น่าสนใจ
    – ใช้ 1 ประเด็น ต่อ 1 สไลด์ ตัวอักษรจะใหญ่ชัดเจน ห้องใหญ่แค่ไหน คนหลังห้อง ก็จะเห็นคนฟังจะไม่เบื่อ
    – ไม่ต้องใส่ทุกอย่างลงในไป
    – การใช้สี หลักพื้นฐาน  คือ พื้นหลังสีเข้ม ข้อความสีอ่อน หลักการ contrast พื้นหลังสีอ่อน ข้อความสีเข้ม
    – ทุกครั้งที่่นำเสนอ ต้องเปิดไฟเสมอ หรือเพื่อให้ชัดเจน อนุญาตให้ดับเฉพาะแถวหน้า ปิดไฟทั้งห้องได้ เฉพาะภาพยนตร์ หรือ วิดีโอคลิป
    – การนำเสนอสองภาษา ข้อความทั้งสองภาษาไม่ควรที่ใช้ขนาดเท่ากัน เอาภาษาหลักเป็นตัวใหญ่
    – ตรวจสอบการสะกดทุกครั้ง เช่น  คำที่มักสะกดผิด ได้แก่ อนุญาต กับ อนุญาติ   โอกาศ กับ โอกาส  รุณแรง กับ รุนแรง  สังเกต กับ สังเกตุ  ศีรษะ กับ ศรีษะ  สามารถตรวจสอบได้ที่  www.royin.go.th
    – การใช้ภาพ (ความโดดเด่นของภาพ Picture Superiority Effect) ใช้รูปเป็นตัวสื่อสาร รูปดึงดูดความสนใจได้ สื่อความหมายได้  แต่มีข้อควรระวังในการใช้ภาพ
    — ภาพไม่เต็มจอ กรอบไม่เข้ากับรูป สไลด์ควรมี background สีดำ
    — ภาพที่มีลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะภาพที่มีลายน้ำ
    — Steve Jobs มักจะใช้สีเขียวในการแสดงความเจริญเติบโต
    — สไลด์ทำง่าย ดูง่าย เข้าใจง่าย
    — การหาภาพใน Google ที่ปลอดลิขสิทธิ์ free to use or share  หรือหาภาพจาก free stock photo หรือเว็บที่เสียเงิน istockphoto.com ใน 1 ปี จะให้รูปฟรี 52 รูป
  • การใช้โปรแกรม Haikudeck  ที่ haikudeck.com ช่วยงานนำเสนอที่เรียบง่าย โดยไม่ต้องใช้ PowerPoint

สรุปจากการสอน คือ ปรับ mind set การใช้ภาพจาก Google การใช้โปรแกรม Haiku ช่วยในการทำสไลด์โดยไม่ต้องใช้ โปรแกรม PowerPoint