ศูนย์บริการสารสนเทศว่าด้วยประเด็นการค้ามนุษย์ (HUMAN TRAFFICKING CORNER)

 

1
ศูนย์บริการสารสนเทศว่าด้วยประเด็นการค้ามนุษย์   (HUMAN TRAFFICKING  CORNER)  เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ (UNIAP) กับ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำว่า การค้ามนุษย์  หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การกระทำต่อผู้อื่นโดยเจตนาอีกทั้งยังแสวงหาผลประโยชน์จากบุคคลนั้น ๆ โดยมิชอบ รวมหมายถึงการถูกทารุณกรรมและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของเด็กและสตรีทั่วโลก Continue reading ศูนย์บริการสารสนเทศว่าด้วยประเด็นการค้ามนุษย์ (HUMAN TRAFFICKING CORNER)

คลีนิคหนังสือ (๒) เรื่อง สันหลังเหวอะ

 bookbad

book

ภาพที่เราเห็นนี้ ก็จะทราบได้ทันทีว่ามันเป็นหนังสือสันโค้งเย็บกี่และปกก็หลุดออกจากตัวเล่ม  การซ่อมก็ต้องดูภายในเล่มก่อนว่าตัวกระดาษภายในมีการหลุดออกจากกันหรือไม่  ถ้ามีการหลุดออกก็ต้องทำการติดกาวให้กระดาษในตัวเล่มหนังสืออยู่ในลักษณะที่มั่นคง

Continue reading คลีนิคหนังสือ (๒) เรื่อง สันหลังเหวอะ

ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

ควันหลงจากกิจกรรม รำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ณ โถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้น U 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา จะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์  ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นผู้ริเริ่มขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้มีการผลิตตำราทางวิชาการภาษาไทยมีคุณภาพ โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ Continue reading ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

แนะนำห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์

C360_2015-03-10-10-01-51-051

ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านกฎหมาย ตั้งอยู่ภายในบริเวณคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เปิดบริการ     วันจันทร์ – วันศุกร์     เวลา  8.00 น – 21.30  น.

วันเสาร์          เวลา    9.00 น   –  19.00  น

วันอาทิตย์   เปิดบริการเฉพาะช่วงก่อนสอบ 1 เดือน

บริการ   นักศึกษา อาจารย์  บุคลากรภายใน และบุคคลภายนอกที่ต้องการเข้ามาศึกษาค้นคว้า Continue reading แนะนำห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์

การทำบัตรประจำตัวพนักงาน

การขอทำบัตรประจำตัว หรือขอมีบัตรประจำตัวใหม่  ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มอบหมายให้กองการเจ้าหน้าที่และสำนักหอสมุดร่วมกันจัดทำบัตรประจำตัวบุคลากร ตามโครงการหนึ่งบัตรหนึ่งคน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยมีบัตรแสดงตนและเป็นบัตรที่ใช้บริการยืมคืนหนังสือของสำนักหอสมุดได้ด้วย ซึ่งบุคลากรในมหาวิทยาลัย หมายถึง บุคคลดังต่อไปนี้

เจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ข้าราชการบำนาญ Continue reading การทำบัตรประจำตัวพนักงาน

The Puey Ungphakorn 99th Anniversary Celebration to Coincide with “A Man Called Puey” Exhibition

Bangkok —on March 9, 2015, Thammasat University held a press conference about the celebrations of Puey Ungphakorn’s 99th anniversary. Presided over by Professor Dr.Chanrvit Kasetsiri, the event includes as a talk, “Technocrats and Thailand’s Economy,” by Assistant Professor Dr.Apichat Satitniramai of the Faculty of Economics, Thammasat University, an expert in macroeconomic theory and development economics. There is also the launch an e-library website by the Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities, a book bank, and digitalized documents for public use. Among objects shown in the “A Man Called Puey” is Dr. Puey’s MBE Royal insignia presented by King George VI of England.

Press Conference
Press Conference

Continue reading The Puey Ungphakorn 99th Anniversary Celebration to Coincide with “A Man Called Puey” Exhibition

Innovative Thinking (Single, Simple และ Small)

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ส่งเรื่องมาเล่าสู่กันฟังใน KM สำนักหอสมุด มธ. ด้วยเรื่อง Innovative Thinking …

ในงาน Give & Take เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมเล่าว่า วิชา Innovative Thinking ที่ผมสอนมีการบ้านให้นิสิตสร้างนิสัย 1 อย่างติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน แล้วให้นิสิตบันทึกผลว่า สามารถทำได้ครบทุกวันหรือไม่ครับ การบ้านนี้เพิ่งมีในปีนี้เป็นครั้งแรก เรียกว่า Innovative Habits

จากผลลัพธ์ของการบ้านทั้งสองเทอม ทำให้ผมได้ข้อสรุปจากนิสิตที่ทำได้ครบทุกวัน ซึ่งขอเรียกโก้ๆ ว่า กฎสามข้อในการสร้างนิสัยใหม่อย่างต่อเนื่อง หรือกฎ 3S มีดังนี้ครับ

1. Single: เราควรสร้างนิสัยทีละอย่าง อย่าสร้างนิสัยหลายอย่างพร้อมๆ กันครับ ควรทำนิสัย 1 อย่างให้ต่อเนื่องจนเป็นอัตโนมัติ แล้วจึงเริ่มสร้างนิสัยใหม่ และควรมีแรงจูงใจมากพอในการสร้างนิสัย ไม่ใช่ทำเพราะถูกบังคับให้ทำ

2. Simple: นิสัยที่ทำการบ้านได้ครบทุกวันจะเลือกนิสัยที่ทำได้ง่าย เช่น นั่งสมาธิดูลมหายใจ ซึ่งทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ถ่ายรูปหรือถ่ายวิดีโอจากสมาร์ตโฟนซึ่งพกติดตัวตลอดเวลา บอกรักคนใกล้ตัวที่บ้าน ดื่มน้ำ ออกกำลังกายที่ทำได้สะดวก อ่านหนังสือ ทำโจทย์เลขในเว็บไซต์ เขียนคำขอบคุณในแอพ เป็นต้น

3. Small: นี่คือสาเหตุใหญ่ที่ทำให้นิสัยส่วนใหญ่สร้างนิสัยได้ไม่ต่อเนื่องทุกวัน เพราะเลือกเป้าหมายใหญ่เกินไปแทนที่จะทำเล็กๆ ตัวอย่างเช่น การออมเงินวันละ 50 บาททุกวัน จะยากกว่าออมเงินวันละ 5 บาท การทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อจะยากกว่าการทานอาหารให้ตรงเวลามื้อเดีย การเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวันจะยากกว่าการนอนให้เร็วขึ้น 10 นาที หรือดื่มน้ำเพิ่มขึ้นวันละ 1 แก้วก็พอ ไม่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มมากๆ ในตอนแรก

ดังนั้น กฎสามข้อในการสร้างนิสัยใหม่ให้ต่อเนื่องจากการบ้านวิชา Innovative Thinking คือ Single, Simple และ Small ครับ ถ้าใช้หลักการสามข้อนี้ จะมีโอการสร้างนิสัยใหม่ได้ต่อเนื่องมากขึ้นครับ

การนำ 5W1H มาช่วยในการเขียนบทความ

5w1h
5W1H เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอ

โดย 5W1H ย่อมากจาก WHAT WHO WHEN WHERE WHY และ HOW กล่าวง่ายๆคือ ทำอะไร โดยใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร
Continue reading การนำ 5W1H มาช่วยในการเขียนบทความ

มนุษย์

พระพุทธองค์ททรงตรัสไว้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่แสนจะยาก แต่มนุษย์บางคนได้โอกาสเกิดเป็นมนุษย์แล้ว แต่กลับกลายมาทำร้ายมนุษย์ด้วยกัน เบียดเบียนกัน ฆ่ากัน ฉ้อโกง ทำทุกอย่างที่ตัวเองต้องการ จะให้เรียกมนุษย์จำพวกนี้อย่างไรดี

untitled

Continue reading มนุษย์