เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง รูปแบบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ บรรยายโดยคุณสร้อยทิพย์ สุกุล จากบริษัท EIFL Thailand
Tag Archives: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อีกครั้งหนึ่งจากที่ได้เคยรับเป็นเจ้าภาพเมื่อครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2531 ในการเป็นเจ้าภาพการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29 นี้ จัดภายใต้หัวข้อ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556 จัดที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดยมีเนื้อหา ประกอบด้วย Continue reading การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
Agreement คืออะไร ?
ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ agreement ของฐานข้อมูลออนไลน์ วารสารออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (e-reference) พบว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ จึงอยากนำประสบการณ์มาแชร์กันค่ะ
agreement คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสำนักหอสมุดและสำนักพิมพ์ หรือบริษัทผู้เป็นเจ้าของ content ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำการตกลงกันเกี่ยวกับข้ออนุญาต (permitted use) ข้อห้าม (not permitted use) ผู้มีสิทธิ์ใช้ (authorized users) แหล่งที่ได้รับการอนุญาตในการเข้าถึง (authorized sites) และเครือข่ายที่ปลอดภัย (secure network) เป็นต้น โดยสัญญานี้ต้องมีการลงนามโดยผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายจะเก็บ agreement ที่ลงนามเรียบร้อยแล้ว คนละหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานของการจัดหา/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ Continue reading Agreement คืออะไร ?
การอ่าน ส่งผลต่อการนอนได้อย่างไร
เมือโลกเปลี่ยน ยุคสมัยเปลี่ยน ทำให้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แล้วเราจะใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดประโยชน์ และด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนหนังสือที่เป็นกระดาษแผ่นๆ เป็นแบบ อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-book มากขึ้น การใช้งานการกลุ่มคนบางกลุ่มก็เปลี่ยนเป็น E- reader มากขึ้นด้วย ซึ่งการอ่านหนังสือจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แล็บท็อป สมาร์ทโฟน อีรีดเดอร์ ได้มีผลงานวิจัยออกมาแล้วว่า มีผลในการรบกวนการนอนหลับในเวลากลางคืน นั่นเป็นเพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
นักวิจัย Brigham and Women’s Hospital (BWH) ได้พบพฤติกรรมที่เป็นอันตรายของคนที่ชอบอ่านหนังสือประเภท อีบุ๊ค หรืออ่านจาก ไอแพด นั้นจะใช้เวลานานกว่าที่จะหลับสนิทและยังรู้สึกง่วงน้อยกว่าในตอนกลางคืน แถมช่วงเวลาที่หลับลึกก็สั้นกว่า เพราะมีการหลั่งสารเมลาโทนินอันเป็นฮอร์โมนที่จะเริ่มขึ้นในช่วงดึกที่ควบคุมความง่วงนั้นลดลง นอกจากนี้ คนที่อ่านไอแพดยังมีช่วงเวลาของนาฬิกาชีวภาพที่ช้ากว่าที่บ่งบอกโดยระดับของเมลาโทนิน ซึ่งจะช้าลงเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว ทั้งนี้ คนที่อ่านไอแพดยังรู้สึกง่วงน้อยลงเมื่อใกล้ถึงเวลานอน แต่จะง่วงมากขึ้นและตื่นตัวน้อยกว่าเมื่อถึงตอนเช้าในวันต่อมาหลังเวลานอนผ่านไป 8 ชั่วโมง และ”แสงจากหน้าจอ
อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะฉายตรงเข้าไปในดวงตา ต่างจากการอ่านหนังสือธรรมดาหรือการอ่านจากคินเดิลที่เป็นอีรีดเดอร์รุ่นเก่าซึ่งแสงที่เข้าดวงตาผู้อ่านเป็นเพียงแสงสะท้อนจากหน้ากระดาษเท่านั้น และเมื่อการนอนถูกรบกวนก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน และมะเร็งเพิ่มขึ้น” ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เซสเลอร์ หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวกับบีบีซี
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ควรใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกวิธีกันนะคะ
อ้างอิงจาก
1. บีบีซีไทย. 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2558 จาก
https://www.facebook.com/BBCThai/photos/a.1527194487501586.1073741828.1526071940947174/1591985911022443/
2. สุพาพร เทพยสุวรรณ. 2558. อันตรายจากการใช้ iPad ก่อนนอน สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2558 จาก http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000042784
ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือตำรา (Textbooks) เป็นการแปลงข้อมูลจากตัวเล่มหนังสือเป็นสัญญาณดิจิทัล และเพิ่มศักยภาพการนำเสนอและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดเลือกข้อความที่ต้องการ
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือเสียง (Talking Books) จะมีเสียงอ่านเมื่อเปิดหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้เหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด เน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียง นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่ เป็นต้น
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพ (Static Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการจัดเก็บ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping) หรือเพิ่มข้อมูลเชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ
4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ (Video Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ (Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ (Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์สงครามโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลกในโอกาสต่าง ๆ ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือสูญเสียของโลก Continue reading ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)
เวียดนามในเมืองไทย (The Vietnamese in Thailand)
เวียดนามในเมืองไทย (The Vietnamese in Thailand) ผู้เขียน ผุสดี จันทวิมล บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กาญจนี ละอองศรี เป็นเรื่องของนโยบายการปกครองชาวเวียดนามที่เข้ามาในประเทศไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อมหาอำนาจฝรั่งเศสได้ยึดครองประเทศเวียดนาม และเรียกร้องสิทธิให้ชาวเวียดนามในไทยจดทะเบียนเป็น “คนในบังคับฝรั่งเศส” โดยพยายามคุกคามประเทศไทย ส่งผลให้เราต้องยกมณฑลบูรพาให้ประเทศมหาอำนาจ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
สิบสองพันนา : รัฐจารีต (Sipsonghanna : A traditional State)
สิบสองพันนา : รัฐจารีต (Sipsonghanna : A traditional State) ผู้เขียน ณัชชา เลาหศิรินาถ บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กาญจนี ละอองศรี เป็นเรื่องของการเผชิญปัญหาการแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าและการเมือง ระหว่างจีน อังกฤษ และฝรั่งเศส ของรัฐเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า สิบสองพันนา และในที่สุดดินแดนดังกล่าวได้ผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของจีน ติตตามรายละเอียดที่ได้ทีนี่
สิทธิมนุษยชน : เกณฑ์คุณค่าและฐานความคิด
สิทธิมนุษยชน : เกณฑ์คุณค่าและฐานความคิด เขียนโดย ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เป็นหนังสือรวมบทความที่กล่าวถึงอุดมการณ์ หลักการ และฐานความคิดของสิทธิมนุษยชนในบริบทต่าง ๆ ติดตามอ่านได้ที่นี่
บทวิเคราะห์ว่าด้วยการศึกษากับปัญหาสภาวะความรู้มนุษย์
บทวิเคราะห์ว่าด้วยการศึกษากับปัญหาสภาวะความรู้มนุษย์ เขียนโดย เสน่ห์ จามริก ผู้เขียนเขียนเพื่อให้เกิดความสนใจและใส่ใจถึงวัฒนธรรมและกระบวนการเรียนรู้ รวมถึงสภาวะและวิสัยทัศน์ของการศึกษาไทย ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
สังคโลก-สุโขทัย-อยุธยากับเอเชีย (Sangkhalok-Sukhothai-Ayutthaya and Asia)
สังคโลก-สุโขทัย-อยุธยากับเอเชีย (Sangkhalok-Sukhothai-Ayutthaya and Asia) บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวถึงประเด็นทางวิชาการของการค้าสังคโลกตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงอยุธยา ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่