เส้นทางแห่งความพ้นทุกข์

1373346934-2301-o

ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ จะต้องรู้จักความทุกข์ เพราะความทุกข์มีอยู่ประจำตัวของทุกคน  ทุกข์มากหรือทุกข์น้อย ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละคน  ดูเหมือนกับว่าบางคนไม่มีความทุกข์เลย อันที่จริงเขามีความทุกข์   แม้แต่พระพุทธเจ้า ก่อนที่จะออกบวช พระองค์ก็มีความทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการ  ได้พบเห็น เทวทูตทั้ง 4  คือ  คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และสมณะ  จึงทำให้พระองค์หาวิธีการพ้นทุกข์  ด้วยการออกบวช

ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งความทุกข์ออกเป็น 10 ประการ  คือ
 1.สภาวทุกข์ หมายถึงทุกข์ประจำสังขาร  คือ ความเกิด แก่  เจ็บ ตาย
 2. นิพัทธทุกข์  ทุกข์อันเนืองนิตย์ คือ หนาว ร้อน กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ
 3. อาหารปริเยฏฐทุกข์ ทุกข์เกิดจากการหาอาหาร
 4. พยาธิทุกข์  ทุกข์เพราะโรคต่างๆ อวัยวะทำหน้าที่ไม่สมดุล บกพร่อง
 5. วิปากทุกข์ ทุกข์เกิดจากกรรมเก่าตามมาให้ผล
 6. ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอด คือความยึดมั่นในขันธ์  5
 7. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร  คือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
 8. สันตาปทุกข์ ทุกข์เกิดจากกิเลส  คือ โลภ โกรธ หลง
 9. สหคตทุกข์  ทุกข์เกิดจากโลกธรรม 8 คือ  ได้ลาภ เสื่อมลาภ            ได้ยศ เสื่อมยศ  สุข ทุกข์  สรรเสริญ นินทา
 10. วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการทะเลาะวิวาท

เมื่อเรารู้ว่าความทุกข์มี   10  อย่าง     แล้วเราจะทำอย่างไรกับความทุกข์พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเอาไว้ว่าทุกข์ มีไว้เพื่อให้รู้  เมื่อรู้แล้วจะทำอย่างไรต่อไป  ก็จะต้องละ  เพราะฉะนั้น พระองค์จจึงตรัสถึงเหตุให้เกิดทุกข์  คือ  สมุทัย  ซึ่งทำให้เกิดทุกข์  คือตัณหา ความยาก   เมื่อตัณหาเกิดขึ้น สิ่งที่ควรทำ  คือการละ   ขั้นตอนต่อไป คือการทำให้แจ้ง     (นิโรธ )  การดับทุกข์   สุดท้ายพระองค์ได้ตรัสถึงทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ คือ  มรรคมีองค์  8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ  เห็นชอบ  คือเห็นในไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา

  1. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ได้แก่ความนึกคิดในสิ่งที่เป็นกุศล

3.   สัมมาวาจา   เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 คือ  ไม่พูดเท็จ  ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดคำหยาบ  ไม่พูดเพ้อเจ้อ

4.  สัมมากัมมันตะ   กระทำชอบ ประกอบด้วย กายสุจริต 3 คือ  ไม่ฆ่าสัตว์         ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม

5.  สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ ได้แก่  เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ

6.   สัมมาวายามะ พยายามชอบ  คือต้งอยู่ในสัมมัปปธาน 4ประกอบด้วย
(1)    เพียรระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
(2)    เพียรเพื่อละ หมายถึงอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วกำจัดออกไป
(3)    เพียรเพื่อให้เกิดขึ้น หมายถึงกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
(4)   เพียรเพื่อรักษา  คือกุศลธรรมเกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

7.   สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 มี กาย เวทนา จิต ธรรม

  1. สัมมาสมาธิ การที่มีจิตใจตั้งมั่น ได้แก่การตั้งอยู่ในองค์ฌานทั้ง 4  ประกอบด้วย  ปฐมฌาน    ทุติยฌา ตติยฌาน    จตุตถฌาน

พุทธศาสนาสอนให้บุคคลเห็นความทุกข์เพื่อมิให้เกิดความประมาท สุดท้ายพระองค์ทรงสอนทางแห่ง  ความดับทุกข์เพื่อความบริสุทธิ์แห่งชีวิต

บรรณานุกรม

จักรพงษ์     จีนะวงษ์.    พุทธสุขเซน.—นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์, 2556.
พระธรรมปิฎก  พจนานุกรมพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ พ.ศ 2546.