Tag Archives: ป๋วย อึ๊งภากรณ์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ เปิดประตูสู่เสรีภาพทางความคิดและการเรียนรู้

วันที่ 11 พฤษภาคม ของทุกปี ถือเป็นวันพิเศษวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อตั้ง และเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DSC_0024
อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ เคียงคู่ตึกโดม

Continue reading หอสมุดปรีดี พนมยงค์ เปิดประตูสู่เสรีภาพทางความคิดและการเรียนรู้

พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด

พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด
พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำโครงการ 100 ปีชาตกาลอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์: พระคุณอาจารย์ป๋วยฯ ต่อห้องสมุด เพื่อการจัดทำหนังสือที่ระลึกในโอกาส 100 ปีชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยนำเสนอในส่วนของเกร็ดประวัติ และผลงานของอาจารย์ป๋วยฯ ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ตลอดจนสิ่งที่ท่านมอบให้กับห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ผลงานของท่านให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป Continue reading พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด

การศึกษาไทยมีแอบแฝงยาพิษ 8 อย่าง

รศ. ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ ชี้การศึกษาไทยมีแอบแฝงยาพิษ 8 อย่าง อันตรายเทียบได้กับ “ปรอท” เพราะให้เด็กไทยตายลงช้าๆ ซึ่งต้องแก้ปัญหาร่วมกันทั้งครู พ่อแม่ สังคม และสื่อ พร้อมเสนอว่าทักษะวิชาชีพ และทักษะ 4C จะช่วยให้เด็กไทยปลอดยาพิษ ในงาน 100 ปี ชาตกาล ศ. ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 6 “การศึกษากับยาพิษแอบแฝง” ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://thaipublica.org/2015/09/varakorn-14-9-2558/

 

เวียดนามในเมืองไทย (The Vietnamese in Thailand)

Vietnaminthailand_01

เวียดนามในเมืองไทย (The Vietnamese in Thailand) ผู้เขียน ผุสดี           จันทวิมล บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กาญจนี ละอองศรี เป็นเรื่องของนโยบายการปกครองชาวเวียดนามที่เข้ามาในประเทศไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อมหาอำนาจฝรั่งเศสได้ยึดครองประเทศเวียดนาม และเรียกร้องสิทธิให้ชาวเวียดนามในไทยจดทะเบียนเป็น “คนในบังคับฝรั่งเศส” โดยพยายามคุกคามประเทศไทย ส่งผลให้เราต้องยกมณฑลบูรพาให้ประเทศมหาอำนาจ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

สิบสองพันนา : รัฐจารีต (Sipsonghanna : A traditional State)

Xixuangbanna_01

สิบสองพันนา : รัฐจารีต (Sipsonghanna : A traditional State) ผู้เขียน    ณัชชา เลาหศิรินาถ บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กาญจนี      ละอองศรี เป็นเรื่องของการเผชิญปัญหาการแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าและการเมือง ระหว่างจีน อังกฤษ และฝรั่งเศส ของรัฐเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า          สิบสองพันนา และในที่สุดดินแดนดังกล่าวได้ผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของจีน ติตตามรายละเอียดที่ได้ทีนี่

การจัดแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มจัดแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตั้งแต่ปี 2530 โดยส่วนใหญ่จะจัดเป็นประจำทุก 2 ปี ในวันคล้ายวันเกิดของท่าน คือ วันที่ 9 มีนาคม วัตถุประสงค์ของการจัดมี 3 ประการ คือ
1. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของศาสตราจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
2. เพื่อสดุดีและประกาศเกียรติคุณนักวิชาการที่มีผลงานทางวิชาการอัน
ดีเด่นและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การศึกษาและการค้นคว้าที่มี
ความเป็นเลิศทางวิชาการ

ในการจัดแต่ละครั้ง คณะเศรษฐศาสตร์จะคัดเลือกปาฐกจากนักวิชาการที่มีผลงานดีเด่น หรือบุคคลที่สนใจศึกษาความรู้ด้านสังคมศาสตร์ กอรปทั้งมีเกียรติประวัติอันแสดงถึงคุณธรรมและจิตสำนึกรับใช้และแก้ไขปัญหาสังคม Continue reading การจัดแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ห้องนิทรรศการ “ป๋วย อึ๊งภากรณ์”

1

 

 

 

 

               

ห้องนิทรรศการ “ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ” เป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ภายในห้องนิทรรศการจะรวบรวมประวัติของศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตั้งแต่แรกเกิด วัยเยาว์ วัยเรียน หน้าที่การงาน ตลอดจนตำแหน่งที่สำคัญๆ ของท่านผู้ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย  ได้แก่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
Slide1
 

ห้องนิทรรศการแห่งนี้ได้รวบชีวประวัติของท่านอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมถึงคุณประโยชน์ที่ท่านได้ทำสมัยที่ท่านยังมีชีวิต

ก่อนจะมาเป็นห้องนิทรรศการ “ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ” เริ่มจากเป็นโครงการ Puey’s collection ในปีพ.ศ. 2525 โดย คณะเศรษฐศาสตร์
ขอกล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการ Puey’s collection เพื่อให้มีการรวบรวมผลงานเขียนของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และงานที่ผู้อื่นเขียนถึงท่าน โดยรวบรวมเก็บในห้อง Puey’s collection อยู่ภายในห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ในสมัยนั้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ข้าพเจ้าผู้เขียนได้เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2526 ปฏิบัติงานที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด มธ. ได้มีโอกาสเป็นคณะทำงานโครงการดังกล่าว ได้ศึกษาชีวประวัติ ผลงานของท่านทำให้ได้รับความรู้และความเป็นมาของโครงการ  ปัจจุบัน Puey’s collection ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ห้องนิทรรศการ “ป๋วย อึ๊งภากรณ์ “

หากท่านที่ประสงค์จะเยี่ยมชมสามารถเข้าชมได้ที่ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 น. – 24.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.

เกร็ดจาก “คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey)”

คนชื่อป๋วย  (A Man Called Puey)
คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey)

นิทรรศการ คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey) เป็นนิทรรศการชั่วคราวที่บอกเล่าเรื่องราวเกร็ดประวัติสำคัญของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงการดำเนินชีวิตของท่านที่เป็นแบบอย่างทั้งในด้านความเรียบง่าย ความซื่อสัตย์ และการเป็นคนดีของสังคม  ซึ่งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้จัดทำขึ้น ในโอกาสรำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ทั้งนี้ ในพิธีเปิดนิทรรศการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิโครงการตำราฯ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์มาร่วมงาน พร้อมกับกล่าวถึง อาจารย์ป๋วย ในความทรงจำซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจ จึงได้สรุปความพร้อมเป็นเกร็ดที่น่าสนใจเพื่่อรำลึกถึง ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

Continue reading เกร็ดจาก “คนชื่อป๋วย (A Man Called Puey)”

สิทธิมนุษยชน : เกณฑ์คุณค่าและฐานความคิด

sithimanusayachon_01

สิทธิมนุษยชน :  เกณฑ์คุณค่าและฐานความคิด เขียนโดย ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เป็นหนังสือรวมบทความที่กล่าวถึงอุดมการณ์ หลักการ และฐานความคิดของสิทธิมนุษยชนในบริบทต่าง ๆ ติดตามอ่านได้ที่นี่

สิทธิมนุษยชน : เส้นทางสู่สันติประชาธรรม (Human Rights : A Path Towards Santi Pracha Dhamma)

sithisanti_01

สิทธิมนุษยชน : เส้นทางสู่สันติประชาธรรม (Human Rights : A Path Towards Santi Pracha Dhamma) เขียนโดย เสน่ห์ จามริก ติดตามอ่านได้ที่นี่