Tag Archives: การดูแลรักษาข้อมูลดิจิทัล

ทักษะห้าอันดับแรกที่จำเป็นสำหรับบรรณรักษ์ในวันนี้และวันพรุ่งนี้ (TOP FIVE SKILLS REQUIRED FOR LIBRARIANS TODAY & TOMORROW )

ร็อบ คอร์เรา (Rob Corrao) ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ LAC Group ได้นำเสนอการจัดอันดับทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ในปัจจุบันและอนาคตห้าอันดับแรก ได้แก่

  1. การจัดการสารสนเทศ (Information Curation)
    เนื่องจากบทบาทแรกของห้องสมุดทุกประเภทคือ การจัดการสารสนเทศ
    ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้อง พัฒนาตามสารสนเทศที่มีปริมาณและความหลากหลายมากขึ้น
    บรรณารักษ์จึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในขั้นตอนการประเมินและการจัด
    ความสำคัญของสารสนเทศเช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่และแบ่ง ประเภทของสารสนเทศให้ง่ายต่อการสืบค้นและการใช้งาน
  2. การวิจัย (In-Depth, High Value Research)
    สภาพแวดล้อมของสารสนเทศดิจิทัลส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่บนกระบวนทัศน์ “การค้นหาด้วยตนเอง” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ส่งผลกระทบต่อบรรณารักษ์ การค้นหาสิ่งที่จำเป็นและต้องการสำหรับผู้บริโภคและผู้ใช้สารสนเทศเป็นสิ่งท้าทาย ซึ่งจะทำให้บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อการจัดการทรัพยากร
  3. การดูแลรักษาข้อมูลดิจิทัล (Digital Preservation)
    ที่ผ่านมาห้องสมุดดำเนินการกับทรัพยากรของห้องสมุดที่อยู่ในรูปเล่ม เช่น หนังสือ นิตยสาร  แผนที่  ฯลฯ   ปัจจุบันทรัพยากรมีลักษณะเป็นดิจิทัล และอยู่ในรูปแบบ “ e” มากขึ้น  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บรรณารักษ์ต้องรู้วิธีการดูแลรักษา จัดการกับทรัพยากรที่เป็นดิจิทัล รวมถึงต้องมีความคุ้นเคยกับระบบและเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการนั้นด้วย
  4. สภาพแวดล้อมแบบมือถือ ( Mobile Environment)
    บรรณารักษ์ต้องคุ้นเคยและมีความรู้เกี่ยวสภาพแวดล้อมแบบมือถือ
    ทักษะของบรรณารักษ์ในการใช้โทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกับแท็ปเล็ตและ
    สมาทโฟนจะช่วยให้รู้ข้อจำกัดและจุดแข็ง สามารถนำไปสร้างระบบ
    สารสนเทศของห้องสมุด การเข้าใจข้อดีข้อเสียของระบบการประมวลผล
    แบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) สามารถใช้เป็นข้อแนะนำต่อผู้มี
    อำนาจตัดสินใจในการประยุกต์การจัดการสารสนเทศและการดูแลรักษา
    ข้อมูลดิจิทัล
  5. การร่วมมือ การสอน และการอำนวยความสะดวก (Collaboration, Coaching and Facilitation)
    บรรณารักษ์จะต้องกลายเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการอำนวยความสะดวก ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ต่อการจัดซื้อสารสนทศและงบประมาณด้านสารสนเทศ บรรณารักษ์ต้องให้ความสำคัญมากขึ้นต่อบทบาทการสอน / การอำนวยความสะดวก / การฝึกอบรม โดยการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดหาข้อมูลภายนอกและวิธีการที่ดีที่สุดในการใช้ข้อมูล บรรณารักษ์จะมีคุณค่ามากขึ้นโดยการร่วมมืออย่างแข็งขันด้านการจัดการและภาวะผู้นำภายในองค์กรที่เขาทำงานอยู่

บรรณารักษ์ที่นำทักษะเหล่านี้มาใช้จะทำให้สามารถอยู่ในอาชีพบรรณารักษ์อย่างมีความสุข เพิ่มความสามารถและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณค่าและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลที่สำคัญ

 

สรุปความจาก:

Corrao, Rob. “Top Five Skills Required for Librarians Today & Tomorrow.” lac-group. http://lac-group.com/blog/2013/08/06/top-five-skills-required-for-librarians-today-tomorrow/ (accessed May 9, 2015)