ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา ห้องสมุดแห่งชุมชน

ในวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างเวลา 11.00-12.30 น. มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมงานห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ซึ่งตั้งอยู่ในสถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างกันมาว่าห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ไม่เหมือนใคร และยังเคยได้รับรางวัลชมเชยจากโครงการห้องสมุดมีชีวิต TK park Living Library Award จากการจัดกิจกรรมภายในห้องสมุดโดยคุณบรรณารักษ์แสนน่ารัก ซึ่งห้องสมุดมีกิจกรรมอะไรบ้างและบรรยากาศภายในเป็นยังไง ขอเริ่มที่ประวัติของห้องสมุดคร่าวๆก่อนเลยค่ะ

PB190899
โครงการห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” มีจุดเริ่มต้นจากกระทรวงศึกษาธิการทูลขอพระราชทานพระราชานุญาตดำเนินโครงการจัดตั้งห้องสมุดขึ้น และได้รับพระราชทานนามว่า “เฉลิมราชกุมารี” โดยเริ่มก่อสร้างห้องสมุดรุ่นแรกจำนวน 37 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่พระชนมายุ 36 พรรษา ในปี 2534 โดยวางแผนดำเนินการจัดตั้งอย่างต่อเนื่องจนครบทุกอำเภอภายในระยะเวลา 10 ปี เพื่อเปิดให้บริการประชาชนในฐานะแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของชุมชนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งความร่วมมือสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเช่นกัน

open4 open5
ปัจจุบันห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” กระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ 82 แห่ง ใน 57 จังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อ.ปากช่องเป็นห้องสมุดลำดับที่ 7 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดในวันที่ 8 กันยายน 2535

PB190844Presentation2

ทำไมห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อ.ปากช่อง ถึงน่าสนใจ?
เป็นที่ทราบกันดีถึงบทบาทของห้องสมุดว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อบริการความรู้แก่สังคม แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าหาความรู้ ห้องสมุดจึงต้องปรับบทบาทและเข้าหากลุ่มผู้ใช้บริการมากขึ้น โดยถือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หากไม่มีส่วนร่วมจากชุมชนบรรยากาศคงเงียบเหงาและแห้งแล้ง ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อ.ปากช่อง จึงได้พยายามอย่างเต็มที่พัฒนาทั้งทางกายภาพ การจัดกิจกรรม และดำเนินการสร้างเครือข่ายห้องสมุดเพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้นภายในชุมชน โดยอาศัยการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนภายนอก ที่สำคัญที่สุดคือ ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือจากทางเทศบาลทางด้านสถานที่หรืองบประมาณอุดหนุน โรงเรียนในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และส่งเสริมกิจกรรมการอ่านแก่เด็กๆ หรือระดับประชาชนทั่วไปก็ตาม โดยบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ได้บอกแก่เราว่า “…การออกแบบอาคารนี้เองก็เป็นผลมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยชุมชนได้ร่วมกันออกแบบเอง…”

PB190900

ภายในห้องสมุดนั้นมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับห้องนิทรรศการงานเผยแพร่พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จัดแสดงขึ้นเพื่อแสดงถึงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

PB190848 PB190849 PB190860 PB190857

สำหรับส่วนอื่นๆ ห้องสมุดได้แบ่งพื้นที่ออกตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์บริการยืมคืน ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ชั้นหนังสือใหม่และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆรวมถึงที่นั่งอ่านหนังสือ ห้องโสตทัศนศึกษา และอาคารหนังสือเด็ก

PB190866 PB190865 PB190863 PB190871 PB190875 PB190876    PB190862 PB190878

กิจกรรมที่น่าสนใจยังมีออกนอกไปจากห้องสมุดค่ะ และจากคำบอกเล่าของบรรณารักษ์พบว่าเด็กๆนักเรียนที่มาทำกิจกรรมที่นี่สนใจกันมากนอกจากการอ่านหนังสือ คือ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ด้วยพื้นที่ที่ติดกับภูเขาทำให้ภายในศูนย์มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติและลานกิจกรรมจัดเตรียมไว้เพี่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกทางหนึ่งค่ะ

PB190880 PB190881 PB190889 PB190886 PB190891 PB190905 PB190908 PB190911 PB190919

ระหว่างการเยี่ยมชมคณะบรรณารักษ์บอกกับเราเสมอว่า การมีส่วนร่วมจากประชาชนและการได้รับสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนทำให้งานห้องสมุดสามารถเดินหน้าส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามภาพสะท้อนอย่างหนึ่งที่สามารถสัมผัสได้คือ ความมุ่งมั่นพัฒนางานห้องสมุดชุมชนของเหล่าเจ้าหน้าที่ ที่ตั้งใจคิดและมุ่งมั่นลงมือทำกิจกรรมต่างๆให้งอกเงยขึ้น สร้างสรรค์บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ รับฟังความคิดเห็นจากผู้รับบริการมาปรับปรุงบริการอยู่ตลอดเวลา คือสิ่งที่สำคัญอีกข้อที่ทำให้ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ประสบความสำเร็จ และรางวัลชมเชย โครงการห้องสมุดมีชีวิต TK park Living Library Award ในระดับประเทศคือเครื่องยืนยันการทำงานอย่างมุ่งมั่นของห้องสมุดแห่งนี้

PB190855
“….เราไม่อยากเป็นแค่ห้องสมุดธรรมดา นี่คือความท้าทายของเราว่าเราจะทำอย่างไรให้ห้องสมุดมีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และดึงดูดผู้ใช้เข้ามา ไม่ใช่แค่เข้ามายืมคืนหนังสือ แต่เข้ามาใช้พื้นที่ของเรามากขึ้นเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน” และนี่คือโจทย์ที่ตั้งไว้ของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาค่ะ