ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21

1

เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมาบุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21” เนื่องในโอกาส 30 ปี แห่งความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ณ โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ โดยมีบรรณารักษ์และบุคลากรทางการศึกษาจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และรัฐบาล ทั่วประเทศเข้าร่วมงาน

งานสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ได้แบ่งหัวข้อการบรรยายออกเป็น 2 วัน โดยเนื้อหาการบรรยยายเป็นความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นของวิทยากรที่มีต่อการ การพัฒนาห้องสมุดในศตวรรษที่ 21 ในบริบทของ ห้องสมุด ผู้ใช้ และผู้ให้บริการ โดยมีหัวข้อการบรรยยาย ดังนี้

วันที่ 12 มีนาคม 2558
การอภิปรายเรื่อง “ห้องสมุดในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้”
โดย ดร.ชนันนา รอดสุทธิ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้ดำเนินการอภิปรายได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของห้องสมุดไปสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ การพัฒนาพื้นที่ และการจัดกิจกรรมของห้องสมุดที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกมิติ สภาพแวดล้อมที่เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการห้องสมุดเพื่อชุมชน

บรรยากาศในงานสัมมนาวิชาการ
การอภิปรายเรื่อง “ห้องสมุดในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้”

การบรรยายเรื่อง “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในฐานะคลังความรู้”
โดย คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ นักวิชาการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผู้บรรยายได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Knowledge Management ของห้องสมุด รวมทั้งเสนอแนวคิดทางการจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยยกตัวอย่างของ Smithsonian Dashboard

การบรรยายเรื่อง "ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในฐานะคลังความรู้"
การบรรยายเรื่อง “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในฐานะคลังความรู้”

การเสวนาเรื่อง “การใช้สารสนเทศของผู้เรียนในยุค Gen Z/Gen ME : มุมมองจากงานวิจัย”
โดย
ผศ. ดร.อารีย์ ชื่นวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, อาจารย์สรัญญา รุจิเรขเรืองรอง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้บรรยายทั้ง 3 ท่าน ได้ให้คำจำกัดความของ Gen Z/ Gen Me อธิบายถึงลักษณะ และพฤติกรรมด้าน IT โดยระบุว่าเป็น Gen ที่มีความสามารถทางด้าน IT พึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กับอินเทอร์เนต ในขณะที่ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมน้อยลง พึ่งพา search engine ในการสืบค้นและพอใจกับผลการค้นลำดับแรกๆ มากกว่าความเจาะจง นอกจากนี้วิทยากรทั้ง 3 ท่านได้ให้ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการบริการอย่างสังเขปไว้

การเสวนาเรื่อง "การใช้สารสนเทศของผู้เรียนในยุค Gen Z/Gen ME : มุมมองจากงานวิจัย"

การเสวนาเรื่อง “การใช้สารสนเทศของผู้เรียนในยุค Gen Z/Gen ME : มุมมองจากงานวิจัย”

วันที่ 13 มีนาคม 2558
การอภิปรายเรื่อง “Databrarian พันธกิจอนาคตของบรรณารักษ์ในศตวรรษใหม่” โดย รศ.ดร. สมพร พุทธาพิทักษ์ผล อาจารย์ประจำแขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
และ ดร. จอมขวัญ ผลภาษี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีและผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
วิทยากรได้ให้ความหมายของ Databrarian หรือ Data Librarian ว่าเป็นผู้ที่ทำงานร่วมกับ ‘ข้อมูล’ และ ‘สถิติ’ โดยใช้ค่าที่มีนัยสำคัญ ระเบียบ ทักษะและความรู้ทางบรรณารักษ์ศาสตร์ เพื่อบริหารจัดการกับข้อมูล เพื่อสนับสนุนบริการผู้ใช้ และเพื่อสอนการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูล รวมทั้งการให้บริการในฐานะคนกลาง ซึ่ง Data librarian เป็นทิศทางอย่างหนึ่งของบรรณารักษ์ รวมทั้งวิทยากรได้เสนอบทบาทใหม่ๆของบรรณารักษ์ที่จะมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย

การอภิปรายเรื่อง "Databrarian พันธกิจอนาคตของบรรณารักษ์ในศตวรรษใหม่"

การอภิปรายเรื่อง “Databrarian พันธกิจอนาคตของบรรณารักษ์ในศตวรรษใหม่”

การบรรยายเรื่อง “ห้องสมุด (บรรณารักษ์) กับบทบาทการสนับสนุนการวิจัย”
โดย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยากรได้ให้แนวคิดในเรื่องบทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย ว่าบทบาทในการสนับสนุนงานวิจัยแบบเดิม (หาสารสนเทศจำนวนมากไปให้นักวิจัยเลือก) เป็นบทบาทที่ถูกต้องแล้วหรือ? วิทยากรแนะนำว่าบรรณารักษ์ควรที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มการวิจัย แม้กระทั่งควรทำวิจัยเอง เพื่อที่จะเข้าใจถึงกระบวนการวิจัย นอกจากนี้บรรณารักษ์ยังควรรู้และให้คำปรึกษาในเรื่องของจรรยาบรรณในการอ้างอิงและตีพิมพ์ผลงานได้

การบรรยายในหัวข้อ "ห้องสมุด (บรรณารักษ์) กับบทบาทการสนับสนุนการวิจัย" ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การบรรยายในหัวข้อ “ห้องสมุด (บรรณารักษ์) กับบทบาทการสนับสนุนการวิจัย”