All posts by นางพัชรี การุณ

พระศรีมหาโพธิ์ จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ (Bodhi : As the Tree of Knowledge from Jambudvipa to Suvannabhumi)

พระศรีมหาโพธิ์ จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ (Bodhi : As the Tree of Knowledge from Jambudvipa to Suvannabhumi) ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ, เผ่าทอง ทองเจือ, สุรีย์ ภูมิภมร, อัครพงษ์ ค่ำคูณ, พระภิกษุณีธัมมนันทา บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  พระศรีมหาโพธิ์ เป็นความพยายามที่จะอธิบายและให้ความรู้แห่งความเลื่อมใสศรัทธา ต่อสัญลักษณ์การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสืบเนื่องมากว่า 2,500 ปี ติดตามอ่านได้ที่นี่

รายงานชวา สมัย ร.5 (Java: 1907 Siamese Report on Java)

รายงานชวา สมัย ร.5 (Java : 1907 Siamese Report on Java)  คำนำ โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สุนทรี อาสะไวย์ เอกสารชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลสยามในสมัย ร.5 ให้ความสนใจต่อความเปลี่ยนแปลงของอาณานิคมของฝรั่งในอุษาคเนย์และชมพูทวีปเป็นอย่างยิ่ง ติดตามอ่านได้ที่นี่

ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 (Collected Proclamations of King Mongkut)

ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 (Collected Proclamations of King Mongkut) ได้รวบรวม 343 ประกาศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวคิดและบทบาทในฐานะผู้ประเทศของพระองค์ ตลอดจนสภาพบ้านเมืองสมัยนั้น  บรรณาธิการ โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, กัณฐิกา ศรีอุดม ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

พระเจ้ากรุงสยามกับเซอร์จอห์น เบาว์ริง (The King of Siam and Sir John Bowing)

พระเจ้ากรุงสยามกับเซอร์จอห์น เบาว์ริง (The King of Siam and Sir John Bowing) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กัณธิกา ศรีอุดม เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงสยามคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีบทบาทสำคัญ  โดยเฉพาะสนธิสัญญา เบาว์ริง กับประเทศอังกฤษ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

ไพร่สมัย ร.5

ไพร่สมัย ร.5 โดย อัญชลี สุสายัณห์ บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นหนังสือเกี่ยวกับระบบไพร่สมัยรัตนโกสินทร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่ 

รัชกาลที่ 5 : สยามอุษาอาคเนย์และชมพูทวีป (King Chulalongkorn : Siam-Southeast Asia-Jambudvipa)

รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป (King Chulalongkorn : Siam-Southeast Asia-Jambudvipa) บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อรอนงค์ ทิพย์พิมล  เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับประเทศเพื่อนบ้านและเจ้าอาณานิคมของแต่ละประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

ระบบจองห้องประชุมและรถยนต์

ลองคิดดูนะค่ะ ว่าถ้าหน่วยงานที่มีบุคลากรหรือพนักงาน ต้องใช้ห้องประชุม เพื่อประชุม และรถยนต์ เพื่อใช้ในการไปติดต่อกับหน่วยงานภายนอก คงจะวุ่นวายในการหาสถานที่ หารถ และคงต้องมีค่าใช้จ่ายหมดไปเรื่องเหล่านี้และถ้าต้องจัดการเองทั้งหมด คงจะวุ่นวายมากทีเดียว

การจองห้องประชุม และการจองรถยนต์ จึงต้องมีบุคลากรประจำเพื่อดูแลในเรื่องเหล่านี้  แต่ก่อนที่ยังไม่มีระบบการจองห้องประชุม และระบบการจองรถยนต์  ต้องใช้วิธีการบอกกล่าว และโทรศัพท์แจ้ง จึงต้องสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  เช่น การแจ้งความประสงค์ในการขอใช้ห้องประชุม ต้องทราบจำนวนผู้เข้าประชุม ความต้องการในใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ความต้องการให้จัดหาเครื่องดื่ม อาหารว่าง และอาหารกลางวัน  เหล่านี้เป็นหน้าที่ที่ผู้รับผิดชอบอย่างเราต้องดูแลให้เกิดความเรียบร้อย รวมถึงการจองรถยนต์ก็ต้องทราบเวลาใช้รถ สถานที่ที่จะไป  รอรับกลับด้วยหรือไม่ ซึ่งบางครั้งก็มั่วอยู่เหมือนกัน ไม่มีห้องให้บ้าง เรื่องการจองรถยนต์ก็เวลาตรงกันบ้าง ทำให้ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เสมอๆ จนกระทั่งสำนักหอสมุด มีการพัฒนาระบบการจองห้องประชุม การจองรถยนต์ ช่วยดิฉันสบายขึ้นมากกว่าเดิม เพราะระบบช่วยในการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น สามารถจัดหาหรืออำนวยความสะดวก เพียงแต่บุคลากรเข้าไปในระบบการจองห้องประชุม และ จองรถยนต์ของสำนักหอสมุดฯ เท่านั้น เห็นได้ชัดว่าการมีระบบที่ดีมันดีอย่างนี้นี่เอง