All posts by นางจันทนา มากมิตร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวารสาร ตอนที่ 1: ลักษณะของวารสาร

วารสาร (Journal หรือ Periodical) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ วารสารจึงมีลักษณะเป็นเล่มปลีก (Single issue) มีหมายเลขประจำเล่ม (Number) ที่ออกต่อเนื่องกันไป วารสารหลายๆ เล่มปลีกรวมกันเป็น volume ดังนั้นวารสาร 1 volume จึงอาจมีเล่มปลีกกี่เล่มก็ได้
ในปีหนึ่งๆ วารสารอาจจัดพิมพ์ 1 volume หรือหลายๆ volume ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายการจัดพิมพ์ของแต่ละสำนักพิมพ์และจำนวนบทความวารสาร (Article) ที่สำนักพิมพ์ได้รับว่ามีมากน้อยเพียงใด

กำหนดออกของวารสาร มีต่าง ๆ กัน เช่น รายสัปดาห์ (Weekly)  รายปักษ์ (Biweekly) สัปดาห์ละสองครั้ง (Semiweekly หรือ Twice a week) รายเดือน (Monthly) รายสองเดือน (Bimonthly) เดือนละสองครั้ง (Semimonthly)  รายสามเดือน (Quarterly หรือ Four times a year) ปีละ1 ฉบับ (Annual) ปีละ 2 ฉบับ (Twice a year) ปีละ3 ฉบับ (Three times a year) ตลอดจนมีกำหนดออกไม่แน่นอน (Irregularly) Continue reading เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวารสาร ตอนที่ 1: ลักษณะของวารสาร

ทักษะห้าอันดับแรกที่จำเป็นสำหรับบรรณรักษ์ในวันนี้และวันพรุ่งนี้ (TOP FIVE SKILLS REQUIRED FOR LIBRARIANS TODAY & TOMORROW )

ร็อบ คอร์เรา (Rob Corrao) ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ LAC Group ได้นำเสนอการจัดอันดับทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ในปัจจุบันและอนาคตห้าอันดับแรก ได้แก่

  1. การจัดการสารสนเทศ (Information Curation)
    เนื่องจากบทบาทแรกของห้องสมุดทุกประเภทคือ การจัดการสารสนเทศ
    ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้อง พัฒนาตามสารสนเทศที่มีปริมาณและความหลากหลายมากขึ้น
    บรรณารักษ์จึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในขั้นตอนการประเมินและการจัด
    ความสำคัญของสารสนเทศเช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่และแบ่ง ประเภทของสารสนเทศให้ง่ายต่อการสืบค้นและการใช้งาน
  2. การวิจัย (In-Depth, High Value Research)
    สภาพแวดล้อมของสารสนเทศดิจิทัลส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่บนกระบวนทัศน์ “การค้นหาด้วยตนเอง” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ส่งผลกระทบต่อบรรณารักษ์ การค้นหาสิ่งที่จำเป็นและต้องการสำหรับผู้บริโภคและผู้ใช้สารสนเทศเป็นสิ่งท้าทาย ซึ่งจะทำให้บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อการจัดการทรัพยากร
  3. การดูแลรักษาข้อมูลดิจิทัล (Digital Preservation)
    ที่ผ่านมาห้องสมุดดำเนินการกับทรัพยากรของห้องสมุดที่อยู่ในรูปเล่ม เช่น หนังสือ นิตยสาร  แผนที่  ฯลฯ   ปัจจุบันทรัพยากรมีลักษณะเป็นดิจิทัล และอยู่ในรูปแบบ “ e” มากขึ้น  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บรรณารักษ์ต้องรู้วิธีการดูแลรักษา จัดการกับทรัพยากรที่เป็นดิจิทัล รวมถึงต้องมีความคุ้นเคยกับระบบและเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการนั้นด้วย
  4. สภาพแวดล้อมแบบมือถือ ( Mobile Environment)
    บรรณารักษ์ต้องคุ้นเคยและมีความรู้เกี่ยวสภาพแวดล้อมแบบมือถือ
    ทักษะของบรรณารักษ์ในการใช้โทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกับแท็ปเล็ตและ
    สมาทโฟนจะช่วยให้รู้ข้อจำกัดและจุดแข็ง สามารถนำไปสร้างระบบ
    สารสนเทศของห้องสมุด การเข้าใจข้อดีข้อเสียของระบบการประมวลผล
    แบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) สามารถใช้เป็นข้อแนะนำต่อผู้มี
    อำนาจตัดสินใจในการประยุกต์การจัดการสารสนเทศและการดูแลรักษา
    ข้อมูลดิจิทัล
  5. การร่วมมือ การสอน และการอำนวยความสะดวก (Collaboration, Coaching and Facilitation)
    บรรณารักษ์จะต้องกลายเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการอำนวยความสะดวก ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ต่อการจัดซื้อสารสนทศและงบประมาณด้านสารสนเทศ บรรณารักษ์ต้องให้ความสำคัญมากขึ้นต่อบทบาทการสอน / การอำนวยความสะดวก / การฝึกอบรม โดยการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดหาข้อมูลภายนอกและวิธีการที่ดีที่สุดในการใช้ข้อมูล บรรณารักษ์จะมีคุณค่ามากขึ้นโดยการร่วมมืออย่างแข็งขันด้านการจัดการและภาวะผู้นำภายในองค์กรที่เขาทำงานอยู่

บรรณารักษ์ที่นำทักษะเหล่านี้มาใช้จะทำให้สามารถอยู่ในอาชีพบรรณารักษ์อย่างมีความสุข เพิ่มความสามารถและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณค่าและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลที่สำคัญ

 

สรุปความจาก:

Corrao, Rob. “Top Five Skills Required for Librarians Today & Tomorrow.” lac-group. http://lac-group.com/blog/2013/08/06/top-five-skills-required-for-librarians-today-tomorrow/ (accessed May 9, 2015)

 

ลักษณะภาวะผู้นำสำหรับผู้นำของห้องสมุดในอนาคต (Leadership Qualities for Future Library Leaders)

คาโรล เอ. เบรย์ คาเซียโน (Carol A. Brey-Casiano) ผู้อำนวยการห้องสมุด  El Paso Public Library ได้เสนอแนวคิด ลักษณะภาวะผู้นำสำหรับผู้นำของห้องสมุดในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย 10 ขั้นที่จะเป็นผู้นำห้องสมุดที่ดี ดังนี้

ขั้นที่ 1 หาที่ปรึกษาที่ดี (Find a good mentor)

หาที่ปรึกษาที่สามารถให้ความรู้ในงานที่ทำ ในงานด้านการบริหารจัดการ นอกจากนั้นที่ปรึกษายังทำให้เรารู้ความสามารถของตัวเราเอง คอยกระตุ้นและให้แรงดลใจที่จะทำงานหรือปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

ขั้นที่ 2 เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ตามเสียก่อน (Learn how to follow first)

เราไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำและให้คนอื่น ๆ มาทำตามได้ ถ้าเราไม่รู้วิธีการที่จะปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าเราจะมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแต่เรายังมีคนที่อยู่เหนือกว่าที่ต้องปฏิบัติตาม และในขณะเดียวกันก็มีคนที่อยู่ภายใต้การปกครองของเราที่คาดหวังในตัวเรา เราจึงต้องเรียนรู้วิธีที่จะปฏิบัติตามผู้นำอื่น ๆ  ถ้าเราต้องการความสำเร็จ Continue reading ลักษณะภาวะผู้นำสำหรับผู้นำของห้องสมุดในอนาคต (Leadership Qualities for Future Library Leaders)

การบริหารการเปลี่ยนแปลงการบอกรับวารสารภาษาต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วารสารวิชาการภาษาต่างประเทศ เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับใช้สนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ผลงานการวิจัย ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ  ดังนั้นในแต่ละปีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้จัดสรรงบประมาณกว่า 20 ล้านในการดำเนินงานบอกรับวารสารทางวิชาการภาษาต่างประเทศเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนบุคลากรของมหาวิทยาลัย Continue reading การบริหารการเปลี่ยนแปลงการบอกรับวารสารภาษาต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Ibid., op. cit., Loc. cit มีความหมายอย่างไร

บ่อยครั้งในการเขียนผลงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นบทความวารสาร รายงาน วิทยานิพนธ์ รวมถึงรายงานวิจัย เรามักจะหาข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเขียนผลงานจากรายการอ้างอิงท้ายบทความวารสาร ท้ายบท/ท้ายเล่มหนังสือ ตลอดจนรายการอ้างอิงแบบเชิงอรรถซึ่งมักจะอยู่ด้านล่างของหน้าหนังสือ

อักษรย่อ Ibid., Op. cit.  และ  Loc. Cit.  นั้น ส่วนใหญ่จะพบในรายการอ้างอิงแบบเชิงอรรถซึ่งจะอยู่ส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษของหนังสือหรือเอกสารวิชาการ โดยอักษรย่อของแต่ละคำมีความหมายดังนี้

Ibid. (ไอ-บิด) ย่อมาจากภาษาลาตินคำว่า ibidem แปลว่า ในเรื่องเดียวกัน (อ้างถึงหนังสือ บท หรือหน้าหนังสือที่อ้างไปแล้ว) อักษรย่อนี้จะถูกใช้ในกรณีอ้างรายการเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำโดยไม่มีรายการเชิงอรรถอื่นมาคั่น กรณีเป็นภาษาไทยใช้คำว่า “เรื่องเดียวกัน”  ดังตัวอย่าง

1Walter F. Taylor, History of American Letters (New York: American Book Co., 1936), pp. 15-20
2Ibid. pp. 100-105.
3Ibid. p. 130.
4จรูญ สุภาพ, ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2532), น. 29.
5เรื่องเดียวกัน, น. 38-41. 

op. cit. (ออพ-ซิท)  ย่อมาจากภาษาลาตินคำว่า opere citato อักษรย่อนี้จะถูกใช้ในกรณีอ้างรายการเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำแต่มีรายการเชิงอรรถอื่นมาคั่น กรณีเป็นภาษาไทยใช้คำว่า “เรื่องเดิม”  ดังตัวอย่าง

1Wilbur Schramm, The Process and Effects of Mass Communication, (Urbana: University of Illinois Press, 1974), p. 23.
 2เสถียร เชยประทับ, การสื่อสารและการพัฒนา (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525), น. 20.
3Schramm, op. cit., pp. 35-40.
4เสถียร เชยประทับ, เรื่องเดิม, น. 30.

Loc. ciit. (ลอค-ซิท)  ย่อมาจากภาษาลาตินคำว่า loco citato อักษรย่อนี้จะถูกใช้ในกรณีอ้างรายการเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำทั้งหมดซึ่งหมายรวมถึงต้องอ้างเลขหน้า (page) ของเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำด้วย โดยจะมีรายการเชิงอรรถอื่นมาคั่นหรือไม่มีก็ได้ กรณีเป็นภาษาไทยใช้คำว่า “เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน” ดังตัวอย่าง

1Nancy M. Tichler, Tennessee Williams: Rebellious Puritan (New York: Citade Press, 1961), pp. 5-6.
2loc. cit.
3Walter Kerr, Pieces at Eight (New York: Simon and Schuster, 1957), p. 125.
4Tichler, loc. cit.
5สถิต นิยมญาติ, สังคมวิทยาการเมือง (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2524), น. 9-10.
6เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน.
7กมล สมวิเชียร, วัฒนธรรมการเมืองไทยกับการพัฒนาทางการเมือง (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2541), น. 35-70.
8สถิต นิยมญาติ, เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน.

2015 ASEAN Integration : Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines

 

01

2015 ASEAN Integration: Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines เป็นหัวข้อเรื่องที่นำเสนอในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel สาธารณรัฐเกาหลี โดย Sharon Maria S. Esposo-Betan ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ College of Engineering Libraries, University of the Philippines โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและบรรณารักษศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ Continue reading 2015 ASEAN Integration : Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines