ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่การอ่านและการค้นคว้า

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 ในการสัมมนาบุคลากรประจำปี ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “หรือไม่ใช่ห้องสมุด!? ทำไม? อะไร? อย่างไร?”  ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรและพัฒนาองค์กร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชัน จำกัด และในฐานะคณะกรรมการอำนวยการหอสมุดฯ  ได้มาเล่าถึงยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่อ่านและการค้นคว้าของห้องสมุด พร้อมกับยกตัวอย่างของการปรับปรุงร้านหนังสือชื่อดังของเกาหลี คือ ร้าน Kyobo ซึ่งเป็นร้านหนังสืออันดับต้น ๆ ของเกาหลีใต้ ที่ให้ความสำคัญกับ “ลูกค้า” ด้วยการปรับปรุงรูปแบบร้าน “การมีพื้นที่ให้ผู้อ่าน” มากกว่าที่จะเป็นโกดังเก็บหนังสือ

2011yip_1132011_books_bookstore_downtown_throughthewindow-792411

หากถามถึง “ห้องสมุด” คงไม่ต่างกัน เพียงแต่ต้องปรับวิธีคิดว่า  “ห้องสมุด” จะเป็น “โกดังเก็บหนังสือ”  หรือ  เป็น “ที่รวมของคนอ่านหนังสือ”บทเรียนจากร้านหนังสือ Kyobo ที่ดร.วิโรจน์ ได้นำมาถ่ายทอดให้ฟัง เริ่มตั้งแต่การสร้างบรรยากาศของร้านหนังสือ การให้ใส่ใจกับ ป้ายร้าน  ป้ายชั้นหนังสือ  อุณหภูมิและแสงสว่างในร้าน การจัดชั้นหนังสือเพิ่มระยะความห่างของแต่ละชั้น เป็น 120 เซนติเมตร ขยายทางเดินเป็น 140 เซนติเมตร  รวมถึงการเลือกเก้าอี้นั่ง การเพิ่มที่นั่งให้กับลูกค้า ในแต่ละโซน เพื่อให้ลูกค้าที่ร้านสามารถนั่งอ่านหนังสือได้สบายมากขึ้น

นอกจากนั้น การจัดหนังสือโดยเน้นการโชว์ปกหนังสือ การจัดโต๊ะเพื่อโชว์ปกหนังสือแต่ละเล่ม รวมถึงการเขียนแนะนำหนังสือที่น่าสนใจในแต่ละประเภท อาจจะคัดเลือกจากบทวิจารณ์จากหนังสือพิมพ์ หรือ เจ้าหน้าที่ของร้านเป็นคนเขียนเอง เพื่อเพิ่มน่าสนใจให้กับหนังสือเล่มนั้น ๆ

โดยรวมแล้วอาจจะเรียกได้ว่า เป็นการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า และดึงดูดให้ลูกค้า นักอ่านได้เข้ามาใช้บริการและใช้เวลาอยู่ที่ร้าน Kyobo มากขึ้น ด้วยแนวคิดที่ว่า “Traffic is the Key”

“Traffic is the Key” แนวคิดสำคัญของยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่อ่านและค้นคว้า  ที่ ดร.วิโรจน์กล่าวถึง ประกอบด้วย

-Soonest fist time experience  การสร้างประสบการณ์ครั้้งแรกที่เร็วที่สุด

-Relaxing experience & Engagement & Gamification & Feedback & Content marketing   ประสบการณ์ที่สบาย ได้มีส่วนร่วม

-Repetition & Frequency & Reentering points & Dynamic display     มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงสินค้า มีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ

-Time Spending การใช้เวลาอยู่ในห้องสมุด /ร้านหนังสือมากขึ้น

-Resources used & Turnover ทรัพยากรมีการใช้งาน หาเหตุผลให้เขากลับมาใช้งานซ้ำ

-Active member & Recency  สมาชิกที่เข้ามาใช้งาน และความถี่ของการเข้าใช้ห้องสมุด/ร้านหนังสือ

ท้ายที่สุดนี้ ห้องสมุด คงต้องกลับมาตั้งคำถาม ถึงความหมายของห้องสมุด อีกครั้งว่า จะเป็นโกดังเก็บหนังสือ หรือ จะเป็นแหล่งให้บริการนักอ่าน นักศึกษา อาจารย์  เพื่อหากลยุทธ์ที่จะทำให้มีคนเข้าใช้ห้องสมุดและคิดถึงห้องสมุดเป็นแห่งแรก ถ้าหากจะต้องทำงานกลุ่ม หรือนัดกับกลุ่มเพื่อน ….