Sanayan คือ โปรแกรมโอเพนซอร์ส ที่สามารถจัดเก็บทั้งเอกสารดิจิทัลและลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดได้
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำโปรแกรมนี้ มาใช้เพื่อลดการสั่งซื้อหนังสือซ้ำกันของห้องสมุดสาขา ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
สำหรับหนังสือใหม่ที่หอสมุดปรีดีฯจัดหามาจะนำรายชื่อหนังสือเหล่านี้ไปบันทึกข้อมูลในโปรแกรม Sanayan ซึ่งต้องตรวจสอบหนังสือในโปรแกรม Sanayan ก่อนว่าไม่มีหนังสือเล่มนี้เพื่อหนังสือจะได้ไม่ซ้ำกับห้องสมุดสาขาอื่นๆ ถ้าหนังสือซ้ำในโปรแกรม Sanayan จะไม่นำหนังสือบันทึกลงในฐานข้อมูล (นอกจากกรณีที่หนังสือไม่เพียงพอให้บริการกับอาจารย์และนักศึกษาจึงจะสั่งซื้อเพิ่ม) ถ้าหนังสือที่ตรวจสอบใน โปรแกรม Sanayan ไม่พบว่ามีในฐานข้อมูล ให้บันทึกลงในฐาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการบันทึก
1. ชื่อเรื่อง
2. ครั้งที่จัดทำ
3. ชื่อผู้แต่ง
4. ISBN ของหนังสือ
5. สำนักพิมพ์
6. ปีพิมพ์
7. สถานที่พิมพ์
8. ลักษณะวัสดุ (เช่น DVD ภาพยนตร์ CDเพลง CDประกอบหรือโสตฯ)
9. ชื่อชุด (เช่น นวนิยายชุด)
10. ชื่อผู้เสนอ
11. ภาษา (เช่น ภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น )
12. หมายเหตุ (ข้อมูลที่ต้องการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน) เสร็จแล้วให้ทำการบันทึก
ขั้นตอนการเพิ่ม Items (ตัวเล่ม)
1. ใส่รหัสบาร์โค้ด (ชื่อผู้บันทึกตามด้วยตัวเลข ISBN ก็ได้)
2. ชื่อห้องสมุดผู้รับ
3. สถานะการจัดหา ( เช่น order Approval Donated)
4. ผู้จัดจำหน่าย (เช่น บริษัทหรือร้านค้าที่ซื้อหนังสือด้วย)
5. ราคาหนังสือ (ต้องใส่ราคาเต็มเท่านั้น) เสร็จแล้วให้ทำการบันทึก
ถ้าต้องการเพิ่ม Items อีก ให้ทำตามขั้นที่ผ่านมา จนกว่าจะเพิ่ม Items ครบ
สรุป การใช้โปรแกรมนี้มาช่วย ทำให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศไม่ซ้ำกับห้องสมุดสาขาอื่นๆ ซึ่งทำให้ประหยัดงบประมาณ และสะดวกในการตรวจสอบ