Category Archives: 04-Green Library CoP

ห้องสมุดสีเขียว/การจัดการสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน

4 ป.ประหยัดพลังงาน

ใครที่ยังช็อคกับค่าไฟเดือนล่าสุดไม่หาย อยากให้มาอ่านนี่เลยจ้า เรามีวิธีที่จะช่วยประหยัดพลังงานและช่วยลดค่าไฟได้แบบง๊ายง่าย ที่เรียกว่า 4 ป.ประหยัดพลังงานมาฝากครับ

1.ป. ปิด ก็คือ ปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ อันนี้แน่นอนว่าทุกคนถ้าจะประหยัดพลังงานก็คือ ไม่ต้องใช้พลังงาน ปิด เมื่อไม่ใช้งาน เช่น ปิดสวิชไฟ แอร์หรือว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ค่อยเปิดอีกครั้งเมื่อต้องการใช้งาน
2.ป.ปลด ก็คือ ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเมื่อเราเลิกใช้งาน เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคลื่นรีโมททุกชนิด เช่น ทีวีหรือเครื่องเสียง ทุกครั้งที่เราปิดแล้วแต่ที่ตัวเครื่องยังมีไฟสีแดงติดอยู่นั่นหมายถึง เครื่องยังอยู่ในโหมดพร้อมใช้งาน จึงยังกินไฟอยู่ ที่ชัวร์ คือต้องปลดปลั๊กออกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
3.ป.ปรับ ปรับอุณหภูมิแอร์ มาตรฐานทั่วไปที่เรารู้กันดีคือการปรับอุณหภูมิไปที่ 25 องศา เราจะเย็นสบาย
4.ป.เปลี่ยน เปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าๆที่อาจจะเคยซื้อมานานแล้ว รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เปลี่ยนใหม่ให้เป็นของดีมีคุณภาพ ที่สำคัญมีฉลากระหยัดไฟเบอร์ 5 แค่นี้ก็จะทำให้เราประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวันได้ง่ายๆครับ

การสร้างจิตสำนึก

ปีนี้ภัยแล้งเริ่มต้นเร็ว และกำลังเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น ถึงอย่างนั้นความต้องการใช้น้ำ ก็ดูเหมือนจะไม่มีวันน้อยลง หากเราไม่ช่วยกันประหยัด ใช้น้ำอย่างไม่รู้คุ้มค่าตั้งแต่วันนี้ อาจจะถึงวันที่น้ำหมดไปในไม่ช้า พอพูดถึงเรื่องการประหยัดน้ำ  ผมคิดว่าทุกคนในองค์กรหอสมุดฯ คงรู้กันดี จากสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ข่าวหน้าจอทีวี และอื่นๆ การประหยัดน้ำนั้น มีวิธีการมากมายหลายแบบ เพื่อนำมาปรับใช้กับองค์กรของเรา แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องมีและขาดไม่ได้เลย คือการสร้างจิตสำนึกการประหยัดน้ำ   

การสร้างจิตสำนึกร่วมกันของคนในองค์กรจะนำไปสู่การใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ปลูกฝังรู้คุณค่าของน้ำ ทำให้เกิดวินัยในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้การประหยัดน้ำในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม

การไม่มองข้ามปัญหา และร่วมกันแก้ไข พัฒนาจากต้นทุนที่มี จะสามารถต่อยอดพัฒนาไปยังด้านอื่นๆ ได้ เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านเพื่อเติบโต ปัญหาเรื่องน้ำ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ปลูกฝังคุณค่าของน้ำ เมื่อมีการจัดการน้ำที่ดี ผู้บริโภคมีจิตสำนึกร่วมรักษา ปัญหาขาดแคลนน้ำก็จะไม่เกิดขึ้น นากยกสุวรรณ อบต.อีเซ ได้กล่าวไว้

ทำไมเราต้องทำ iso14001

ถ้าพูดถึงมาตรฐานการรับรองคุณภาพสินค้าและบริการตามหลัก ISO 9001 หรือ 9002 หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อพูดถึง “ISO 14001” หลายคนอาจจะสงสัยว่า ISO 14001 คืออะไร เป็นมาตรฐานการรับองคุณภาพหรือไม่ และมีประโยชน์อย่างไร…?

ISO คืออะไร
ISO (International Organization for Standardization) เป็นองค์กรมาตรฐานสากลระหว่างประเทศที่ว่าด้วย “มาตรฐานระหว่างประเทศ” เกี่ยวกับสินค้าและบริการขององค์กรและหน่วยงานจากทั่วโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 ที่กรุงเจ้าเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อจัดระเบียบการค้า รวมถึงพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานของสินค้าและบริการระหว่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล และตัวเลขที่ต่อท้าย ISO นั้นเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงแนวทางและวิธีการบริหารองค์กรที่แตกต่างกันออกไป

ISO 14001 คืออะไร
ISO 14001 คือ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental management System) ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากหน่วยงานและองค์กรทั่วโลก โดยเป็นการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการพัฒนาธุรกิจ และเน้นเรื่องของการป้องกันมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดต้นทุนการผลิตในธุรกิจ

หลักการสำคัญของ ISO 14001
1. การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy)
2. การวางแผน (Planning)
3. การนำไปปฏิบัติและการดำเนินการ (Implementation & Operation)
4. การตรวจสอบและการปฏิบัติการแก้ไข (Checking & Corrective Action)
5. การทบทวนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Management Review & Continual Improvement)

ประโยชน์ของ ISO 14001
ในการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไปใช้ควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจนั้น ไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์กับองค์กรหรือหน่วยงานเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันแก้ไขและรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ทั้งยังได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจในคุณภาพขององค์กรหรือหน่วยงานอีกด้วย

ดังนั้น ISO 14001 จึงเป็นมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรหรือหน่วยงานทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาธุรกิจแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลอีกด้วย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการจัดการผลประโยชน์ทางธุรกิจควบคู่ไปกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างนั่นเอง

พลาสติกแบบไหน นำมาขายเพื่อรีไซเคิลได้

หอสมุดรักษ์สิ่งแวดล้อมวันนี้ขอเสนอ พลาสติกแบบไหน นำมาขายเพื่อรีไซเคิลได้

พลาสติกมีหลายประเภท และนำมาใช้ผลิตสินค้ามากมายที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุง กล่อง ท่อ แผ่นฟิล์ม ภาชนะรองรับอาหาร เครื่องแต่งกาย ของใช้อื่นๆ มากมาย

พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์มาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบ กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกเริ่มต้นจากการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดเล็กซึ่งได้จากกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบมาทำปฏิกิริยากันจนได้เป็นสายโซ่ยาว เรียกว่าโพลิเมอร์ โดยโพลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้นี้ จะถูกนำไปขึ้นรูปเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป Continue reading พลาสติกแบบไหน นำมาขายเพื่อรีไซเคิลได้

เอกสาร SDS คืออะไร?

ในปัจจุบันการนำสารเคมีต่างๆ มาใช้ภายในหอสมุดฯ อาทิเช่น หมึกพิมพ์ น้ำยาต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลิตในอุตสาหกรรม สารเคมี มีทั้งคุณ และโทษ และหากสารเคมีถูกนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่มีหนังสือรับรองความปลอดภัย บุคลากรขาดความรู้ ความสามารถในการควบคุมดูแล ก็อาจจะทำให้เกิดความสูญเสีย ทั้งชีวิต และทรัพย์สินได้ ดังนั้นวันนี้ ผุ้เขียน จะมาอธิบายความสำคัญ ของเอกสารชนิดหนึ่ง ที่ชาวหอสมุดฯ จำเป็นต้องรู้จัก เอกสาร SDS เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดจากการใช้สารเคมีในในอาคาร
Safety Data Sheet (SDS) หรือในบางครั้งเรียกว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) นั้น หมายถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย ได้กำหนดรูปแบบและข้อมูลใน SDS ไว้ 16 หัวข้อ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้

Continue reading เอกสาร SDS คืออะไร?

การแยกขยะอันตราย

ขอแสดงความดีใจย้อนหลังอีกครั้ง กับอีกหนึ่งความสำเร็จของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รับการรับรอง ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน iso14001:2015 หน่วยงานแรกของ มธ.และเป็นห้องสมุดที่เดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติถึงสองมาตรฐาน คือระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน iso9001:2015 และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม iso14001:2015 ในส่วนของงานอาคาร อยากจะมาขอความร่วมมือจากชาวหอสมุดฯ มธ. เพิ่มเติม ในเรื่องของการบริหารจัดการขยะอันตราย นอกจาก หมึก น้ำมันเครื่อง สารเคมี ที่เราช่วยกันจัดการอยู่แล้วนั้น ยังมี ปากกา แผ่นซีดี ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อท่านใช้หมดแล้ว หรือชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้งานต่อได้ โปรดช่วยกัน เก็บรวบรวมไปไว้ในกล่องเก็บขยะอันตราย ก่อนนำส่งให้งานอาคารครับ เพียงเท่านี้ ชาวหอสมุดฯ มธ. ก็มีส่วนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมแล้วครับ

นับถอยหลังวันงดแจกถุงพลาสติก

วันนี้ก็มีเรื่องราวดีๆ มาฝากครับ เรื่องมีอยู่ว่า ร้านสะดวกซื้อที่เรารู้จักกัน รวมถึงห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ด้วย เขาเริ่มนับวันงดแจกถุงพลาสติกแล้วนะ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ตามร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ทั่วประเทศ เป็นต้นไป เพื่อขานรับนโยบายของภาครัฐ พร้อมเชิญชวนคนไทยลดใช้ถุงพลาสติกอย่างจิงจัง เพื่อร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากข่าวนี้ ก็หวังว่าชาวหอสมุด เมื่อต้องซื้อของจากร้านสะดวกซื้อ พวกเราคงจะยืดอกพกถุง(ผ้า) เอาไว้ใส่ของอย่างมัน่ใจกันนะครับ มานับวันรอเลยครับได้ใช้ถุงผ้ากันแน่นอน

เครดิต : https://techsauce.co/news/7-eleven-no-plastic

 

อายุการย่อยสลายขยะ

ชาวหอสมุดฯ มธ. เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ ของที่เราใช้กันอยู่และกลายเป็นขยะในภายหลังนั้น แต่ละชนิดมีอายุการย่อยสลายกี่ปีบ้าง ถ้าอยากรู้ไปดูกันเลย

เศษกระดาษ                               2 – 5 เดือน
เปลือกส้ม                                     6 เดือน
ถ้วยกระดาษเคลือบ                          5 ปี
ก้นบุหรี่                                         12 ปี
รองเท้าหนัง                                25 – 40 ปี
โลหะ, กระป๋องอะลูมิเนียม             80 – 100 ปี
ถุงพลาสติก                                  450 ปี
ผ้าอ้อมเด็กชนิดสำเร็จรูป                  500 ปี
โฟม                                  ใช้เวลานานมาก ระบุไม่ได้

 

เครดิต : https://www.trueplookpanya.com/infographic/detail/13/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%20%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0

สัญญาลักษณ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ (ตอนที่ 2)

สวัสดีชาวหอสมุดฯ ห่างหายกันไปนานกับสัญญาลักษณ์พลาสติก ใครที่อ่านบอกเพื่อนข้างๆ ทีตอนที่ 2 ออกแล้วนะ ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับเพื่อนๆ ที่ได้ของรางวัลจากการตอบปัญหาสิ่งแวดล้อม งั้นเรามาต่อกับเรื่องของเรากันดีกว่า

เบอร์ 4 หมายถึง โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับนำมาเป็นถุงเย็น ถุงใส่อาหารแช่แข็ง เพราะมีความยืดหยุ่นสูง เหนียว ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี พลาสติกชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะบรรจุอาหารร้อน พลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำสามารถนำมารีไซเคิลเป็น ถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม

เบอร์ 5 หมายถึง โพลิโพรพิลีน (PP) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับทำถุงร้อนบรรจุอาหาร หรือผลิตกล่องบรรจุอาหารสำหรับนำเข้าไมโครเวฟ เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ทนสารเคมี และสามารถใช้งานกับอุณหภูมิที่สูงถึง 175 องศาเซลเซียส พลาสติกชนิดโพลิโพรพิลีน สามารถนำมารีไซเคิลเป็น กล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง

เบอร์ 6 หมายถึง โพลิสไตรีน (PS) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับทำเป็น โฟม กล่อง ถ้วย และจาน เนื่องจากง่ายต่อการขึ้นรูป สามารถพิมพ์สีสัน และลวดลายให้สวยงามได้ และสามารถใช้งานกับอุณหภูมิตั้งแต่ -10 องศาเซลเซียส ถึง 80 องศาเซลเซียส พลาสติกชนิดโพลิสไตรีน สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

เบอร์ 7 หมายถึงสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกอื่น ๆ (OTHER) หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิด

เครดิต : https://home.kapook.com/view74326.html

หอสมุดฯ รับการตรวจ State 1 เพื่อขอรับรอง ISO 14001:2015

75604026_2565786203468032_7673187532204408832_oคณะผู้บริหารหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดฯ ให้การต้อนรับ นางสาวธิดารัตน์ ประยูรพรหม ผู้ตรวจประเมินจาก บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับการตรวจประเมินจากภายนอก State 1 เพื่อขอการรับรอง ISO 14001:2015 มีกำหนดการระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคม 2562 แบ่งเป็น วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เป็นการตรวจประเมิน ณ ท่าพระจันทร์ และวันที่ 30 ตุลาคม 2562 เป็นการตรวจประเมิน ณ มธ.ศูนย์รังสิต Continue reading หอสมุดฯ รับการตรวจ State 1 เพื่อขอรับรอง ISO 14001:2015