พระยากงพระยาพาน

nakonpatom1

หลายท่านคงได้เคยไปเที่ยวจังหวัดนครปฐม และไปกราบสักการะองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อเป็นสิริมงคล และมีหลายท่านคงคิดสงสัยว่าผู้ใดเป็นผู้สร้างองค์พระปฐมเจดีย์แห่งนี้ ตัวผู้เขียนเองก็ไม่ทราบเนื้อแท้เรื่องจริงแต่ได้ยินจากคนโบร่ำโบราณเล่าปากต่อปาก รุ่นต่อรุ่น เกี่ยวกับตำนาน (ตำสะละเอียดเลย) ถึงองค์พระปฐมเจดีย์แห่งนี้ ว่าเป็นโศกนาฏกรรมมาสู่การก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้

โดยเรื่องมีอยู่ว่า พญากงเป็นเจ้าเมืองนครชัยศรี (เมืองนครชัยศรีเป็นชื่อเก่าของจังหวัดนครปฐม) ทรงมีพระมเหสีที่มีรูปโฉมงดงามราวเทพธิดาบนสวรรค์ และเมื่อพระมเหสีทรงตั้งพระครรภ์ ท่านโหรหลวงจึงได้ทำนายว่าจะได้ พระโอรสผู้ซึ่งมีบุญญาธิการมาเกิด และจะได้เป็นใหญ่ในภายหน้า และโหรหลวงได้ทำนายทายทักต่อว่าจะเป็นคนที่ฆ่าพระบิดา(เหมือนกับทรพีอย่างไรอย่างนั้น) และเมื่อครบกำหนดที่พระมเหสีจะประสูติพระกุมาร ขณะที่นางฝ่ายในได้ทำการเอาพานไปรองรับ ตัวพระกุมาร บังเอิญพานไปกระแทกหน้าผากของพระกุมาร ทำให้เกิดบาดแผล เมื่อพญากงทราบข่าวจึงได้สั่งให้นำพระกุมารไปทิ้งป่าตายตามยถากรรม แต่ด้วยบุญญาธิการคนไม่ถึงที่ตาย เผอิญยายหอมไปพบจึงได้พาเด็กน้อยไปเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า พาน และเมื่อโตขึ้นยายหอมก็นำไปฝากให้เล่าเรียนที่วัดโคกยายหอม (สัญนิษฐานโดยผู้เขียนว่าน่าจะอยู่วัดดอนยายหอมในปัจจุบัน)

nakonpatom2

เด็กชายพานเป็นเด็กฉลาด เจ้าอาวาสวัดผู้เป็นอาจารย์จึงรักใคร่เอ็นดูมีวิชาอะไรก็สอนให้หมด จนเก่งกล้าสามารถทุกวิชาการ ครั้นเมื่อเติบใหญ่ได้นำพานไปฝากให้เข้ารับราชการกับพระยาราชบุรี เจ้าเมืองราชบุรี พานเป็นคนที่สติปัญญาดี เรียบร้อยและขยัน จึงเป็นที่รักใคร่และโปรดปรานของพระยาราชบุรี จนถึงกับรับไว้เป็นบุตรบุญธรรม โดยสมัยนั้น เมืองราชบุรีขึ้นกับเมืองนครชัยศรี พระยาราชบุรี จึงต้องส่งเครื่องบรรณาการทุกปีในฐานะเมืองขึ้น ครั้นเมื่อเมื่อเจริญในหน้าที่การงานจนเป็นมียศฐาเป็นถึงพระยา ตัวเราเองเป็นผู้มีฝีมือในการรบจะเป็นเมืองขึ้นเขาทำไม จึงได้ชักชวนให้พระยาราชบุรีแข็งเมืองและได้ยกกองทัพออกไปรบกับพญายากง ทั้งสองทำยุทธหัตถีกัน และในที่สุดพระยากงก็ถูกฟันด้วยง้าวคอขาดตายในสนามรบ ในที่สุดพระยาพานเข้ายึดเมืองนครชัยศรีได้แล้ว จึงได้ทั้งราชสมบัติตลอดจนพระมเหสีของพญายากงด้วย และในขณะที่จะเข้าไปหาพระมเหสีนั้น ได้มีเทวดาแปลงกายเป็นแมวแม่ลูกอ่อนให้ลูกกินนมขวางประตูเอาไว้ แล้วร้องทักเสียก่อน ทำให้พระยาพานคิดตรองและได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าพระมเหสีเป็นแม่ของตนจริงก็ขอให้มีน้ำนมไหลซึมออกมา เป็นไปตามจริง น้ำนมไหลออกมาจริง จึงได้รู้ว่าทั้งสองเป็นแม่ลูกกัน พระยาพานจึงเครียดด้วยเหตุกระทำปิตุฆาตฆ่าพระบิดาตนเอง จึงพาลพาโลหาว่ายายหอมปิดบังความจริงโดยไม่บอกให้รู้ และด้วยความโมโหครอบงำ ทำให้ขาดสติยั้งคิด จึงสั่งให้นำยายหอมไปฆ่าเสีย ต่อมาด้วยความสำนึกผิด ที่ได้ฆ่าพระบิดาและยายหอมผู้มีพระคุณเลี้ยงดูในวัยเยาว์ จึงได้สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ สูงชั่วนกเขาเหิน คือ องค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเป็นการไถ่บาปที่ต้องฆ่าพระบิดาให้บรรเทาลงและสร้างพระประโทนเจดีย์ เพื่อล้างบาปที่สั่งฆ่ายายหอม บางกระแสคำว่าพระพานอาจจะเพี้ยนมาจาก “พาล” ที่หมายถึงคนพาลในบางท่านคงสงสัยว่าในตำราหรือคำบอกเล่ามีทั้งคำว่า “ พญา “ กับ “พระยา” ตรงนี้ผู้เขียนเกิดไม่ทัน หรือเกิดทันในชาตินั้นแต่อาจจำความไม่ได้ก็เป็นได้

nakonpatom3nakonpatom4

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามเรื่องราวของพระยากง พระยาพาน ในรูปแบบอื่่นๆ  เช่น

  • พระยาพาน พระยากง (เป็นวัสดุบันทึกเสียง)  ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ พ่อขุนเม็งรายมหาราช 6 มหาราชของไทย ศรีปราชญ์กำศรด พระยากงพระยาพาน ยอดวีรสตรีไทย ฯลฯ (โดย เกริกชัย เอี๊ยะมิ้ง และ ป. พิศนาคะ)
  • ผจญภัยในตำนาน พระยาพาน พระยากง (บทประพันธ์ [โดย] พงษ์อนันต์ สรรพานิช)
  • เทศะแพทย์คำฉันท์และเสภาเรื่อง พระยากงพระยาพาน (โดย นายนราภิบาล (ศิลป์ เทศะแพทย์))

รายการอ้างอิง:

พระยากงพระยาพาน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 จาก https://thaifolktales.wordpress.com

รูปภาพจากเว็บไซต์ใน google.com