All posts by นายนฤทธิ์ สุวรรณชัย

Infographics คืออะไร และ นำไปใช้งานอย่างไร

Infographics คืออะไร 

Infographics ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด ( เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน )  และในปัจุบันกำลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Network

ประโยชน์และพลังของ Infographic นั้นมีอยู่มากมาย เพราะด้วยแผนภาพสวยๆนี้ สามารถทำให้คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานำเสนอ ในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน  โดยรูปแบบหรือประเภทของ Infographic ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ๆได้ดังนี้ Continue reading Infographics คืออะไร และ นำไปใช้งานอย่างไร

การรักษาพิษจากแมงกะพรุนเบื้องต้น

ใกล้ถึงเวลาที่ชาวสำนักหอสมุด มธ. จะได้ไปสัมมนาและท่องเที่ยวจ.จันทรบุรี แล้วนะครับ และแน่นอนเลยทีเดียวหลายๆ คนต้องลงเล่นน้ำทะเล วันนี้ผมมีเคล็ดลับในการรักษาพิษของแมงกะพรุนเผื่อบังเอิญพี่ๆ หรือเพื่อนๆ ท่านใดโชคร้ายไปสัมผัสถูกแมงกะพรุนในทะเลเข้าจะได้รักษาได้ทันท่วงที

แทงกะพรุนหลากสี ดูสวยงามแต่แฝงด้วยอันตรายนะครับ
แทงกะพรุนหลากสี ดูสวยงามแต่แฝงด้วยอันตรายนะครับ

 

แมงกะพรุน หรือ Jellyfish เป็นสัตว์ที่ไม่กระดูกสันหลัง วงจรชีวิตน้อยกว่า 1 ปี มีมากกว่า 2,000 ชนิด ขนาดตั้งแต่ตัวเท่าเข็มหมุดไปจนถึงตัวใหญ่กว่าคน กินแพลงก์ตอนจิ๋ว ทั้งแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ รวมทั้งลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน ลักษณะลำตัวใส และอ่อนนิ่ม เหมือนวุ้น ด้านบนมีลักษณะนูนรูปร่างคล้ายร่มหรือระฆังคว่ำ เรียกว่า Medusa มีเส้นหนวดอยู่รอบบริเวณขอบร่ม สำหรับใช้เป็นเครื่องสัมผัสและทรงตัว  แมงกะพรุน ทุกชนิดมีเซลล์ที่เรียกว่า Cnidocyte ที่มีเข็มพิษ (Nematocyst) แต่จะมีระดับความเข้มพิษที่แตกต่างกันไป

Continue reading การรักษาพิษจากแมงกะพรุนเบื้องต้น

ลูกชก ลูกชิด ลูกตาว ต๋าว มะต๋าว ลูกลาน ลูกจาก ลูกตาล มันลูกเดียวกันหรือไม่?

….หน้าร้อนแบบนี้หากได้ลูกชิดหวานๆ ในน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็งเกล็ดหิมะคงจะดีไม่น้อย…..

เมื่อคิดแล้วก็อยากรับประทานขึ้นมาทันที และผมเชื่อว่าพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆชาวสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่มากก็น้อยชอบทานลูกชิดกันแน่นอน และผมก็เชื่ออีกว่าอาจจะมีหลายๆ ท่านไม่รู้จักหน้าตาของลูกชิดว่าเป็นอย่างไร เพราะส่วนใหญ่จะเห็นเมื่อมันพร้อมรับประทาน ปอกมาแล้วขาวๆ ใสๆ สวยๆ อีกทั้งยังมีหลายๆ ท่านแยกไม่ออกระหว่าง  ลูกชก ลูกชิด ลูกจาก ลูกลาน ลูกตาล ว่าต่างกันอย่างไร

บทความนี้เขียนเพื่อไขข้อข้องใจให้กับพี่ๆ เพื่อนๆ ชาวสำนักหอสมุด เกี่ยวกับ ลูกชก ลูกชิด ลูกตาว ต๋าว มะต๋าว ลูกลาน ลูกจาก ลูกตาล มันลูกเดียวกันหรือไม่ แบบไหนเรียกว่าอะไร หลังจากที่ผมเองก็สับสนอยู่เหมือนกัน เลยนั่งหาข้อมูลมาฝากกัน  จะอธิบายลักษณะของแต่ละชนิดให้ทราบกันนะครับ ก่อนจะอธิบายลักษณะของแต่ละชนิด ขออธิบายเรื่อง ลูกชก และ ลูกชิด กันก่อนครับ Continue reading ลูกชก ลูกชิด ลูกตาว ต๋าว มะต๋าว ลูกลาน ลูกจาก ลูกตาล มันลูกเดียวกันหรือไม่?

เทคนิคการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ก่อนการขับขี่อย่างปลอดภัย

 เชื่อว่าเพื่อนๆ หรือพี่ๆ และน้องๆ ทุกท่านที่เป็นบุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ล้วนขี่รถจักรยานยนต์เป็นกันทุกคน

ทั้งขับขี่ในละแวกที่พักอาศัย ขับขี่มาทำงาน หรือขับขี่ในกิจกรรมอื่นๆ

แต่การขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่นนั้นเป็นอย่างไร  มีวิธีปฏิบัติแบบไหน ลองติดตามอ่านในบทความต่อไปนี้เลยดีกว่า

10301181_10152204469766275_6890626366293496851_n

Continue reading เทคนิคการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ก่อนการขับขี่อย่างปลอดภัย

DIY เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร ( ภาพถ่ายที่ต้องการระยะโฟกัสสั้นมากๆ ) ด้วยกล้องจากสมาร์ทโฟน อย่างง่ายๆ

ในปัจจุบัน ผมเชื่อว่าทุกคนล้วนมีสมาร์ทโฟน หรือโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ หรือมือถือรุ่นใหม่ๆ  กันแทบทุกคน ซึ่งเป็นเหมือนอวัยวะที่  33 ของมนุษย์เราเข้าไปทุกที เพราะมันอำนวยความสะดวกได้สารพัดอย่าง รวมถึงการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรหมแดน การจัดเก็บข้อมูล การเข้าถึงเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตเปิดสู่โลกกว้าง ฯลฯ

และที่มีแถมมากับสมาร์ทโฟนแทบทุกรุ่นคือกล้องถ่ายภาพซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีถ่ายภาพในสมาร์ทโฟนนั้นล้ำหน้าไปไกลมีคุณภาพสูงทีเดียวพักหลังๆ มานี้ผมจึงเริ่มชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องมือถือครับ เพราะด้วยเทคโนโลยีของกล้องมือถือนั้นมีเพิ่มมากขึ้นทั้งความละเอียด,ฟังก์ชั่น,ความคมชัด เรียกว่าถ้าถ่ายกันดีๆ มุมได้ แสงได้ นี่สวยไม่แพ้กล้องโปร DSLR เลยทีเดียว และผมเชื่อว่า ชาวสำนักหอสมุดก็คงเช่นเดียวกัน
สำหรับกล้องมือถือนั้นมีการถ่ายอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจคือการถ่ายมาโครครับ คือการถ่ายภาพแบบโฟกัสเข้าหาวัตถุใกล้เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดขึ้นและเพิ่มมุมมองใหม่ๆที่แปลกตา แต่กล้องมือถือบางรุ่นการถ่ายภาพมาโครนั้น บางทีก็มีอุปสรรคเหมือนกันนั่นก็คือเรื่องของการโฟกัสที่ไม่ค่อยจะได้ดั่งใจสักเท่าไร Continue reading DIY เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร ( ภาพถ่ายที่ต้องการระยะโฟกัสสั้นมากๆ ) ด้วยกล้องจากสมาร์ทโฟน อย่างง่ายๆ

ศาสตร์และศิลป์ของการเจียวไข่

ผมเป็นคนชอบรับประทานไข่เจียว เพราะกลิ่นของไข่เมื่อยามถูกเทลงทอดบนน้ำมันนั้นมันช่างหอมหวลยั่วยวลให้น้ำลายสอยิ่งนัก อีกทั้งเป็นเมนูประหยัดแต่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร จึง มักจะทำเพื่อรับประทานเองอยู่เสมอ

เชื่อว่าชาวสำนักหอสมุดที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปคงเคยฟังเพลงของวงเฉลียง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับไข่เจียว คงนึกภาพออกนะครับ ง่ายแต่ไม่ง่าย ยากแต่ไม่ยาก งงมั้ยครับ ไข่เจียวนั้นดูว่าจะทำไม่ยาก แต่ก็ยากอยู่ในที และดูเหมือนว่าทำง่าย แต่ก็ไม่ง่ายเสมอไป

“เพราะการเจียวไข่เป็นเรื่องของศิลปะนั่นเอง”

บางคนว่า แค่…ใส่ความตั้งใจเข้าไป และแสนสำคัญคือ จริงใจกับไข่…ทว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิทยาศาสตร์ช่วยให้การทอดไข่ “ฟู” ได้ดังใจเช่นกัน Continue reading ศาสตร์และศิลป์ของการเจียวไข่

รู้จักกับโสตทัศนูปกรณ์ (Audio Visual Equipment) ที่จำเป็นต่อการใช้งานในงานโสตทัศนศึกษา

ประเภทเครื่องมือหรือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio Visual Equipment)

ปัจจุบันเราสามารถจำแนกโสตทัศนวัสดุได้เป็น 4 ประเภทคือ

  1. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง
  2. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย
  3. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทการรองรับ การบันทึก การจัดแสดง
  4. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทอื่นๆ ตามสมัย (ดิจิทัล)

Continue reading รู้จักกับโสตทัศนูปกรณ์ (Audio Visual Equipment) ที่จำเป็นต่อการใช้งานในงานโสตทัศนศึกษา

คู่มือการปฏิบัติงาน : การถ่ายภาพเพื่อใช้ในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ (public relations photography)

การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์  เป็นการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับองค์กรต่อบุคคลทั้งภายนอกและภายในองค์กร  แม้ว่าจะยึดหลักแนวคิดความจริงนิยมเช่นเดียวกับการถ่ายภาพข่าว  แต่เป็นความจริงเฉพาะภาพที่สร้างภาพลักษณ์ (image) ด้านบวกต่อองค์กร  ดังนั้นจึงเปลี่ยนจุดเน้นมาที่การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น  เช่น  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   เน้นสีเหลือง-แดง ซึ่งเป็นสีประจำของมหาวิทยาลัย    นอกจากนี้  ยังมีภาพถ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารกิจกรรมในองค์กร  หรือเพื่อเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

2
ภาพอาคารโดมบริหารยามค่ำคืน สวยงดงามด้วยการประดับไฟให้ดูโดดเด่นอลังการ

 

 1. การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์

1.1 ประเภทของภาพประชาสัมพันธ์  แบ่งได้เป็น  3 ประเภท  ดังนี้

1) การถ่ายภาพสถานที่ขององค์กร  อาคารและสถานที่ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร  เนื่องจากเป็นรูปธรรมที่คนภายนอกมองเห็นครั้งแรก  การออกแบบตกแต่งอาคารสถานที่ควรสอดคล้องกับการวางแนวทางขององค์กร  เช่น  หากวางแนวทางขององค์การว่ามีความทันสมัยด้วยเทคโนโลยี  ควรสื่อสารถึงการออกแบบตกแต่งภายนอกและภายในสถานที่ที่ดูทันสมัยด้วยสีสัน  รูปทรง  และวัสดุ ตกแต่งภายใน  ในทางตรงกันข้ามหากเป็นองค์กรที่เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรม  รูปลักษณ์ของการออกแบบตกแต่งควรเน้นความรู้สึกที่อบอุ่น  คลาสสิก  โดยใช้วัสดุที่เป็นศิลปะไทยในการตกแต่ง

6
ภาพอาคารโดมบริหารยามค่ำคืน สวยงดงามด้วยการประดับไฟให้ดูโดดเด่นอลังการ

 

Continue reading คู่มือการปฏิบัติงาน : การถ่ายภาพเพื่อใช้ในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ (public relations photography)