เทคนิคการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ก่อนการขับขี่อย่างปลอดภัย

 เชื่อว่าเพื่อนๆ หรือพี่ๆ และน้องๆ ทุกท่านที่เป็นบุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ล้วนขี่รถจักรยานยนต์เป็นกันทุกคน

ทั้งขับขี่ในละแวกที่พักอาศัย ขับขี่มาทำงาน หรือขับขี่ในกิจกรรมอื่นๆ

แต่การขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่นนั้นเป็นอย่างไร  มีวิธีปฏิบัติแบบไหน ลองติดตามอ่านในบทความต่อไปนี้เลยดีกว่า

10301181_10152204469766275_6890626366293496851_n

****พึงระลึกอยู่เสมอว่า ก่อนที่จะขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ควรสวมหมวกกันน๊อคทุกครั้งเพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา*****

เริ่มต้นก่อนการขับขี่ 

ท่านั่งขับขี่มอเตอร์ไซด์ที่ถูกต้องนั้นจะทําให้การขับขี่ง่ายขึ่น นั่งตัวตรงให้หลังตรง เงยหน้าขึ้น วางเท้าทั้งสองข้างไว้บนที่เหยียบใกล้กับอุปกรณ์ควบคุมเก็บข้อศอกและเข่าแนบไว้และผ่อนคลายสบายๆ   วางข้อมือให้ราบเรียบกับคันเร่งไม่ต้องเกร็ง ใช้นิ้วมือกํารอบๆ คันเร่งและพร้อมที่จะใช้เบรกได้หากต้องการหยุดรถหรือชะลอความเร็ว

สวมเครื่องป้องกันให้ครบถ้วน หลังจากที่คุณนั่งอย่บนมอเตอร์ไซด์แล้ว ตรวจดูสิ่งเหล่านี้ก่อนเคลื่อนรถออกไป คลัตช์และคันเร่ง ต้องแน่ใจว่าทํางานได้อย่างราบเรียบนุ่มนวล คันเร่งควรจะหมุนกลับมาที่ตําแหน่งเดิม หลังจากที่บิดแล้วปล่อยมือผ่อนคันเร่ง คลัตช์เมื่อปีบและนุ่มนวลต้องแน่น แรงเสียดทานคือตําแหน่งที่คันคลัตช์เริ่มทํางานเพื่อส่งกําลังขับเคลื่อนผ่านไปยังล้อหลัง จนกระทั่งปล่อยคลัตช์เต็มที่คือจุดที่เครื่องยนต์ส่ง กําลังขับเคลื่อนผ่านไปยังล้อหลังมากที่สุด

****การฝึกใช้คลัตซ์เพื่อให้เกิดความชํานาญในช่วงที่คลัตซ์ทํางานเป็นการพัฒนาผู้ขับขี่ออกรถได้อย่างนุมนวลจากจุดที่รถหยุดอยู่

ทั้งนี้ เมื่อจะเปลี่ยนเกียร์  ต้องให้แน่ใจว่าความเร็วของรถสัมพันธ์เพียงพอกับการจะลดสู่เกียร์ตํ่า หรือเกียร์สูง มิฉะนั้นรถจะเซถลาลื่นไถลหรือกำลังรถไม่เพียงพอได้     เวลาขี่ลงเนินหรือจะลดเกียร์ ควรจะใช้เบรคเพื่อลดความเร็ว ให้พอเหมาะก่อนเปลี่ยนเกียร์ลง จึงสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างปลอดภัย นุ่มนวล การใช้คลัตซ์อย่างเหมาะสมกับความจําเป็น ต้องทําอย่างนุ่มนวลการเปลี่ยนอย่างกะทันหันอาจจะทําให้เกิดอาการล้อตายและลื่นไถลได้

**และในปัจจุบัน รถจักรยานยนตร์รุ่นใหม่ๆนิยมผลิตเป็นระบบเกียร์อัติโนมัติ ซึ่งทำให้การขับขี่สะดวกสบายมากขึ้น

กระจก ต้องเช็ดให้สะอาดและปรับให้อยู่ในตําแหน่งที่มองเห็นด้านหลังได้ถนัดก่อนที่ จะออกรถ อย่าขับรถด้วยมือข้างเดียวขณะที่มืออีกข้างกําลังปรับกระจกอยู่ ปรับที่ละข้างเพื่อกระจกให้มองเห็น ถนนด้านหลังและช่องทางเดินรถด้านข้างให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ กระจกอาจจะมองเห็นบางส่วน ของแขนและไหล่ของคุณ แต่ให้จําไว้ว่าถนนด้านหลังและถนนด้านข้างสําคัญที่สุด

1419214250698

10592672_10152451765396275_767000735119283622_n

เบรก พยายามใช้ทั้งเบรกเบรกหน้าและเบรกหลังในเวลาเดียวกัน หากต้องการหยุดต้องตรวจดูให้ แน่ใจก่อนว่าเบรกจะสามารถหยุดรถได้เวลาที่ต้องการหยุด

การใช้เบรค รถจักยานยนต์มีเบรคอยู่สองตําแหน่ง อันแรกคือเบรคที่ล้อหน้า อีกอันคือล้อหลัง ควรใช้เบรคทั้งสองชนิดในเวลาเดี่ยวกัน เบรคหน้าจะมีกําลังในการหยุดรถมากกว่าซึ่งให้ผลเป็ น 3 ใน 4 ส่วนของกําลังเบรคที่ใช้ในการหยุดรถ เบรคล้อหน้าจะให้ความปลอดภัยได้ดีหากใช้เบรคหน้าอย่างถูกวิธี

ข้อควรจํา : ควรใช้เบรคพร้อมกันทั้งล้อหน้าและล้อหลังเมื่อต้องการลดความเร็วหรือหยุดรถ ใช้เบรคทั้งสองแม้แต่ในเวลาหยุดปรกติ จะเป็นการฝึกตัวเองจนเกิดเป็นนิสัยติดตัวในการเบรคหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

การใช้เบรคอย่างเดียวไม่ว่าจะเป็นเบรคหน้าหรือเบรค หลังทําให้เกิดอาการล้อล๊อคซึ่งจะเกิดปัญหาในการควบคุมรถ ถ้ารู้เทคนิคในการใช้เบรคทั้งสองชนิดและฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้ว การเบรคขณะเลี้ยวก็ย่อมจะทําได้

แตรรถ ลองบีบแตรดูว่ามันดังและใช้งานได้หรือไม่ เพราะแตรรถคืออุปกรณ์ที่สามารถช่วยบอกสถานะ ตำแหน่ง แจ้งเตือน หรืออื่นๆเพื่อให้ผู้ร่วมทางบนท้องถนนทราบถึงตำแหน่งของเราและอีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ช่วยเตือนในการขับขี่ให้แก้ผู้ร่วมทางอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ควรใช้แตรรถมากจนเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน

10710225_10152541830131275_8699496614890499260_o

ตรวจสภาพยาง  และลมยาง  ยางรถจักรยานยนตร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่ยึดเกาะพื้นผิวถนน ทั้งในสภาวะปกติคือผิวถนนที่แห้ง หรือในสภาวะไม่ปกติ คือผิวถนนขรุขระหรือเปียกลื่น  หากยางรถอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งานก็อาจจะนำพาอันตรายมาสู่ผู้ขับขี่ได้ เช่น ยางเก่า หมดสภาพ ยางไม่มีดอกยากเพื่อยึดเกาะถนน ยางบวมเสียรูปทรง หรือยาง ชำรุด แตก เป็นต้น หากตรวจพบยางในลักษณะที่กล่าวมานี้ให้รีบเปลี่ยนยางใหม่ทันทีเพราะอุบัติเหตุที่เกิดจากการที่ยางไม่ยึดเกาะถนนนั้นมักจะรุนแรงเสมอ

และลมยางก็ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่พอดีกับค่ามาตรฐานที่โรงงานผลิตยางกำหนด เช่น รถจักรยานยนตร์ทั่วไปอยู่ที่ประมาณ  30 -32 Ppi(ปอนด์เปอร์อินช์ )หากลมยางอ่อนเกินไปก็สามารถทำให้รถจักรยานยนต์เสียการทรงตัวได้ในขณะขับขี่ และหากลมยางแข็งมากจนเกินไปก็จะทำให้สูญเสียผิวสัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนนเป็นต้น

tryepressure5

 

ตรวจสภาพระบบไฟสัญญาณ และไฟส่องสว่าง  ไฟสัญญาณและไฟส่องสว่างมีความสำคัญมากในการขับขี่รถจักรยานยนตร์ เนื่องจากรถจักรยานยนตร์มีขนาดเล็กทำให้ในบางครั้ง รถยนตร์ อาจจะมองไม่เห็นหรือไม่ทันสังเกต ในเมืองไทยมีกฏหมายที่กำหนดให้รถจักรยานยนตร์ทุกคันต้องเปิดไฟส่องสว่างตลอดเวลาของการขับขี่ ซึ่งจะทำให้เพื่อนร่วมทางสังเดกตหรือมองเห็นรถจักรยานยนตร์ได้ง่ายขึ้น ช่วยลดอุบัติเหตุ หากไฟส่องสว่างของรถจักรยานยนตร์เสียหรือชำรุดจึงต้องรีบแก้ไขนะครับ

ส่วนไฟสัญญาณต่างๆต้องตรวจเช็คทุกครั้งก่อนทำการขับขี่เพราะเป็นการบอกสัญญาณให้เพื่อนร่วมทางทราบว่าเราต้องการจะไปทางใด หรือมีเหตุแจ้งเตือนอะไรข้างหน้า เช่นไฟเลี้ยว ไฟเบรคเป็นต้น

55

 

สุดท้ายนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความไม่ประมาท และมีสติทุกครั้งในขณะขับขี่ ไม่ดื่มของมึนเมาในขณะขับขี่หรืออยู่ในช่วงของการเดินทาง ใช้ความเร็วตามที่กฏหมายกำหนด เคารพกฏจราจร และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมทางก็จะทำให้การขับขี่รถจักรยานยนตร์ของพี่ๆเพื่อนๆน้องๆชาวสำนักหอสมุด ปลอดจากอุบัติเหตุทั้งปวงคร้าบบบบบบ

เชิญรับชมวิดีโอขี่จักรยานยนตร์ท่องเที่ยว

10683610_10152416978716275_8108036002720670463_o

นฤทธิ์ สุวรรณชัย