หลักธรรมาภิบาล และหลักคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (Anti Corruption)

หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร (Good Governance) หลักคุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติงาน การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นหัวข้อในการอบรมวันที่สอง ของหลักสูตรการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องแนวการปฏิบัติงานตามหลักการตรวจสอบภายในและการปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานภายในองค์กร ตามหลักธรรมาภิบาล

พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์  วิทยากรในหัวข้อนี้  เป็นข้าราชการบำนาญสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตสมาชิกวุฒิสภาพ สรรหาภาควิชาชีพ/ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตประธานอนุกรรมการศูนย์พัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)

พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์
พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์

ธรรมาภิบาล ตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า Good Governance แล้ว Good คืออะไร เราควรมีความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน ว่า ความดี ความถูกต้อง ความเป็นธรรม คืออะไร

การบรรยายในวันนี้ จะครอบคลุมในหัวข้อ

  1. ผู้นำกับคุณธรรมและจริยธรรม

ผู้นำ ในฐานะกษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ ผู้บริหารประเทศ ผู้นำในครอบครัว ผู้นำ คือ คนที่มีคนเดินตาม

คุณธรรมและจริยธรรม มักจะเป็นคำที่พูดกันพร้อมๆ กัน

2. คุณธรรมในการบริหารเชิงกลยุทธ์ แผนที่วางไว้ทั่วไป กับแผนเชิงกลยุทธ์ ต่างกันอย่างไร จึงต้องเข้าใจกันก่อน การบริหารเชิงกลยุทธ์ มีจุดอ่อน ถ้าผู้นำไม่มีจริยธรรมจะยิ่งยุ่ง

3. ธรรมาภิบาล

4. การทุจริต ประพฤติมิชอบ

5. แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชั่น

6. ดัชนีชี้วัดความซื่อตรง (Integrity) ใน Core value ควรมีคำว่า Integrity เป็นคำที่สำคญที่สุดใน ธรรมาภิบาล เป็นตัวชี้วัดของทั่วโลก ถ้าสังคมใดไม่มี integrity สังคมไม่น่าคบหาด้วย

ทั้งนี้จะขอสรุปโดยรวม  โดยวิทยากรกล่าวในเรื่องของการทำงานในองค์กร ที่ต้องกี่ยวข้องกับ คน และ งาน ในงานมีผู้บริหาร มีผู้นำ และผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นคน องค์กรที่จะมีธรรมาภิบาลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ คน

คน เราต้องมองในเรื่องของ Core Value และวัฒนธรรมองค์กร และถูกควบคุมด้วย Code of Conduct (ประมวลจริยธรรม) งานจะเสร็จหรือไม่ ขึ้นกับ code of conduct

การบริหารที่มีปรัชญาหรือหลักในการบริหาร มีการปกครองที่ดี (วัฒนธรรมองค์กร)

การต่อสู้กับ “คน”
– ความคิด (ทำให้ paradigm shift ไม่เกิด) และกิเลสภายในตัวของตัวผู้นำ
– ลูกน้อง ให้กำลังใจ และเห็นอกเห็นใจ มีพลังในการทำงาน
– ผู้มีส่วนได้เสีย กับสภาพที่จะเกิดขึ้น
– เราจะ identify คนที่แข่งขันกับเรา
– คนใกล้ชิด (จงรักภักดี vs ผลประโยชน์)

ผู้นำหรือหัวหน้า ต้องเลือกลูกน้องให้เหมาะสม เลือกคนให้ถูก สร้างสติปัญญากับสัมปัชญะ พฤติกรรมที่เหมาะสมและกาละเทศะ การตัดสินใจเชิงจริยธรรม เอาความดี 2 ตัว เข้ามาร่วมตัดสินใจในระยะเวลาหนึ่ง ความมั่นคงในจริยธรรม มีค่านิยม ในเรื่อง พอเพียง

“ผู้นำดี ผู้ตามดี” ผู้นำต้องรู้จักเอาใจใส่ และรู้จักวิกฤต จึงต้องออกแบบสร้างคนให้เหมาะสม

คนที่เป็นผู้บริหารที่ดี อาจจะไม่ใช่ผู้นำที่ดี ได้ ถ้าในระดับชาติ หมายถึง พลเมืองดี นักธุรกิจดี ข้าราชการของรัฐดี นักการเมืองดี

ผู้นำองค์กรดี ผู้บริหารดี ผู้ปฏิบัติดี

ศีล คือ ข้อห้าม ธรรม ข้อควรปฏิบัติ

ดี และเป็นตัวอย่างที่ดี “ความดีรักษาได้ยาก” เพราะฉะนั้น เราต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กร

เราต้องคอย observe ตัวเอง และปรับปรุงตัวเอง ที่สำคัญ คือ ควบคุมจิตใจและความประพฤติได้ดีกว่าสัตว์อื่น

คุณธรรม = การควบคุมจิตใจ คิดดี จริยธรรม เกิด พูดดี ทำดี

คิดดี พูดดี ทำดี = คุณธรรม

คนดี : มีความเป็นมนุษย์ —-> รู้ ผิด ชอบ ชั่ว ดี —> ควบคุมตัณหา ควบคุมจิตใจและพฤติกรรมได้ —> ศีลธรรม

การสร้างผู้นำ ต้องสร้างให้เหมาะสมกับสถานการณ์  ผู้นำต้องใช้ดุลยพินิจให้น้อยลง ใช้ความคิดของตัวเองในการตัดสินใจ แต่ใช้หลักวิชาการให้มากขึ้น

คนในสังคม เชื่อมกันด้วย 5 ตัว คือ กระบวนทัศน์ (เชื่อในที่ถูกก็ถูก ผิดก็ผิด) ความเชื่อ ไปถึงค่านิยม บรรทัดฐาน และวัฒนธรรม เวลาเปลี่ยน จะต้องเปลี่ยนที่ ค่านิยม วัดได้และปลูกฝังได้ และต้องสร้างบรรทัดฐานด้วย แล้วเข้าไปสู่ความเชื่อ และกระบวนทัศน์

ธรรมาภิบาล จะมีคำว่า integrity ค่านิยมของข้าราชกา I am ready
I = Integrity มีศักดิ์ศรี (ยึดมั่นในความถูกต้อง สุจริต เที่ยงธรรม)
A = Activeness ขยันตั้งใจทำงาน (บริการ/แก้ไขปัญหา ปชช)
M = Morality มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
R = Relevance รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก ตรงกับสังคม
E = Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ (คุณภาพ ดัชนี ประเมินผล)
A = Accountability รับผิดชองต่อผลงาน ประชาชน
D = Democracy มีใจ/การกระทำเป็น ประชาธิปไตย (มีส่วนร่วม โปร่งใส)
Y = Yield มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน เพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน

ค่านิยม  จึงมักจะคำว่า integrity เป็นค่านิยมขององค์กร

สาเหตุที่ต้องมี ธรรมาภิบาล เพราะมีอำนาจมาก ก็จะโกง มาก

คำว่า “ธรรมาภิบาล” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Good Governance” หมายถึง การปกครองที่ดี เพื่อความเจริญรุ่งเรือง สันติสุข มีเสถียรภาพ

ในวงราชการใช้ว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ส่วนภาคธุรกิจใช้ “Corporate Governance” การกำกับดูแลกิจการที่ดี, บรรษัทภิบาล

คำว่า ธรรมาภิบาบ มาจากคำว่า ธรรม สนธิ กับคำว่า อภิบาล หมายถึง การปกครองด้วยคุณธรรมความดี การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

คำว่า “Good Governance” หมายถึง การปกครองที่ดี มีความซื่อตรงต่อกัน (Integrity) มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน มีสัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ร่วมกันทำ เป็นธรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

แนวคิดของ “ธรรมาภิบาล” คือ ร่วมกันสร้าง “กฎเกณฑ์” (Norms) เป็นบรรทัดฐานในสังคม ที่มีระบบถ่วงดุลการใช้อำนาจของบุคคลโดยเฉพาะชนชั้นปกครอง ที่มักใช้อำนาจที่มีอยู่เพื่อเอื้อประโยชน์ใหักับตนเองและพวกพ้อง จำกัดดุลยพินิจในการใช้อำนาจของ “ผู้นำ”  ป้องกันการทำตาม “อำเภอใจ” เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มั่นคง พัฒนาอย่างยั่งยืน

หลักธรรมาภิบาล จึงต้องมีความซื่อตรง (Integrity) โปร่งใส (Transparency) ความรับผิดชอบ (Responsiveness) การรับผิดชอบในผลงาน (Accountability) เป็นธรรม/เสมอภาค (Fairness/Equity) การมีส่วนร่วม (Participatory) ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล (Effectiveness) และเป็นไปตามกฎ (Follow the Rule of Law)

ส่วนการทุจริตและประพฤติมิชอบนั้น มีลักษณะที่เข้าข่ายได้หลายลักษณะดังนี้
1. การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ราชการที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ การรวบอำนาจ การไม่มอบงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา การรีดไถจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อซื้อตำแหน่ง/เลื่อนตำแหน่ง การแต่งตั้ง/เลื่อนขั้นเฉพาะพวกพ้อง การปูนบำเหน็จรางวัลแต่เฉพาะพวกพ้องของตน
2. การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ ได้แก่ ไม่ลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นพวกพ้อง ลงโทษเฉพาะคนที่ไม่ใช่พวกพ้อง ลงโทษเกินฐานความผิด ไม่รายงานข้อเท็จจริง ไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ แก้ไขกฎ ระเบียบเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนเอง/พวกพ้อง
3. การปฏิบัติเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้  ได้แก่  การเรียกรับเงิน/เรียกสินบน/เรียกของกำนัล  การช่วยเหลือสมัครพรรคพวกหรือเครือญาติ การปกปิดความผิดให้พวกพ้อง การจัดทำเอกสารเท็จเพื่อให้ตนเองหรือสมัครพรรคพวกได้รับประโยชน์ การผูกขาดค้าขายแต่กับสมัครพรรคพวก การใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังเอาผลประโยชน์

ลักษณะของการทุจริตในวงราชการ ได้แก่
– การเบิกค่าใช้จ่ายจากงบประมาณอันเป็นเท็จ
– การรั่วไหลของเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
– การกำหนดความต้องการงบประมาณ/พัสดุที่ไม่เป็นจริง
– เงินสินบน/สินน้ำใจจากการจัดซื้อจัดจ้าง
– การด้อยคุณภาพของสิ่งที่ได้รับจากการใช้งบประมาณ
– ความสูญเปล่าของการใช้งบประมาณ (ของเหลือในคลัง)

คำว่า “ประโยชน์ทับซ้อน” หรือ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” จะเป็นอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินในแง่ของทุจริต

ประโยชน์ทับซ้อน คือ
1. สถานการณ์ซึ่งบุคคลขาดการตัดสินใจอันเที่ยงธรรมเนื่องจากการมีหรือได้รับผลประโยชน์
2. สถานการณ์ซึ่งมีบางสิ่งส่งผลดีต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เป็นผลเสียของผู้อื่น

รูปแบบของประโยชน์ทับซ้อน
1. การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting Benefit)
2. การทำธุรกิจกับตัวเอง (Self-dealing) หรือการเป็นคู่สัญญา
3. การทำงานหลังเกษียณ (Post-employment)
4. การทำงานพิเศษ (Outside employment or moonlighting)
5. การใช้ข้อมูลภายใน (Inside information)
6. การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง (Pork-barreling)

การรับประโยชน์ต่างๆ
1. การรับของขวัญจากบริษัทต่างๆ
2. บริษัทสนับสนุนค่าเดินทางไปดูงานต่างประเทศ
3. หน่วยราชการรับเงินบริจาคจากธุรกิจที่เป็นลูกค้าของหน่วยงาน
4. ได้รับของแถามหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการจัดซื้อจัดจ้าง
5. การที่คณะกรรมการกู้เงินจากสถาบันการเงินในการกำกับดูแล
6. การที่คณะกรรมการฝากญาติพี่น้องหรือคนที่คุ้นเคยเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจที่ตนกำกับดูแลอยู่

ประโยชน์อันคำนวณเป็นเงินได้
1. การปลดหนี้หรือการลดหนี้ให้เปล่า
2. การให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
3. การเข้าค้ำประกันโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
4. การให้ค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทน
5. การขาย การให้เช่าซื้อทรัพย์สิน เกินมูลค่าที่เป็นจริงตามที่ปรากฏเห็นในท้องตลาด
6. การใช้ใช้สถานที่ ยานพาหนะ หรือทรัพย์สิน โดยไม่คิดค่าเช่าหรือค่าบริการน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า
7. การให้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ หรือคิดค่าใช้บริการน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น  โดยปกติทางการค้า
8. การให้ส่วนลดในสินค้า หรือทรัพย์สินที่จำหน่าย โดยการให้ส่วนลดมากกว่าที่ให้กับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า
9. การให้เดินทาง หรือขนส่งบุคคล หรือสิ่งของโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า
10. การจัดเลี้ยง การจัดมหรสพ หรือการบันเทิงอื่น ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า
11. การให้บริการวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร กฎหมาย หรือการบัญชี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า

ตัวอย่างประโยชน์ทับซ้อน
1. หาประโยชน์ให้ตนเอง
2. รับประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่
3. ใช้อิทธิพลเรียกผลตอบแทน
4. ใช้ทรัพย์สินของนายจ้างเพื่อประโชน์ของตน
5. ใช้ข้อมูลความลับ เพื่อแสวงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
6. รับงานนอก แล้วส่งผลเสียให้งานในหน้าที่
7. ทำงานหลังออกจากตำแหน่งและเอื้อประโยชน์ต่อบริษัท
8. การให้ของขวัญ ของกำนัล เพื่อหวังความก้าวหน้า
9. ให้ทิปพนักงานโรงแรมเพื่อหวังการบริการที่ดีกว่าลูกค้ารายอื่น
10. ช่วยให้ญาติมิตรทำงานในหน่วยที่ตนมีอำนาจ
11. ซื้อขายตำแหน่ง จ่ายผลประโยชน์ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของตน