Tag Archives: การสืบค้น

ห้องสมุด หาอะไรก็ไม่เจอ … จริงหรอ

Error

เคยมั้ยเข้าห้องสมุดมาหาอะไรก็ไม่เคยเจอ หรือค้นแล้วเจอมากมายจนไม่รู้จะเลือกใช้อะไรดี? วันนี้ผมจะมาคืนความสุขให้ทุกคนด้วยการแนะนำให้รู้จักการสืบค้นแบบง่ายๆ ตามสไตล์ของแอดกัน ด้วย Keywords & Limit search

เริ่มต้นเราจะกำหนด Keywords เพื่อใช้เป็นคำค้นก่อน เช่น Marketing strategy / Marine Law / การจัดการเชิงกลยุทธ์ / ศูนย์การค้า เป็นต้น จะเห็นว่า Keywords ที่ผมใช้มีลักษณะเป็นคำสั้นๆ ไม่ใช่ประโยคยาวๆ >> ถ้าค้นหาด้วยประโยคยาวๆ จะได้ผลการค้นหาน้อย หรืออาจจะไม่เจออะไรเลย <<

Continue reading ห้องสมุด หาอะไรก็ไม่เจอ … จริงหรอ

Search Talk กับ PICOT

จากกิจกรรม Search Talk เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา สมาชิก Digital Literacy CoP และ Training the Trainers ได้เข้าร่วมกิจกรรมในการสืบค้นจากโจทย์ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นแบบฝึกหัดให้ฝึกฝน โดย อาจารย์ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ ของ Search Talk คือ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสืบค้น คำถามเป็นคำถามซึ่งหน้า ต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าทันทีทันใด  เราพยายามรู้อะไร ไม่รู้อะไร เพื่อจะได้เรียนรู้ ว่าเราจะทำอย่างไร

อาจารย์ได้ส่งโจทย์มาให้ก่อนที่จะมาพบกันในชั้นเรียนจริง โจทย์ที่อาจารย์ส่งมาให้ คือ

“มีวิธีการใดบ้างที่จะพัฒนาทักษะการเขียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี?”

เป้าหมายของการสืบค้น ก็คือให้ได้ set ของผลงานที่มีความสมดุลย์ระหว่าง precision กับ recall มากที่สุด กล่าวคือ ได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการและมีจำนวนไม่มากและน้อยเกินไป อาจารย์ให้แต่ละทำแบบฝึกหัดกันมาก่อน โดยต้องบันทึกข้อมูลระหว่างการสืบค้น ได้แก่ Continue reading Search Talk กับ PICOT

วิธีสืบค้นหนังสืออนุสรณ์งานศพ

ชื่อเรื่องของหนังสืออนุสรณ์งานศพนั้นมีหลากหลาย ยกตัวอย่างกรณีงานพระราชทานเพลิงศพ นิยมใช้ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย :

  • อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • งานพระราชทานเพลิงศพ
  • ฯลฯ

จะเห็นได้ถึงความหลากหลายของการใช้ชื่อเรื่อง ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเข้าถึงหนังสือที่ต้องการด้วยการสืบค้นจากชื่อเรื่อง

ข้อแนะนำในการค้นหาหนังสืออนุสรณ์งานศพที่มีให้บริการอยู่ในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ได้รวดเร็วที่สุดคือ ควรสืบค้นจาก “หัวเรื่อง” ที่เป็นชื่อของผู้เสียชีวิต โดยสามารถค้นจาก “ชื่อพร้อมนามสกุล” หรือ “นามสกุล ตามด้วย (นาม)”

ตัวอย่างเช่น :  สืบค้นจากหัวเรื่อง “คงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์” ผลที่ได้จะแสดงชื่อ นามสกุล ปีเกิด ปีเสียชีวิต  “คงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์, 2483-2553” เลขเรียกหนังสือ “CRE 2011 638230” หรือหากจำชื่อไม่ได้ จำได้แค่นามสกุล ก็สามารถสืบค้นจากหัวเรื่อง “ลิ่วมโนมนต์ (นาม)” ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน

…………เชื่อว่าการค้นหาหนังสืออนุสรณ์งานศพเล่มที่ท่านต้องการในครั้งต่อไปจะง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้นแน่นอน

การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การสืบค้นข้อมูลออนไลน์

ด้วยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่และนักวิจัย ของคณะรัฐศาสตร์ เรื่อง การสืบค้นและการอ้างอิงข้อมูลด้านการวิจัย ในวันที่ 23 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ และการใช้โปรแกรม EndNote ในการเขียนรายการบรรณานุกรม วิทยากรนำทีมโดย คุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ และมีผู้ช่วย 2 คนได้แก่ คุณเจนจิรา อาบสีนาค และคุณบุษยา เฟื่องประเสริฐ

S__3997703                                  S__3997704        
Continue reading การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การสืบค้นข้อมูลออนไลน์

ค้นราชกิจจานุเบกษาง่ายนิดเดียว

มารู้จักวิธีค้นคว้าราชกิจจานุเบกษา

 11081153_421779674647043_6229564396015280683_n

ราชกิจจานุเบกษาจัดพิมพ์ขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมราชวังเมื่อพุทธศักราช 2401 เป็นต้นมา ปัจจุบันจัดพิมพ์โดยสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร่

ข้อมูลในราชกิจจานุเบกษาแบ่งได้ 4 ประเภท

  • ประเภท  ฉบับกฎษฎีกา เป็นประกาศเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสังของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ
  • ประเภท ฉบับทะเบียนฐานันดร เป็นการประกาศเกี่ยวกับการสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสรยภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ
  • ประเภท ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท และบริษัทมหาชนจำกัด
  •  ประเภท  ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นประกาศเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภทก ประเภท ข และประเภท ค ใช้อักษรย่อ “ง” ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ง วันทื่ 28 มีนาคม 2557  ตัวอย่างข้อมูลในประเภทนี้ เช่นประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค ใช้อักษรย่อ ง ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ง วันที่ 1 มกราคม 2549 ราชกิจจานุเบกษาแต่ละประเภท อาจกำหนดออกตอนพิเศษตามความจำเป็น เช่น เล่ม 123 ตอนพิเศษ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549

Continue reading ค้นราชกิจจานุเบกษาง่ายนิดเดียว

หาได้ไว หาได้เจอ

หนังสือที่ให้บริการในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหลากหลายประเภท มีทั้งหนังสืออ้างอิง  วารสาร  หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์  วิจัย เป็นต้น หนังสือมากมายเหล่านี้ จะหาพบได้อย่างไร

หอสมุดปรีดีฯ มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการบริหารจัดการฐานข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่มี เพราะฉะนั้น การค้นหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่ต้องการนั้น จึงต้องค้นหาหรือสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดฯ ดังกล่าว

การหาหนังสือในระบบห้องสมุดฯ ของหอสมุดปรีดีฯ มีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. เข้าที่ http://main.library.tu.ac.th/tulib2013/ หรือ https://koha.library.tu.ac.th
  2. ใส่คำค้น ในช่องสืบค้น เช่น ต้องการค้นด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หรือคำสำคัญ ฯลฯ ซึ่งถ้าค้นด้วยชื่อเรื่อง หรือชื่อผู้แต่ง จะเป็นกรณีที่ทราบชื่อมาอย่างแน่นอนแล้ว กรณีที่ไม่ทราบว่าจะชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สามารถค้นได้ด้วยคำสำคัญ (keyword)  ซึ่งสามารถค้นได้แบบพื้นฐาน (basic search) และค้นแบบขั้นสูง (Advanced search)
  3. ขอยกตัวอย่าง วิธีการค้นหา ด้วยชื่อเรื่องที่เราต้องการ เช่น  พิมพ์คำว่า กาแฟ ลงไปในช่อง title (ชื่อเรื่อง)  แล้วคลิก ระบบจะประมวลผลออกมาเป็นรูปแบบดังภาพ ให้สังเกต 4 จุดตามหมายเลขดังนี้56
    หมายเลย 1
    Item Type   หมายถึง ชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น Book,  Theses , Reference เป็นต้น
    หมายเลข 2
    Library หมายถึง ห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศให้บริการหมายเลย 3 Call number หมายถึง เลขเรียกหนังสือหมายเลข 4 Status หมายถึง สถานะของทรัพยากร ถ้าเป็น Available พร้อมให้บริการ (หนังสืออยู่ที่ชั้น ไม่ได้ถูกยืม) แต่ถ้าเป็น Checked out แปลว่า หนังสือถูกยืมออกไป เป็นต้น

    จากตัวอย่างข้างต้น หนังสือเล่มนี้ มีเลขหมู่ คือ  TX911.3.ค36 จ624 จัดเป็นประเภทหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่ชั้น U3 (ดูแผนผังของชั้นหนังสือว่าอยู่ที่ชั้นใดของห้องสมุด) ให้ไปยังชั้นหนังสือและหาเลขหมู่ที่ค้นได้ (จากตัวอย่าง คือ TX911.3.ค36 จ624) จากระบบ

    กรณีที่หาตัวเล่มหรือหนังสือไม่พบ  ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ให้บริการ เพื่อขอให้ติดตามตัวเล่มต่อไป