Tag Archives: ชุดเฉลิมพระเกียรติ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำร : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

Capture

งานชิ้นนี้ได้นำแนวทางการศึกษาแบบสหวิทยาการมาสืบค้นความหมายของปรากฎการณ์ทางสังคม วัฒนธรรม เพื่ออธิบายลักษณะของยุคสมัย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์นั้น ๆ อ่านได้ที่นี่

ร.5 เสด็จอินเดีย

Rama5india_01

พระมหากษัตริย์ผู้เปิดโลกแห่งการเดินทาง

เบงกอลหนุ่ม – สยามหนุ่ม – รถไฟอินเดีย ยกเลิกธรรมเนียมหนอบเฝ้า – เข่าคลาน การเสด็จอินเดียในปี พ.ศ. 2414  นั้น เป็นรากฐานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน การศึกษา รัฐวิสาหกิจ การทหาร การคมนาคม ขนส่ง การสำรวจดูงาน 47 วัน อ่านได้ที่นี่

ร.5 เสด็จอินเดีย (India in 1872 : As seen by the Siamese)

ร.5 เสด็จอินเดีย (India in 1872 : As seen by the Siamese) ผู้เขียน ดร.สาคชิตอนันท สหาย แปลโดย กัณฐิกา ศรีอุดม บรรณาธิการโดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์  การเสด็จอินเดียในปี พ.ศ. 2414 เป็นรากฐานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน การดูงาน 47 วันในอินเดีย ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แบบอย่างสำหรับประเทศสยาม ติดตามอ่านได้ที่นี่ 

พระศรีมหาโพธิ์ จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ (Bodhi : As the Tree of Knowledge from Jambudvipa to Suvannabhumi)

พระศรีมหาโพธิ์ จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ (Bodhi : As the Tree of Knowledge from Jambudvipa to Suvannabhumi) ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ, เผ่าทอง ทองเจือ, สุรีย์ ภูมิภมร, อัครพงษ์ ค่ำคูณ, พระภิกษุณีธัมมนันทา บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  พระศรีมหาโพธิ์ เป็นความพยายามที่จะอธิบายและให้ความรู้แห่งความเลื่อมใสศรัทธา ต่อสัญลักษณ์การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสืบเนื่องมากว่า 2,500 ปี ติดตามอ่านได้ที่นี่

รายงานชวา สมัย ร.5 (Java: 1907 Siamese Report on Java)

รายงานชวา สมัย ร.5 (Java : 1907 Siamese Report on Java)  คำนำ โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สุนทรี อาสะไวย์ เอกสารชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลสยามในสมัย ร.5 ให้ความสนใจต่อความเปลี่ยนแปลงของอาณานิคมของฝรั่งในอุษาคเนย์และชมพูทวีปเป็นอย่างยิ่ง ติดตามอ่านได้ที่นี่

ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 (Collected Proclamations of King Mongkut)

ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 (Collected Proclamations of King Mongkut) ได้รวบรวม 343 ประกาศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวคิดและบทบาทในฐานะผู้ประเทศของพระองค์ ตลอดจนสภาพบ้านเมืองสมัยนั้น  บรรณาธิการ โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, กัณฐิกา ศรีอุดม ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

ไพร่สมัย ร.5

ไพร่สมัย ร.5 โดย อัญชลี สุสายัณห์ บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นหนังสือเกี่ยวกับระบบไพร่สมัยรัตนโกสินทร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่ 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ยังคงยึดหลักตามแนวทางที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้มอบไว้ให้ ในการผลิตตำรา คือ การผลิตเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิชาการและเพื่อให้มีหนังสือดีๆ ให้แก่เยาวชนได้ใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนและศึกษาค้นคว้าในระดับอุดมศึกษา มิใช่การผลิตเพื่อหวังผลกำไร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้เปิดตัวเว็บไซต์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่รวบรวมหนังสือ และตำราที่ผลิตทั้งหมดในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ http://textbooksproject.com/HOME.html ซึ่งในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นี้ ประกอบด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 12 ชุด ได้แก่ ชุดสรุปการสัมมนาประจำปี ชุดเพื่อนบ้านของไทยในอุษาคเนย์ ชุดประวัติศาสตร์ ชุดประวัติการเมืองไทย ชุดสิทธิมนุษยชน ชุดการศึกษา ชุดไทย-จีน ชุดไทย-ญี่ปุ่น ชุดสาละวิน-แม่น้ำโขง ชุดอยุธยา ภาษาต่างประเทศ และชุดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่่งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้แนะนำเป็นลำดับต่อไป