Tag Archives: โครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน – ศูนย์เด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลคุณากร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขึ้น ภายในบริเวณโรงเรียนนายร้อย จปร. เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ข้าราชการและลูกจ้างของ โรงเรียนนายร้อย จปร. ในวัยก่อนเรียน อายุตั้งแต่ 2 ถึง 5 ขวบ จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาล พระราชทานนามว่า โรงเรียนอนุบาลคุณากร ซึ่งเป็นสร้อยพระนามของพระองค์

โรงเรียนอนุบาลคุณากร
โรงเรียนอนุบาลคุณากร

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 22)

รายการอ้างอิง
โรงเรียนอนุบาลคุณากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 จาก http://www2.crma.ac.th/kunakorn/k_history.html

โรงเรียนจิตรลดา สายวิชาชีพ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริ ให้โรงเรียนจิตรลดาขยายการศึกษาเพิ่มขึ้นในสายวิชาชีพ และยังทรงส่งเสริมให้ระบบการเรียนการสอนสายวิชาชีพของโรงเรียนจิตรลดามีรูปแบบเป็นความร่วมมือระหว่างโรงเรียน สถานประกอบการ สถาบันเทคโนโลยี และทรงมีพระราโชบายเน้นการเรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษามีความสามารถทางด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง

รายการอ้างอิง

โรงเรียนจิตรลดา สายวิชาชีพ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 จาก http://www.chitraladaschool.net/

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  21)

ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ภูฟ้าพัฒนาขึ้น  เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาและการถ่ายทอดความรู้การพัฒนาไปสู่พื้นที่ และราษฎรในอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูง เพื่อการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม เป็นศูนย์รวมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องด้านการตลาด เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น และเพื่อการศึกษาวิจัยถ่ายทอดความรู้การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนสู่จุดมุ่งหมาย “คนอยู่ร่วมกับป่า”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  20)

รายการอ้างอิง

โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 จาก http://www.nan.go.th/copp/phufa/indexphufa.htm

ร้านภูฟ้า

ร้านภูฟ้า
ร้านภูฟ้า

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งร้านขึ้นในกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) พระราชทานชื่อร้านว่า “ร้านภูฟ้า” เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของโครงการส่งเสริมอาชีพ ตามพระราชดำริฯ ปัจจุบันมีการขยายสาขาทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีร้านภูฟ้าผสมผสาน ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ที่ผสมผสานศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ที่ชั้น 4 สยามพารากอน

รายการอ้างอิง

สำนักงานร้านภูฟ้า. ร้านภูฟ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 จาก http://www.phufa.org/

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 19)

โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   องค์ประธานคณะกรรมการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง   โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมอาคาร พระตำหนักสวนกุหลาบ  มีพระราชดำริว่า  เมื่อซ่อมแซมแล้วก็ควรให้เป็นโรงเรียนเหมือนเดิม  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จึงได้รับพระราชดำริจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษา ขึ้นในบริเวณพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  17 )

โรงเรียนปิยชาติพัฒนา

โรงเรียนปิยชาติพัฒนา เป็นโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของบุตรหลาน   ข้าราชการ ทหาร และประชาชนในเรื่องสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ด้วยความร่วมมือของกรมสามัญศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และจังหวัดนครนายก  จัดตั้งโรงเรียนปิยชาติพัฒนา ขึ้น ทรงพระราชทานมงกุฎประจำพระองค์เป็นตราประจำโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และทรงรับโรงเรียนอยู่ในพระราชูปถัมภ์

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  16)

วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราชดำริแก่มหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนและให้โอกาสด้านประกอบอาชีพ ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนพิการ ทรงพระราชทานพระนาม “ราชสุดา” สำหรับชื่อวิทยาลัย

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  15 )

กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง

กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จัดตั้งขึ้นโดย เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของชาติ ด้านงานช่างทองหลวง งานเครื่องเงิน เครื่องทองแบบโบราณของแต่ละชุมชน รวมถึงการพัฒนาเป็นเครื่องประดับอัญมณีแบบสากล รวมทั้งเพื่อผลิตช่างฝีมือ พัฒนางานด้านงานช่างทองหลวง งานเครื่องเงิน เครื่องทองแบบโบราณของแต่ละชุมชน รวมถึงการพัฒนาเป็นเครื่องประดับอัญมณีแบบสากล และเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ด้านงานดังกล่าว และเพื่อทำระบบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนาก

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 14)

รายการอ้างอิง:
กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง.  ประวัติความเป็นมา กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.goldsmith.ac.th/external_links.php?links=1

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

จากเว็บไซต์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้กล่าวไว้ว่า ” “วังสระปทุม” นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เป็นสถานที่สำคัญแห่งพระราชวงศ์และแห่งชาติ ด้วยเป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตราบจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้เป็นที่ประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในเวลาต่อมา สมควรที่จะจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ แสดงพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างอันดีงามแห่งการดำรงชีวิตที่อำนวยประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก

เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสระปทุมให้เป็นที่ประทับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงระลึกถึงพระราชปรารภแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงจัดการตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นสนองพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระราชกรณียกิจแห่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เพื่อดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว และจัดกิจกรรมต่างๆ สืบสานแนวพระราชดำริสืบมาจนถึงปัจจุบัน”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  13 )

รายการอ้างอิง:
มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า.  พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.queensavang.org/qs/index.php/th/2012-08-29-08-36-54

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเลือกตั้งเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2520 จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะดำเนินงานโครงการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิฯให้ลุล่วงไปตามเป้าหมายโดยเร็ว  เพื่อให้อุทยานฯ สามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนชาวสมุทรสงครามและท้องถิ่นใกล้เคียง และเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้แพร่ไพศาลยั่งยืนอยู่ตลอดไป และให้เป็นแหล่งวิทยาการ ศูนย์กลางศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่น

memorial-park

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  12)

รายการอ้างอิง:

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.kingrama2found.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=199:2015-01-14-02-31-32&Itemid=612