All posts by นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์

ประชุมวิชาการ ตอน หลังการจัดประชุมวิชาการ

เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมวิชาการ สิ่งที่ผู้จัดควรดำเนินการหลังจากนั้น คือ feedback ของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นการประเมินผลของการจัดงาน โดยทั่วไปมักจะเป็นแบบสอบถาม สอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม แบบสอบถามอาจจะแจกแก่ผู้เข้าร่วมประชุมและรับหลังจากการจัดงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปถึงผู้เข้าร่วมประชุม
เพื่อตอบแบบสอบถามนั้นกลับมา โดยผู้จัดจะรวบรวมคำตอบซึ่งมักจะเป็นการสอบถามในเรื่องของหัวข้อการจัด ประโยชน์ที่ได้รับในแต่ละหัวข้อ การบรรยายของวิทยากร ความเหมาะสมของเนื้อหา ความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สถานที่และอาหาร หัวข้อที่ต้องการให้จัดครั้งต่อไป และความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ต้องการให้ผู้จัดรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป Continue reading ประชุมวิชาการ ตอน หลังการจัดประชุมวิชาการ

ประชุมวิชาการ ตอน เอกสารประกอบการบรรยาย

การจัดงานประชุมวิชาการโดยทั่วไป มักจะมีการจัดทำเป็นหนังสือประชุมวิชาการ ซึ่งถ้าเป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการอาจจะยังมีอยู่ แต่การจัดทำหนังสือจะทำให้เกิดภาระงานในเรื่องของการติดตามผลงานหรือการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่าน การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา มีค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ และสุดท้ายอาจจะเป็นการเก็บไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด Continue reading ประชุมวิชาการ ตอน เอกสารประกอบการบรรยาย

ประชุมวิชาการ ตอน วันจริง

เมื่อวันประชุมวิชาการมาถึง เพียงแต่ดำเนินการตามคิวหรือกำหนดการที่เตรียมไว้แบบ minute by minute ทุกสิ่งอย่างน่าจะเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ แต่เนื่องจากอาจจะเกิดปัญหาที่ผู้จัดไม่อาจควบคุมได้ นั่นเป็นสิ่งที่เป็นต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือเป็นรายกรณีไป Continue reading ประชุมวิชาการ ตอน วันจริง

Digi-parenting คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิทัล

โวดาโฟน นิวซีแลนด์ (บริษัทด้านโทรคมนาคม) ร่วมมือกับเน็ตเซฟ (องค์การเพื่อความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต) และเดอ พาเรนทิง เพลซ (องค์กรด้านครอบครัว) เปิดตัวเว็บไซต์ “Digi-parenting” เพื่อให้ข้อมูลความรู้ คำแนะนำ รวมถึงเคล็ดลับแก่พ่อแม่ในการดูแลให้ลูกใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

พ่อแม่ยุคดิจิทัล ควรเข้าไปดูค่ะ ที่ https://digi-parenting.co.nz/

รายการอ้างอิง

สำนักข่าวไทย. Digi-parenting คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิตอลดูแลลูก. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 จาก http://www.tnamcot.com/content/289710

ประชุมวิชาการ ตอน เตรียมความพร้อมก่อนวันจริง

ก่อนจะถึงวันงานประชุมวิชาการ ควรมีการเตรียมความพร้อมโดยนัดประชุมคณะทำงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องในแต่ละฝ่าย โดยแจ้งความพร้อมหรือการเตรียมการในแต่ละส่วนที่รับผิดชอบ เพื่อจะได้ตรวจสอบว่ายังมีรายการใด หรือเรื่องใด ที่ยังไม่เรียบร้อยหรือยังต้องการประสานงานหรือความช่วยเหลือจากฝ่ายอื่นๆ สมทบ

การเตรียมความพร้อมก่อนวันงานและในว้นจัดงาน ควรจัดทำกำหนดการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแบบ minute by minute เพื่อเป็น Check list และเป็นการกำหนดคิวงานในแต่ละขั้นตอน เสมือนเป็นตัวกำกับคิวงาน ผู้ที่คอยดูแลงานในภาพรวมสามารถใช้แบบฟอร์มนี้เป็นตัวช่วยได้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือเกิดให้น้อยที่สุด จากตัวอย่างที่ให้มานี้ เป็นการกำหนดโดยคร่าวๆ เท่านั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ค่ะ เมื่อถึงวันจริงเพียงแต่ดำเนินการให้เป็นไปตามคิวที่วางไว้ อาจจะมีเหตุการณ์ที่นอกเหนือบางอย่างเกิดขึ้นหรือมีปัญหา เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเก็บไว้เป็นบทเรียนในการจัดงานครั้งต่อไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ประชุมวิชาการ ตอน ก่อนมีเรื่อง
ประชุมวิชาการ ตอน เมื่อได้หัวข้อ
ประชุมวิชาการ ตอน เขียนโครงการ 
ประชุมวิชาการ ตอน สถานที่จัดการประชุม
ประชุมวิชาการ ตอน การประชาสัมพันธ์
ประชุมวิชาการ ตอน การลงทะเบียน
ประชุมวิชาการ ตอน วันจริง
ประชุมวิชาการ ตอน เอกสารประกอบการบรรยาย
ประชุมวิชาการ ตอน หลังการจัดประชุมวิชาการ

ประชุมวิชาการ ตอน การลงทะเบียน

เมื่อประชาสัมพันธ์การจัดประชุมวิชาการไประยะหนึ่ง และเริ่มมีการลงทะเบียนเข้ามาในระบบ  แต่จะถือว่าเป็นการลงทะเบียนจริง ต่อเมื่อมีการโอนเงินค่าลงทะเบียนเข้าบัญชีที่แจ้งไว้ ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลหรือสถานะการลงทะเบียนเฉพาะในส่วนของผู้ลงทะเบียนเองเท่านั้น ผู้จัดบางหน่วยงาน เปิดเผยรายชื่อของผู้ลงทะเบียนคนอื่นๆ ด้วย ซึ่งควรต้องมีความระมัดระวังในส่วนนี้ว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ควรนำมาเปิดเผย เนื่องจาก อาจจะมีข้อมูลอื่นๆ ของผู้สมัคร เช่น อีเมล หรือเบอร์โทรศัพท์ รวมอยู่ด้วย  Continue reading ประชุมวิชาการ ตอน การลงทะเบียน

ประชุมวิชาการ ตอน การประชาสัมพันธ์

เมื่อได้ดำเนินการขออนุมัติโครงการจัดประชุมวิชาการจากต้นสังกัดแล้ว งานในลำดับต่อไป ก็คือ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจสมัครเข้าร่วมประชุมวิชาการ

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ได้แก่

  1. การจัดทำเว็บไซต์งานประชุมวิชาการ โดยการเปิดเว็บไซต์ประชุมวิชาการขึ้นมาอีก 1 เว็บไซต์ เข้าถึงได้จากหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัด เพื่อให้สามารถเข้ามาอ่านรายละเอียดต่างๆ เช่น ข้อมูลของโครงการ วิธีการลงทะเบียน เงื่อนไขการชำระค่าลงทะเบียน เป็นต้น และใช้เว็บไซต์นั้น เป็นช่องทางการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลที่ทันสมัยระหว่างผู้จัดและผู้สมัครประชุมวิชาการ โดยเป็นช่องทางการลงทะเบียน ตรวจสอบสถานภาพการลงทะเบียน กำหนดการฉบับล่าสุด การดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเว็บไซต์นี้จะถูกเก็บเพื่อเป็นประวัติของการจัดประชุมวิชาการในแต่ละปี
  2. การประชาสัมพันธ์ผ่าน Social media
  3. การส่งเมลไปยังกลุ่มหรือบุคคลต่างๆ
  4. การส่งจดหมายเชิญประชุม พร้อมแนบโครงการ ผ่านไปรษณีย์ ไปยังผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ
  5. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์

เนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ประชุมวิชาการ ตอน ก่อนมีเรื่อง
ประชุมวิชาการ ตอน เมื่อได้หัวข้อ
ประชุมวิชาการ ตอน เขียนโครงการ
ประชุมวิชาการ ตอน สถานที่จัดการประชุม
ประชุมวิชาการ ตอน การลงทะเบียน
ประชุมวิชาการ ตอน เตรียมความพร้อมก่อนวันจริง
ประชุมวิชาการ ตอน วันจริง
ประชุมวิชาการ ตอน เอกสารประกอบการบรรยาย
ประชุมวิชาการ ตอน หลังการจัดประชุมวิชาการ 

การศึกษาไทยมีแอบแฝงยาพิษ 8 อย่าง

รศ. ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ ชี้การศึกษาไทยมีแอบแฝงยาพิษ 8 อย่าง อันตรายเทียบได้กับ “ปรอท” เพราะให้เด็กไทยตายลงช้าๆ ซึ่งต้องแก้ปัญหาร่วมกันทั้งครู พ่อแม่ สังคม และสื่อ พร้อมเสนอว่าทักษะวิชาชีพ และทักษะ 4C จะช่วยให้เด็กไทยปลอดยาพิษ ในงาน 100 ปี ชาตกาล ศ. ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 6 “การศึกษากับยาพิษแอบแฝง” ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://thaipublica.org/2015/09/varakorn-14-9-2558/

 

12 ข้อที่ ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) ต้องการจากห้องสมุดยุคใหม่

พบบทความ “12 Things Digital Natives Want From A Library” เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2013 คงจะไม่ช้าเกินไปถ้าจะนำมาสรุปต่อ

ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) เป็นกลุ่มคนที่เกิดและเติบโตมากับเทคโนโลยีดิจิทัล มีความคุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต มีการแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ Digitally Born และ Evolving Digizen

  • Digitally Born เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 14-17 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม เช่น Line และ Social network
  • Evolving Digizen เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี กลุ่มนี้จะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล เข้า Social network เพื่อสื่อสารระหว่างกลุ่มและ Facebook ติดตามข่าวสารทาง Blog กลุ่มนี้มีการใช้อินเทอร์เน็ตหลากหลายกว่ากลุ่มแรก

Continue reading 12 ข้อที่ ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) ต้องการจากห้องสมุดยุคใหม่

ประชุมวิชาการ ตอน สถานที่จัดการประชุม

การหาสถานที่จัดการประชุม ควรหาให้ได้ก่อนที่จะเขียนโครงการและก่อนการประชาสัมพันธ์โครงการออกไป เนื่องจาก สถานที่จัดงาน เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาเข้าร่วมประชุมวิชาการ กล่าวคือ

  • สถานที่จัดเป็นต่างจังหวัด ประเด็นนี้นอกเหนือจากค่าลงทะเบียนแล้วยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทาง ที่พัก อีกด้วย ยิ่งถ้าไม่ได้มีการตั้งงบประมาณไว้ก่อน อาจจะทำให้ต้องตัดการเข้าร่วมประชุมวิชาการนี้ไป แม้ว่าหัวข้อจะน่าสนใจมากก็ตาม หรืออาจจะสามารถมอบหมายผู้เข้าร่วมประชุมได้เพียงคนเดียว หรือสองคนเป็นอย่างมาก การเดินทางไปประชุมต่างจังหวัดนี้ในระยะหลังๆ จะเห็นว่าใช้บริการเดินทางด้วยรถตู้ เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มาได้พร้อมกันหลายๆ คน และใช้โอกาสในระหว่างการเดินทาง ท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ตามระยะทางไปด้วย
  • สถานที่จัดอยู่ในเส้นทางการคมนาคมที่ไม่สะดวกในการเดินทาง เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่้ต้องนำมาเป็นประเด็นในการเลือกหาสถานที่ การเดินทางไปมา ไม่สะดวก จะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมใช้เวลาในการเดินทาง และเข้าประชุมสาย หรือจะกลับก่อน เพราะเผื่อเวลาเดินทางกลับ ปัจจุบันการเลือกสถานที่/โรงแรมที่จัดมักจะพยายามหาบริเวณที่มีรถไฟฟ้า หรือรถไฟใต้ดิน ไปถึงหรือต่อการเดินทางได้อย่างสะดวก

Continue reading ประชุมวิชาการ ตอน สถานที่จัดการประชุม