CSEAS Library : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

11393692_10155734784760541_3738774475342538721_o

จากการเข้าร่วมโครงการ   “Sakura Exchange Program in Science : Japan-Asia Youth Exchange Program in Science”    ได้มีโอกาสเยี่ยมชมห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา หรือ Center for Southeast Asian Studies Kyoto University ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดให้มีโครงการนี้ขึ้นมา  นับได้ว่าเป็นห้องสมุดเฉพาะที่มีความน่าสนใจมากค่ะ รายละเอียดมีดังนี้

11046374_10155779991950541_2287954315793421105_o

ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดในมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งมีห้องสมุดกว่า 50 แห่ง โดยห้องสมุดนี้จะรวบรวมหนังสือเฉพาะทางเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ในภาษาที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของผู้ศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นนักวิจัย และนักศึกษาปริญญาโทและเอก  ภาษาของหนังสือจะมีประมาณ 37 ภาษา แต่ที่เยอะที่สุดคือภาษาอินโดนีเซียและภาษาไทย เนื่องจากมีสำนักงานที่กรุงจาการ์ตาและกรุงเทพฯ ทางศูนย์เลยสามารถจัดหาหนังสือมาจากแหล่งของประเทศนั้นๆ ได้  และเพื่อดำเนินการรวบรวมสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นระบบ

ทรัพยากรของที่นี่จะเน้นทางด้านสังคมและประวัติศาสตร์ ถ้าเป็นด้านเศรษฐกิจจะอยู่ที่ห้องสมุด IDE จังหวัดชิบะ   ทรัพยากรในห้องสมุด แบ่งออกเป็น

  • หนังสือและวารสารเย็บเล่ม ประมาณ 190,000 รายการ

– ภาษาต่างประเทศ 167,804 เล่ม

– ภาษาญี่ปุ่น           29,162 เล่ม

  • วารสาร 4,899 รายการ
shelf Page 1
ชั้นหนังสือจะเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องใช้มือหมุนเลื่อน แค่กดปุ่มชั้นก็เลื่อนอัตโนมัติ

นอกจากนี้ยังมีหนังสือคอลเลคชั่นพิเศษ เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4 ประเภท คือ

  • คอลเลคชั่น Charas (จรัส พิกุล)  เป็นคอลเลคชั่นหนังสืองานศพ ซึ่งได้รับบริจาคจากคุณจรัส พิกุล หนึ่งในคณะรัฐบาลไทย จำนวนประมาณ 9,000 เล่ม หนังสือส่วนใหญ่รวบรวมจากหนังสือแจกในงานฌาปนกิจของไทย ซึ่งมีทั้งจัดซื้อเองและได้รับบริจาค  เหตุผลที่ต้องมีคอลเลคชั่นนี้เพราะหนังสืองานศพนอกจากจะมีประวัติของผู้วายชนม์แล้ว ยังมีงานเขียนหลายประเภทในแต่ละเล่ม ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์ ความเป็นอยู่ของชาตินั้นๆ

58 - 4

  • คอลเลคชั่น Foronda รวบรวมสิ่งพิมพ์ในภูมิภาคอิโลโคสของฟิลิปปินส์
  • คอลเลคชั่น Ocampo รวบรวมสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ตั้งแต่ยุคกลางศตวรรษที่ 19 ถึงยุคต้นศตวรรษที่ 20
  • คอลเลคชั่น Indonesia-Islam เป็นสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับอิสลามในอินโดนีเซียในปัจจุบัน

การให้บริการ

  • เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย / บัณฑิตวิทยาลัยภาควิชาเอเชีย แอฟริกาศึกษา / ศูนย์บูรณาการข้อมูลพื้นที่ศึกษา : จำนวน 50 เล่ม / 3 เดือน
  • นักศึกษาระดับปริญญาโทและนักวิจัย : จำนวน 30 เล่ม / 3 เดือน
  • เจ้าหน้าที่อื่นๆ : จำนวน 5 เล่ม / 1 เดือน
  • บุคคลภายนอกเข้าใช้ฟรี โดยสามารถอ่านและถ่ายสำเนาในห้องสมุดได้

การ Catalog หนังสือภาษาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีการ58 - 1จ้างนักศึกษาของประเทศนั้นๆ มาทำข้อมูลเบื้องต้นให้ และบรรณารักษ์จะเป็นคนกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ต่อไปค่ะ สังเกตแล้วรหัสหนังสือจะให้ตามขื่อย่อของประเทศนั้นๆ

 

มุมสวยๆ ของห้องสมุด ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาที่นี่จะใช้จักรยานเป็นพาหนะหรือใช้การเดินเป็นหลักค่ะ

58 - 2 58 - 3

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมแลกเปลี่ยนในโครงการ “SAKURA EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE : JAPAN-ASIA YOUTH EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE”

NATIONAL DIET LIBRARY, KANSAIKAN (NDL)

MAP ROOM , CENTER FOR SOUTHEAST ASIAN STUDIES, KYOTO UNIVERSITY

HISTORICAL MATERIAL PRESERVATION KOJIMA HALL, LIBRARY OF ECONOMICS, UNIVERSITY OF TOKYO

TEPIA MUSEUM

Toyo Bunko

INSTITUTE OF DEVELOPING ECONOMIES, LIBRARY: IDE

CONSTRUCTING SEASIA PERIODICAL DATABASE

KYOTO UNIVERSITY : MAIN LIBRARY