โรคประสาท (Neurosis)

บางครั้งมีหลายคนเคยถามว่า “บ้าหรือเปล่า” หรืออีกหลายคำที่กล่าว “ประสาทหรือเปล่า” ล้วนแต่เป็นคำที่ผู้เขียนชวนคิด โดยครั้งหนึ่งมีพี่ร่วมงานท่านหนึ่งได้กล่าวว่า “แกสิประสาท” (เป็นคำที่ ผรุสวาท ออกมามากกว่านี้ไม่สามารถเขียนออกสื่อได้) ผู้เขียนจึงมาหาสาเหตุที่พี่คนดังกล่าวได้เอ่ยวาจาเช่นนั้นออกมาว่า เป็นตัวเราหรือเปล่าที่เป็นเช่นนั้น ผู้เขียนจึงค้นหาข้อมูลของคำว่า โรคประสาท และได้เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้จึงอยากจะนำเสนอโดยคัดลอกบทความทางวิชาการมาให้ท่านๆ ได้อ่านและวิเคราะห์ว่าเราๆ ท่านๆ อยู่ในกลุ่มนี้หรือเปล่า

โรคประสาทคือโรคที่มีอาการเครียด วิตกกังวลง่าย เป็นอาการเด่น ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้ตัวเองว่าผิดปกติ และอยากรักษาให้หาย อาการมักเกิดตั้งแต่อายุน้อย (ผู้เขียนว่าแก่ๆ นะตัวดี)
อาการ
1. อารมณ์เครียด วิตกกังวลเกินกว่าปกติ
2. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานมากกว่าปกติ มีอาการ ใจเต้น ใจสั่น แน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย
3. อาการของระบบกล้ามเนื้อ มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก-เกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัวเหมือนถูกบีบ
4. ความคิดซ้ำซากวนเวียน คิดในทางร้าย มองโลกในแง่ร้าย กลัวล่วงหน้า กลัวในสิ่งที่ไม่น่ากลัว

ประเภทของโรคประสาท
1. โรคประสาทวิตกกังวล (Anxiety Neurosis)
2. โรคประสาทซึมเศร้า (Depressive Neurosis)

การดำเนินของโรค
โรคนี้มักเป็นตั้งแต่อายุน้อย เรื้อรังต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ถ้าไม่ได้รับการรักษา

การรักษา
1. การใช้ยา เพื่อลดอาการในระยะแรก ยาที่ใช้เป็นยาในกลุ่มยาลดความวิตกกังวล หรือยาคลายเครียด ยานอนหลับ
2. การรักษาทางจิตใจ มีหลายวิธี ได้แก่
จิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง ยอมรับในปัญหาของตน และมีการเปลี่ยนแปลงในตนเอง เพื่อให้ไม่เกิดความเครียด
พฤติกรรมบำบัด ฝึกให้รู้จักการจัดการกับความเครียด   การคลายความเครียดด้วยตนเอง การลดอาการทางร่างกายจากความเครียด
การบำบัดทางความคิด ฝึกให้รู้จักคิดดี คิดเป็น มองโลกในแง่ดี ไม่กังวลล่วงหน้าเกินกว่าเหตุ ตั้งเป้าหมายในชีวิตที่เป็นจริง
ไบโอฟีดแบ็ค เป็นการฝึกให้หาวิธีผ่อนคลายตนเอง โดยมีการรับรู้ได้ตลอดเวลาถึงระดับความเครียดของตนเอง

3.การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

จัดสิ่งแวดล้อมให้ผ่อนคลาย ไม่เร่งรีบเกินไป จัดงานให้พอสมควรไม่มากเกินกำลัง มีธรรมชาติแวดล้อม แบ่งเวลาให้มีการผ่อนคลาย มีกิจกรรมสนุกสนานสลับ มีการพักผ่อนเพียงพอ

การป้องกัน
1. การเลี้ยงดูเด็กให้มีพัฒนาการดี ไม่ปกป้องจนเกินไป หรือ ปล่อยให้เด็กเผชิญความเครียดรุนแรงเกินไป
2. การฝึกเด็กให้เผชิญปัญหาตามวัยอันควร

และในที่สุดผู้เขียนได้เข้าใจว่าโรคประสาทคงไม่เกิดกับตัวผู้เขียนอาจจะมีนิดๆ แต่ไม่มาก แต่พอมามองรอบข้างจึงเข้าใจว่าพี่ที่ร่วมงานกับผู้เขียนน่าจะเข้าข่ายตามบทความนี้ รบกวนถือหูโทรศัพท์แล้วโทรไปปรึกษาที่คลินิคจิต-ประสาท โทร. 0-2243-2142 0-2668-9435 ไม่ต้องอายครับโรคประสาทรักษาได้ถ้าเรามีสติ

อ้างอิงบทความ
พนม เกตุมาน. ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม “โรคประสาท (Neurosis)” สืบค้นเมื่อวันที่   23 มีนาคม  2558 จาก
http://www.psyclin.co.th/new_page_2.htm