มารู้จักวิธีค้นคว้าราชกิจจานุเบกษา
ราชกิจจานุเบกษาจัดพิมพ์ขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมราชวังเมื่อพุทธศักราช 2401 เป็นต้นมา ปัจจุบันจัดพิมพ์โดยสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร่
ข้อมูลในราชกิจจานุเบกษาแบ่งได้ 4 ประเภท
- ประเภท ก ฉบับกฎษฎีกา เป็นประกาศเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสังของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ
- ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร เป็นการประกาศเกี่ยวกับการสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสรยภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ
- ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท และบริษัทมหาชนจำกัด
- ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นประกาศเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภทก ประเภท ข และประเภท ค ใช้อักษรย่อ “ง” ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ง วันทื่ 28 มีนาคม 2557 ตัวอย่างข้อมูลในประเภทนี้ เช่นประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค ใช้อักษรย่อ ง ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ง วันที่ 1 มกราคม 2549 ราชกิจจานุเบกษาแต่ละประเภท อาจกำหนดออกตอนพิเศษตามความจำเป็น เช่น เล่ม 123 ตอนพิเศษ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549