Images

วิธีการแชร์รูปภาพจาก google photo


ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะรู้จัก google ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาข้อมูล แต่จริงๆแล้ว google ยังมีบริการอย่างอื่นนอกเหนือจากการค้นหาข้อมูล ซึ่งบริการนึงที่น่าสนใจ คือ “ภาพถ่าย” หรือ “google photo” (แต่ก่อนคือ” picasa” แต่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “google photo” โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปกังหันลม) Continue reading วิธีการแชร์รูปภาพจาก google photo

Start with WHY? Why we need ISO Standard?

ทำไมต้อง ISO??

ทุกกระบวนการดำเนินงานที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ล้วนเป็นไปเพื่อความสำเร็จของเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยทุกกิจกรรมนั้นประกอบด้วยต้นทุนด้านงบประมาณ แรงงาน และเวลาเป็นสำคัญ ซึ่งกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนอาจก่อให้เกิดสิ่งสูญเสียจากการดำเนินงาน ทั้งนี้จากการศึกษาตามแนวคิดแบบ Lean Six Sigma สามารถแบ่งประเภทของสิ่งสูญเสียได้ทั้งหมด 8 ประเภท ดังภาพ

5s
5s

มูลค่าของการสูญเสียนั้นมีทั้งแบบที่สามารถประเมินเป็นตัวเลขทางการเงินได้ และประเมินเป็นตัวเลขทางการเงินไม่ได้ นอกจากนี้การทำงานของทุกคนล้วนเป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความเคยชิน ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องนำระบบมาตรฐานในการดำเนินงานมาปรับใช้ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพ และคุณภาพของการดำเนินงาน (PDCA)

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงเลือกระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2015 มาปรับใช้กับกระบวนการดำเนินงาน ด้วยความไม่ซับซ้อนของระบบ มีความยืดหยุ่น สามารถลดความสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพ มีความเป็นมาตรฐาน ตลอดจนเพิ่มคุณภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และการให้บริการแก่ผู้รับบริการ อีกทั้งระบบดังกล่าวเป็นที่ยอมรับจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงเหมาะแก่การนำมาปรับใช้กับหอสมุดฯ เพื่อสนองตอบวิสัยทัศน์ในการก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำด้านส่งเสริมการเรียนรู้และการวิจัยทุกที่ทุกเวลาในระดับเอเชีย แต่ทั้งนี้การใช้ระบบดังกล่าวยังมีข้อกำหนดที่พวกเราจำเป็นต้องรู้ และเข้าใจในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายอีก ซึ่งจะขอกล่าวถึงข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO9001:2015 ในครั้งต่อๆ ไป

มุมตลาดหลักทรัพย์ Set Corner

ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายสาขาวิชาและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ  บางครั้งห้องสมุดมักจะมี หนังสือหรือ Collection แยกออกจากชั้นหนังสือทั่วไป อาจจะเพื่อให้มีความโดดเด่น หรืออาจจะเพื่อเป็น หนังสือ/Collection พิเศษ ที่ต้องการให้เป็นที่สะดุดตา หรืออาจจะเป็นหนังสือ/Collection ที่มีผู้มอบให้ หรือเป็นหนังสือ/Collection เฉพาะของบุคคลสำคัญ  หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ก็เช่นเดียวกัน มีมุมหนังสือ/Collection ต่างๆ มากมาย และมุมที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือตลาดหลักทรัพย์ หรือรู้จักกันในชื่อว่า SET Cormer

1

 SET  Corner ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์

มุมตลาดหลักทรัพย์ (Set Corner) ตั้งอยู่บริเวณชั้น U1 ด้านในของห้องสมุดจะติดกับมุมป๋วย เพื่ออุษาคเนย์ และอาเซียน  มุมตลาดหลักทรัพย์เป็นมุมที่ได้รับความสนับสนุนและอนุเคราะห์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand) มอบหนังสือให้กับทางห้องสมุด ซึ่งได้แก่

1. หมวดวิชาการที่ใช้ในระดับอุดมศึกษา  ด้านการเงิน การบัญชี การบริหาร การเงินส่วนบุคคล คู่มือและแนวทางต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี

2. หมวดหนังสือประเภทสาระความรู้  ด้านการออม  การลงทุน  การบริหารการเงินส่วนบุคคล

3. หมวดวารสาร  ประกอบด้วย วารสารข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสารในแวดวงตลาดทุน รายเดือน และรายปี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4. หมวดประมวลข้อกำหนด  ประกอบด้วยประมวลข้อบังคับ และกฏระเบียบต่าง ๆ ที่ออกโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

5.  หมวดเอกสารเผยแพร่  ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานด้านการออมและการลงทุน  ซึ่งเผยแพร่ให้กับผู้สนใจลงทุนทั่วไป  มุมตลาดหลักทรัพย์ที่ทางห้องสมุดได้จัดทำนี้คงจะให้ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจในการลงทุนทางด้านการเงินและการลงทุนไม่มากก็น้อยและสามารถมาอ่านหนังสือที่มุมนี้ได้

ผู้ที่สนใจหาความรู้ด้านการลงทุน และเรื่องตลาดหลักทรัพย์ เชิญได้ค่ะ

พลขับลิฟต์

อาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและมีการเปิดให้บริการโดย มีการเปิดอาคารอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มกราคม 2558 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด สำนักหอสมุดได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้ ทุกคนมีการเตรียมงานกันอย่างแข็งขัน มีการประชุมตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินงานการรับเสด็จและในครั้งนี้ ดิฉันได้รับหน้าที่เป็นพลขับลิฟต์ถวายสมเด็จพระเทพฯเพื่อพระราชดำเนินขึ้นไปยังชั้น 2 ของอาคาร

penlib

หน้าที่พลขับลิฟต์ทำอย่างไรหนอ ดิฉันครุ่นคิดอยู่จนนอนไม่หลับเพราะตื่นเต้นที่จะได้ถวายงานใกล้ชิดพระองค์ท่านแม้จะเป็นเพียงพลขับลิฟต์ ซึ่งใช้เวลาไม่นานมากนักจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดความผิดพลาด จึงได้มีการประสานงานกับฝ่ายช่างประจำอาคารให้สอนวิธีการใช้ลิฟต์อย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุดเมื่อทราบถึงวิธีการล็อคลิฟต์ ระหว่างรอรับเสด็จแล้ว ก็ต้องซ้อมเพื่อให้มีความชำนาญจะได้ไม่ประหม่ามากนัก เมื่อปฏิบัติงานจริง แต่ก็ยังมีความกังวลว่าจะต้องยืนตรงไหน ทำอย่างไรบ้างเมื่อพระองค์มาถึงลิฟต์เล่นเอานอนไม่หลับซะหลายคืนเลยทีเดียว

วันที่รอคอยมาถึง 12 มกราคม 2558 จัดเตรียมแต่งตัวสวยงามด้วยชุดข้าราชการปกติขาว ซึ่งได้ใส่ชุดนี้แบบเต็มยศเป็นครั้งแรก แอบภูมิใจนิดๆ ว่าเราก็เท่เหมือนกันแฮะ ตอนเช้าก็แอบไปซ้อมที่ลิฟต์อีกครั้ง และในตอนสายๆ เจ้าหน้าที่ทางสำนักพระราชวังเข้ามาเพื่อดูความเรียบร้อยจึงได้สอบถามว่าพลขับลิฟต์ควรทำอย่างไรบ้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี และกล่าวว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระทัยดีไม่ต้องกลัว ดิฉันยืนเฝ้าหน้าลิฟต์ จนถึงเวลาที่พระองค์เสด็จมาถึง และพระราชดำเนินเข้าลิฟต์ที่ดิฉันได้เปิดรอไว้อยู่แล้ว ดิฉันยืนอยู่ชิดประตูลิฟต์ โค้งคำนับพระองค์ และผู้ติดตามจนเดินเข้ามาจนครบทุกคนจึงทำการปิดลิฟต์ และเมื่อลิฟต์หยุดที่ชั้น 2 กดเปิดลิฟต์ โค้งคำนับอีกครั้ง พระองค์ทรงพระราชดำเนินออกจากลิฟต์พร้อมผู้ติดตาม เป็นอันเสร็จหน้าที่ในรอบนี้ ดิฉันออกไปยืนอยู่หน้าลิฟต์ เพื่อรอส่งเสด็จเมื่อพิธีการเสร็จสิ้น
pen1

หลังจากพิธีการเปิดอาคารเสร็จสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชดำเนินทอดพระเนตร นิทรรศการที่สำนักหอสมุดจัดขึ้นพระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมาก และได้มีปฏิสันถารกับอธิการบดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการทุกอย่างพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมายังลิฟต์เพื่อลงไปยังชั้น 1 ดิฉันเปิดลิฟต์รออยู่ก่อนแล้ว และในขาลงนี้มีผู้ติดตามจำนวนมากเนื่องจากพระองค์ยังมีปฏิสันถารกับอธิการบดีอย่างต่อเนื่องยังไม่เสร็จจึงเข้าลิฟต์ลงมาพร้อมกัน  องค์รักษ์ประจำพระองค์เข้าลิฟต์มาเป็นคนสุดท้ายและยืนจนติดประตูเพราะมีผู้ติดตามมากกว่าขาขึ้น เมื่อดิฉันกดปิดประตูลิฟต์ ทำให้ไปโดนรองเท้าขององค์รักษ์ประตูลิฟท์จึงเด้งเปิดออกไม่ยอมปิด องค์รักษ์จึงถอยหลังให้พ้นประตูลิฟต์จึงปิดลิฟต์ได้ เหตุการณ์นี้แม้ไม่ใช่ความผิดของพลขับลิฟต์มือใหม่อย่างดิฉัน แต่ก็ทำให้หน้าร้อนผ่าวไปเหมือนกัน เมื่อลิฟต์มาถึงชั้น 1 ดิฉันกดล็อคลิฟต์เพื่อให้พระองค์และผู้ติดตามออกจากลิฟต์ เป็นอันเสร็จหน้าที่ของดิฉันในการปฏิบัติหน้าที่รับเสด็จในครั้งนี้

ความประทับใจที่ได้ใกล้ชิดสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านจะทรงแย้มพระสรวลอยู่ตลอด อยู่ใกล้พระองค์แล้วรู้สึกถึงความมีพระเมตตาของพระองค์ต่อพสกนิกร ทำให้เราปฏิบัติงานได้อย่างไม่เครียดทำให้รู้สึกรักพระองค์รักพระองค์มากยิ่งขึ้น สมเด็จพระเทพฯ ของปวงชน ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ

ปั่นจั่กจั่กกันดีกว่า

การออกกำลังกายด้วยจักรยานกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งทีหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 โดยการชักชวนของเพื่อน และก็ติดใจปั่นมาโดยตลอด ทิ้งรถจักรยานยนต์ที่เคยใช้ขับมาทำงาน หันมาใช้จักรยานแทนทำให้ประหยัดการใช้พลังงานและไร้มลพิษ ยังได้ร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย

pen2
การปั่นจักรยานนอกจากได้สุขภาพที่ดีแล้ว ยังได้เพื่อนๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย หลากหลายอาชีพและวัย ดิฉันเคยปั่นจักรยานจากนครปฐมไปจังหวัดสุพรรณบุรีรวมระยะทาง 190 กว่ากิโลเมตร ไปกลับภายในวันเดียว ซึ่งเป็นทริปแรกที่ปั่นได้ไกลและยังไม่เคยปั่นไกลๆอีกเลย นอกจากงานแข่งวัดใจต่างๆ ประมาณ 50-60 กิโลเมตร หรืองานคาร์ฟรีเดย์ ประมาณ 30-40 กิโลเมตร เท่านั้น ดิฉันเคยไปช่วยงานกุศลในโครงการของการปั่นจักรยานหลายงานด้วยกัน เช่น งานคาร์ฟรีเดย์ของจังหวัดนครปฐมไปติดต่อกัน 3 ปี และงานปั่นแข่งวัดใจการกุศลซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 2 พันคน ดิฉันได้ไปช่วยเป็นพิธีกร และช่วยในเรื่องของการลงทะเบียนผู้ร่วมงาน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีในเรื่องของการวางแผนงาน เพราะในงานแข่งนั้นจะต้องมีการลงทะเบียนรับเสื้อ จ่ายเงิน รวมทั้งแยกรุ่นการแข่งขันอีกด้วยซึ่งถ้าไม่วางแผนงานให้ดีจะทำให้เกิดความวุ่นวายหรือล่าช้าในการลงทะเบียนร่วมงานได้ ทำให้ได้ฝึกฝนการทำงานเป็นทีมเป็นอย่างดี

pen3 pen4 pen6 pen8 pen9

ขอชวนเชิญทุกท่านหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานกันเยอะๆ นะคะ เพราะจักรยานให้อะไรที่มากกว่าที่คุณคิด นอกจากได้ช่วยลดโลกร้อนประหยัดพลังงานแล้ว ยังได้สุขภาพที่แข็งแรง ได้เพื่อนใหม่ๆ มิตรภาพที่ดีหาซื้อไม่ได้ และสิ่งสุดท้ายการท่องเที่ยวด้วยจักรยานนั้นจะมีความสนุกตื่นเต้นแตกต่างจากการขับรถยนต์อย่างเห็นได้ชัดไม่เชื่อมาลองดูกันนะคะ********* ขี่จักรยาน ดีกว่าเดิน เพลินกว่าวิ่ง ********

pen7

มุมสวยงานศิลป์

 

p1

งานศิลปกรรมฝาผนังกำแพงที่ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ สร้างสรรค์โดย คุณสัมพันธ์ สารารักษ์ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม(จิตรกรรม) ระดับประเทศคนหนึ่ง  ในงานประกอบไปด้วย รูปท่านปรีดี พนมยงค์ นกปรีดี เสรีไทย ตึกโดม พระแก้วมรกต วัดพระแก้ว ธงชาติไทย พานรัฐธรรมนูญ เกลียวคลื่นแม่น้ำเจ้าพระยา งานศิลป์ชุดนี้ศิลปินรังสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิควิธีการด้าน จิตรกรรมผสม อันประกอบด้วย

1. จิตรกรรม
2.ประติมากรรมนูนต่ำ
3. เซรามิคเขียนสี กระเบื้องสี
4. กลวิธีการปะติด

ซึ่งเทคนิคเหล่านี้เมื่อนำมาสร้างเป็นผลงานแล้วทำให้ดูมีพลังและน่าชื่นชมเป็นอย่างมาก

p13

เมื่อมีผู้มาเยือนหอสมุดปรีดีฯ จึงมักจะมีผู้คนมาถ่าย “เซลฟี่”ตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงรับปริญญา มุมนี้จึงเป็นจุดที่บัณฑิตมักจะมาถ่ายรูปเดี่ยวหรือถ่ายหมู่ร่วมกันเสมอๆๆๆ

p111

ความทรงจำ Remembering Rewat

 

t3

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิ เรวัต พุทธินันทน์ และ บริษัท GMM แกรมมี่ จัดตั้งห้องสารนิเทศดนตรีเรวัต พุทธินันทน์ ณบริเวณ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ โดยแบ่งส่วนงานเป็น 3 ส่วนได้แก่

1. ส่วนบริการรับฟังและชมสื่อดนตรีตลอดจนภาพยนต์

2. ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ สำหรับจัดเสวนา อบรม และฉายภาพยนตร์

3. ห้องบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์ และมัลติมีเดีย

t1

ห้องสารนิเทศดนตรีเรวัต พุทธินันทน์ มีตู้นิทรรศการที่ได้นำเอาเรื่องราวของพี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ ประกอบไปด้วยประวัติโดยย่อของพี่เต๋อ เรวัตฯ รูปถ่ายตั้งแต่สมัยเด็กๆ  สมัยวัยรุ่น   สมัยเล่นดนตรีตอนอยู่ มธ.  สมัยร่วมงานกับวงดนตรี The Impossible  การแสดงคอนเสริต์  รูปถ่ายกับครอบครัวและวัยทำงานตอนอยู่กับ GMM แกรมมี่ รวมถึงของใช้ส่วนตัวของพี่เต๋อ เรวัตฯ

ส่วนที่สำคัญและพิเศษสุดๆ เห็นจะได้แก่ กีต้าร์ตัวโปรดของพี่เต๋อ
เรวัตฯ  เพราะสมัยที่พี่เต๋อยังมีชีวิตอยู่มักจะใช้กีต้าร์ตัวนี้เล่นในการแสดงคอนเสริต์เสมอๆ

t2

เลือกซื้อกล่องทีวีดิจิตอลแบบไหนดี

เลือกซื้อกล่องทีวีดิจิตอลแบบไหนดี

Digital2

มีบางท่านสงสัยและต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อกล่องรับสัญญาณระบบดิจิตอล ซึ้งทางรัฐบาลแจงคูปอง มูลค่า 690 บาท เพื่อเชื่อมต่อกับทีวีระบบอนาล็อกเดิม ซึ่งมีหลากหลายราคา หลายยี่ห้อ ดังนั้นคุณภาพของแต่ละกล่องก็จะแตกต่างกันไป  ส่วนการเลือกซื้อก็ง่ายแสนงานเพียงแค่เดินไปที่ร้านสะดวกซื้อ ยื่นคูปองพร้อมทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน เราก็ได้รับกล่องทีวีเพื่อมาเชื่อมต่อกับทีวีของเราเพื่ออรรถรสในการรับชมแต่ราคาของอุปกรณ์ดังกล่าว ก็แตกต่างกัน ขนาดก็ไม่เท่ากัน ในอุปกรณ์ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่าง ไม่ต้องซีเรียส ครับ  มันขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของท่านและการใช้งาน ที่สำคัญความพึงพอใจในสินค้านั้นๆ แต่ในบทความนี้เพียงแค่จะ แนะนำแนวทางคุณสมบัติและหลักพิจารณาในการเลือกซื้ออุปกรณ์กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลให้ท่านตัดสินใจ

Digital3

1. กล่องรับสัญญาณจะต้องได้รับมาตรฐาน และติดสติ๊กเกอร์ของ กสทช.
หมายถึงการผ่านมาตรฐานเบื้องต้น
2. เลือกซื้อกล่องที่มีสัญญาณรับภาคพื้นดิน (ช่องรับสัญญาณเสาอากาศ)
3. ถ้าต้องการความคมชัดสูงต้องมีช่องต่อสัญญาณระบบ HDMI (แต่ทีวี
ท่านก็ต้องมีช่องรับสัญญาณระบบ HDMI ด้วยนะครับ)
4. ถ้าจะให้ดีเสียเงินเพิ่มหน่อย เลือกซื้อกล่องที่มีเสาอากาศในตัว (จะได้ไม่
ต้องยุ่งยาก หาเสาอากาศมาติดให้กวนอารมณ์)
5. เลือกซื้อกล่องที่ใช้สายพ่วงตัวแปลงไฟ (Adapter) เพราะหากสายต่อไฟ
ชำรุด ทำให้กล่องมีปัญหา ก็ยังสามารถหา Adapter  มาเปลี่ยนได้ แทนที่
จะต้องซื้อใหม่ยกกล่อง ให้เสียเงินอีก
6. ถ้าท่านไม่ถนัดภาษาอังกฤษ ควรเลือกซื้อกล่องชนิดที่เป็นเมนูภาษาที่ใช้
บนตัวรีโมท เนื่องจากรีโมททีวีดิจิตอลจะมีปุ่มต่าง ๆ ทำให้ท่านมึน ดังนั้น
หากถ้ารีโมทที่เป็นเมนูภาษาไทยจะช่วยลดความสับสนการใช้งานได้ดี
กว่า เมนูภาษาอังกฤษ
7. เอกสารคู่มือการใช้งานของกล่องรับสัญญาณ เป็นไปตามกำหนด
มาตรฐานของ กสทช. ระบุว่าต้องมีทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ

และที่สำคัญ ระยะเวลารับประกันสินค้าด้วย เพราะตามมาตรฐาน หากชำรุดหรือมีปัญหาจะได้ส่งซ่อมหรือเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อกล่องใหม่ โดยทาง กสทช. กำหนดให้ร้านค้ามีบริการหลังการขาย 3 ปี
เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้รับชมทีวีดิจิตอลเต็มอรรถรส ทั้งคุณภาพของภาพและเสียง และที่สำคัญควรเกรงใจข้างบ้านเพราะการที่ท่านดื่มด่ำกับอรรถรสในการรับชม ข้างบ้านท่านอาจจะไม่พอใจเพราะเสียงของท่านอาจรบกวนโสตประสาทของเค้าเป็นได้

OCLC ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

DSC_7871

The World’s Libraries. Connected

วิสัยทัศน์ที่ถูกกำหนดไว้เป็นเครื่องมือชี้นำองค์กรที่สำคัญ ในกรณีของ OCLC ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลกที่กำหนดไว้ว่าจะเป็นห้องสมุดของโลก เชื่อมโยงห้องสมุดเข้าด้วยกันทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในวงการห้องสมุดมาเป็นระยะเวลานาน

OCLC ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2510 โดยเฟรด คิลกอร์ ในสถานะขององค์กรไม่แสวงกำไร มีเป้าหมายในการดำเนินงานคือส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลของห้องสมุดทุกแห่งในโลกและเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการผลิต การเข้าถึงข้อมูลแก่สาธารณชน ปัจจุบันมีห้องสมุดทั่วโลกมากกว่า 70,000 แห่ง ใน 86 ประเทศ เป็นสมาชิกของ OCLC สำนักงานใหญ่อยู่ในดับลิน รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา Continue reading OCLC ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – จุดเริ่มต้นของ DOI

ระบบ DOI มีต้นกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มร่วมกันระหว่างสมาคมการค้าสามกลุ่มในอุตสาหกรรมการพิมพ์ (สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ; ผู้จัดพิมพ์ทางด้านเทคนิคและการแพทย์, สมาคมวิทยาศาสตร์นานาชาติ; สมาคมผู้จัดพิมพ์อเมริกัน)

แม้จะมีต้นกำเนิดมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ระบบ DOI นั้นถูกสร้างมาโดยกำหนดให้เป็นเค้าโครงในการจัดการด้านการจำแนกแยกแยะเนื้อหาบนเครือข่ายดิจิทัลโดยตระหนักถึงเรื่องดิจิทัลคอนเวอร์เจน (Digital convergence หมายถึง การรวมกลุ่มกันของอุตสาหกรรม 4 อย่าง ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ, โทรคมนาคม, เครื่องใช้ไฟฟ้า และความบันเทิง ตัวอย่างเช่น Xbox หรือ iPhone) และความพร้อมในการใช้สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งระบบ DOI นั้นถูกประกาศในงานนิทรรศการหนังสือแฟรงค์เฟิร์ต ปี ค.ศ. 1997 จากนั้นมูลนิธิดีโอไอนานาชาติ (International DOI Foundation–IDF) ก็ถูกตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและจัดการกับระบบ DOI ในปี ค.ศ. 1997 เช่นกัน

banner-513

จากจุดเริ่มต้น IDF ร่วมงานกับ CNRI ( Corporation for National Research Initiatives) เพื่อจะนำ Handle System ซึ่ง CNRI เป็นผู้พัฒนามาใช้เป็นองค์ประกอบของระบบ DOI และในปัจจุบัน CNRI ยังคงเป็นพันธมิตรกับ IDF

HSystem

ในที่สุดแอปพลิเคชั่นแรกของระบบ DOI อย่าง การอ้างอิงที่เชื่อมโยงไปยังบทความอิเล็กทรอนิกส์โดย CrossRef Registration Agency (หน่วยงานในการลงทะเบียนชื่อ CrossRef) ก็ถูกใช้ในปี ค.ศ. 2000 ตั้งแต่นั้นมา Registration Agency รายอื่นก็ได้รับมอบหมายงานในด้านต่างๆ เช่น ในการบริหารจัดการกับสินทรัพย์ธุรกิจความบันเทิง ในด้านข้อมูล และในด้านภาษาต่างๆ

ในปี ค.ศ. 2000 องค์กร NISO ได้กำหนดซินเท็กซ์ (syntax) ของ DOI ให้เป็นมาตรฐาน ระบบ DOI ได้รับการอนุมัติเป็นมาตรฐาน ISO ในปี ค.ศ. 2010 โดยดูรายละเอียดของ ISO 26324:2012 Information and documentation — Digital object identifier system ได้ที่
http://www.iso.org/iso/catalogue_detail?csnumber=43506

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html #1.2