Category Archives: อาชีวอนามัย

ทำไมเราต้องทำ iso14001

ถ้าพูดถึงมาตรฐานการรับรองคุณภาพสินค้าและบริการตามหลัก ISO 9001 หรือ 9002 หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อพูดถึง “ISO 14001” หลายคนอาจจะสงสัยว่า ISO 14001 คืออะไร เป็นมาตรฐานการรับองคุณภาพหรือไม่ และมีประโยชน์อย่างไร…?

ISO คืออะไร
ISO (International Organization for Standardization) เป็นองค์กรมาตรฐานสากลระหว่างประเทศที่ว่าด้วย “มาตรฐานระหว่างประเทศ” เกี่ยวกับสินค้าและบริการขององค์กรและหน่วยงานจากทั่วโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 ที่กรุงเจ้าเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อจัดระเบียบการค้า รวมถึงพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานของสินค้าและบริการระหว่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล และตัวเลขที่ต่อท้าย ISO นั้นเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงแนวทางและวิธีการบริหารองค์กรที่แตกต่างกันออกไป

ISO 14001 คืออะไร
ISO 14001 คือ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental management System) ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากหน่วยงานและองค์กรทั่วโลก โดยเป็นการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการพัฒนาธุรกิจ และเน้นเรื่องของการป้องกันมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดต้นทุนการผลิตในธุรกิจ

หลักการสำคัญของ ISO 14001
1. การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy)
2. การวางแผน (Planning)
3. การนำไปปฏิบัติและการดำเนินการ (Implementation & Operation)
4. การตรวจสอบและการปฏิบัติการแก้ไข (Checking & Corrective Action)
5. การทบทวนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Management Review & Continual Improvement)

ประโยชน์ของ ISO 14001
ในการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไปใช้ควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจนั้น ไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์กับองค์กรหรือหน่วยงานเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันแก้ไขและรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ทั้งยังได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจในคุณภาพขององค์กรหรือหน่วยงานอีกด้วย

ดังนั้น ISO 14001 จึงเป็นมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรหรือหน่วยงานทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาธุรกิจแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลอีกด้วย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการจัดการผลประโยชน์ทางธุรกิจควบคู่ไปกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างนั่นเอง

พลาสติกแบบไหน นำมาขายเพื่อรีไซเคิลได้

หอสมุดรักษ์สิ่งแวดล้อมวันนี้ขอเสนอ พลาสติกแบบไหน นำมาขายเพื่อรีไซเคิลได้

พลาสติกมีหลายประเภท และนำมาใช้ผลิตสินค้ามากมายที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุง กล่อง ท่อ แผ่นฟิล์ม ภาชนะรองรับอาหาร เครื่องแต่งกาย ของใช้อื่นๆ มากมาย

พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์มาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบ กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกเริ่มต้นจากการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดเล็กซึ่งได้จากกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบมาทำปฏิกิริยากันจนได้เป็นสายโซ่ยาว เรียกว่าโพลิเมอร์ โดยโพลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้นี้ จะถูกนำไปขึ้นรูปเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป Continue reading พลาสติกแบบไหน นำมาขายเพื่อรีไซเคิลได้

เอกสาร SDS คืออะไร?

ในปัจจุบันการนำสารเคมีต่างๆ มาใช้ภายในหอสมุดฯ อาทิเช่น หมึกพิมพ์ น้ำยาต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลิตในอุตสาหกรรม สารเคมี มีทั้งคุณ และโทษ และหากสารเคมีถูกนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่มีหนังสือรับรองความปลอดภัย บุคลากรขาดความรู้ ความสามารถในการควบคุมดูแล ก็อาจจะทำให้เกิดความสูญเสีย ทั้งชีวิต และทรัพย์สินได้ ดังนั้นวันนี้ ผุ้เขียน จะมาอธิบายความสำคัญ ของเอกสารชนิดหนึ่ง ที่ชาวหอสมุดฯ จำเป็นต้องรู้จัก เอกสาร SDS เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดจากการใช้สารเคมีในในอาคาร
Safety Data Sheet (SDS) หรือในบางครั้งเรียกว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) นั้น หมายถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย ได้กำหนดรูปแบบและข้อมูลใน SDS ไว้ 16 หัวข้อ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้

Continue reading เอกสาร SDS คืออะไร?

การแยกขยะอันตราย

ขอแสดงความดีใจย้อนหลังอีกครั้ง กับอีกหนึ่งความสำเร็จของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รับการรับรอง ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน iso14001:2015 หน่วยงานแรกของ มธ.และเป็นห้องสมุดที่เดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติถึงสองมาตรฐาน คือระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน iso9001:2015 และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม iso14001:2015 ในส่วนของงานอาคาร อยากจะมาขอความร่วมมือจากชาวหอสมุดฯ มธ. เพิ่มเติม ในเรื่องของการบริหารจัดการขยะอันตราย นอกจาก หมึก น้ำมันเครื่อง สารเคมี ที่เราช่วยกันจัดการอยู่แล้วนั้น ยังมี ปากกา แผ่นซีดี ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อท่านใช้หมดแล้ว หรือชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้งานต่อได้ โปรดช่วยกัน เก็บรวบรวมไปไว้ในกล่องเก็บขยะอันตราย ก่อนนำส่งให้งานอาคารครับ เพียงเท่านี้ ชาวหอสมุดฯ มธ. ก็มีส่วนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมแล้วครับ

นับถอยหลังวันงดแจกถุงพลาสติก

วันนี้ก็มีเรื่องราวดีๆ มาฝากครับ เรื่องมีอยู่ว่า ร้านสะดวกซื้อที่เรารู้จักกัน รวมถึงห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ด้วย เขาเริ่มนับวันงดแจกถุงพลาสติกแล้วนะ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ตามร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ทั่วประเทศ เป็นต้นไป เพื่อขานรับนโยบายของภาครัฐ พร้อมเชิญชวนคนไทยลดใช้ถุงพลาสติกอย่างจิงจัง เพื่อร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากข่าวนี้ ก็หวังว่าชาวหอสมุด เมื่อต้องซื้อของจากร้านสะดวกซื้อ พวกเราคงจะยืดอกพกถุง(ผ้า) เอาไว้ใส่ของอย่างมัน่ใจกันนะครับ มานับวันรอเลยครับได้ใช้ถุงผ้ากันแน่นอน

เครดิต : https://techsauce.co/news/7-eleven-no-plastic

 

อายุการย่อยสลายขยะ

ชาวหอสมุดฯ มธ. เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ ของที่เราใช้กันอยู่และกลายเป็นขยะในภายหลังนั้น แต่ละชนิดมีอายุการย่อยสลายกี่ปีบ้าง ถ้าอยากรู้ไปดูกันเลย

เศษกระดาษ                               2 – 5 เดือน
เปลือกส้ม                                     6 เดือน
ถ้วยกระดาษเคลือบ                          5 ปี
ก้นบุหรี่                                         12 ปี
รองเท้าหนัง                                25 – 40 ปี
โลหะ, กระป๋องอะลูมิเนียม             80 – 100 ปี
ถุงพลาสติก                                  450 ปี
ผ้าอ้อมเด็กชนิดสำเร็จรูป                  500 ปี
โฟม                                  ใช้เวลานานมาก ระบุไม่ได้

 

เครดิต : https://www.trueplookpanya.com/infographic/detail/13/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%20%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 1

งานอาคารหอสมุดฯ ในฐานะที่ทำเรื่องการประหยัดพลังงานภายในอาคารอยากขอเชิญชวนชาวหอสมุดมาร่วมกันทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานกันเถอะครับ โดยวันนี้เราจะมาว่าด้วย “มาตรการลดการใช้กระดาษ” มีอะไรบ้างหนอมาดูกันดีกว่า
– นำกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า กลับมาใช้ใหม่สำหรับเอกสารที่ไม่สำคัญภายในหน่วยงาน
– เอกสารที่มีแบบฟอร์มชัดเจนไม่ควรพิมพ์เก็บไว้ ควรเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ โดยประชาสัมพันธ์การเข้าถึง
– หันมาใช้ช่องทางเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
– ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ลดการใช้กระดาษ และพลังงานในการผลิตได้มาก
– อ่านเอกสารแล้วส่งต่อกันในสำนักงาน แทนการถ่ายสำเนาหลายๆ ชุด
– เลือกใช้กระดาษรีไซเคิลหรือกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อ Ecofiber เพื่อช่วยลดมลภาวะ
เรื่องง่ายๆ แค่นี้ชาวหอสมุดฯ ทำได้อยู่แล้ว……
substance6-3img

วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย

ช่วงนี้ชาวหอสมุดฯ กำลังขมักเขม้นในการทำคู่มือ ISO 14001 ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ผมในฐานะที่เป็นผู้ร่วมทำกับเขาด้วย จึงอยากมาแนะวิธีการคัดแยกขยะอันตราย โดยสังเกตง่ายๆ จากฉลาก หรือ ภาพสัญลักษณ์ที่ติดบนภาชนะบรรจุ เช่น Continue reading วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย

พลาสติกในตัวเรา

ช่วงนี้มีแต่ข่าวปัญหามลพิษจากพลาสติกที่เกิดขึ้นมากมาย เช่น แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคมีขนาดเท่าประเทศฝรั่งเศสแล้ว ยังมีข่าว พะยูน กับโลมา ในประเทศไทยตายเพราะมีพลาสติกอยู่ในท้องอีก ล่าสุดมาเรียม พะยูนน้อยชื่อดัง ขวัญใจชาวไทย-ชาวเน็ตทั่วโลก จากไปแล้ว หลังเกิดภาวะช็อกบวกกับกินพลาสติกเข้าไปจนอุดตันลำไส้ และติดเชื้อในกระแสเลือด เชื่อกันไหมประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก

download aHR0cHM6
Continue reading พลาสติกในตัวเรา

เที่ยวอย่างไรถึงเรียกว่ารักโลกรักสิ่งแวดล้อม

1.พกขวดน้ำไปเอง เพื่อลดปริมาณขยะจากการซื้อน้ำดื่ม
2.พกแบตเตอรี่แบบรีชาร์ตได้ นอกจากจะเบากระเป๋าเพราะไม่ต้องหอบถ่านไปเยอะแล้ว ยังเป็นการช่วยลดขยะและลดมลพิษด้วย
3.อย่าแบกสมบัติไปเยอะ กฎเหล็กของนักเดินทางขั้นโปรฯ คือ “เดินทางเบาๆ” น้ำหนักสัมภาระที่ขนไปมากเกินความจำเป็นนั้นก็ยังไปกินน้ำหนักเครื่องบิน-รถ-เรือให้ใช้พลังงานเผาผลาญมากขึ้น จัดว่า”ไม่เป็นมิตร” กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน
4.ควรเช่าจักรยานขี่เที่ยว แทนที่จะเหมารถสองแถวหรือสามล้อเที่ยวรอบเมือง ถ้ามีตัวเลือกของจักรยานก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะทั้งช่วยลดมลพิษและได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกต่างหาก เฮลตี้สุดๆ
5.ปิดไฟ-ปิดแอร์ทุกครั้งที่ออกจากห้องพัก ถึงแม้ว่าสมัยนี้เกือบทุกโรงแรมจะมีระบบตัดไฟทันทีที่ประตูห้องปิดจากด้านนอก (ลูกค้าออกจากห้องพัก) แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่มีระบบนี้ ฉะนั้นทุกครั้งที่เราจะออกจากห้องพัก เอื้อมมือไปกดปิดสวิตช์ไฟสักนิด มันก็ไม่ยากอะไรกันใช่ไหม?
6.ขยะของเราเก็บเอามาทิ้งที่ถัง ไม่ว่าจะเป็นถุงขนม ถุงพลาสติก ใดๆ ที่เราพกไป แกะซองแกะห่อแล้วก็ทิ้งลงถังขยะให้เรียบร้อย ในกรณีที่ไม่มีถังขยะ (บนเกาะหรือบนเขาที่ไปเที่ยว) ก็ขอให้เก็บกลับมาด้วย เพื่อเอามาทิ้งที่ถังขยะในเมือง แบบนี้ซิถึงเรียกว่าเที่ยวแบบอีโค่ตัวจริง!

เครดิต : https://www.skyscanner.co.th/news/tips/easy-ways-for-eco-tourism