All posts by นางสาวกรวรรณ ดีวาจา

ริว วชิรวิชญ์ : หนังสือกับแรงบันดาลใจ

มีบางคนเคยบอกว่าหนังสือคือชีวิต …
หลายคนได้นิยามความหมายไปต่างๆ กัน “วชิรวิชญ์ อรัญธนวงศ์ ” นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็นทั้งนักแสดงและยังมีดีกรีเป็นถึงนักกีฬาเทเบิลเทนนิสทีมชาติไทยอีกด้วย ถึงกระนั้นเขาก็ยังมีชีวิตส่วนหนึ่งอยู่กับหนังสือที่เขาชอบ

ryu1

Continue reading ริว วชิรวิชญ์ : หนังสือกับแรงบันดาลใจ

TU-THAIPUL : บริการยืมระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน

      TU-THAIPUL เป็นบริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ EBSCO Discovery Service (EDS) ในการสืบค้นและแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกัน โดยในปี 2559 หอสมุดฯ ได้ขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเอกชน
4 แห่ง ได้แก่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต | สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย| สำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | ศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  โดยต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 3 แห่ง คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเข้าเป็นสมาชิกเดือนเมษายน 2560 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุมและ
สำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม เข้าเป็นสมาชิกเดือนสิงหาคม 2560

TU-Thaipul Logo

Continue reading TU-THAIPUL : บริการยืมระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน

ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าพื้นที่เก็บหนังสือ? : เยี่ยมชมห้องสมุดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2)

หลังจากที่เยี่ยมชมสำนักหอสมุดแล้ว ผู้เขียนได้มีโอกาสแวะไปที่ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคาร 50 ปี วิศวะรวมใจ

ห้องสมุดนี้เริ่มเปิดให้บริการเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา โดยจุดเด่นของที่นี่คือ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็น Co – Working Space พร้อมแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ห้องประชุม Smart Meeting room ซึ่งมีหลายขนาดสำหรับแต่ละประเภทการใช้งาน
ประตูกระจกถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานเลื่อน ซึ่งข้อดีคือ ไม่รบกวนพื้นที่อื่นๆ และสะดวกต่อการใช้งานสำหรับผู้ใช้บริการวีลแชร์
ประตูกระจกถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานเลื่อน ซึ่งข้อดีคือ ไม่รบกวนพื้นที่อื่นๆ และสะดวกต่อการใช้งานสำหรับผู้ใช้บริการวีลแชร์

Continue reading ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าพื้นที่เก็บหนังสือ? : เยี่ยมชมห้องสมุดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2)

ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าพื้นที่เก็บหนังสือ? : เยี่ยมชมห้องสมุดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (1)

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561   ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้เข้าเยี่ยมชม 2 ห้องสมุด คือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น และห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ Continue reading ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าพื้นที่เก็บหนังสือ? : เยี่ยมชมห้องสมุดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (1)

ปฐมนิเทศนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ

เมื่อวันเสาร์ที่  8 สิงหาคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาโท โดยสำนักหอสมุดได้รับเชิญไปอบรมเรื่อง “ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ MyCat การทำวิทยานิพนธ์ การใช้โปรแกรม EndNote และการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์”  โดยมีวิทยากร คือ คุณปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ และคุณกรวรรณ ดีวาจา

IMG_2346

ในหัวข้อการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้โปรแกรมสำหรับการจัดทำรายการบรรณานุกรม วิทยากรได้อธิบายเทคนิคต่างๆในการสืบค้น เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาและสามารถนำไปอ้างอิงในงานวิจัยของตนเองได้ และในตอนท้ายได้อธิบายการทำงานของระบบ MyCat เพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพคร่าวๆ ก่อนที่จะใช้งานจริง ซึ่งนักศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

IMG_2344

KYOTO UNIVERSITY : Main Library

DSC_0222มหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 2 และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในแถบคันไซด้วย ประกอบด้วย 3 วิทยาเขตด้วยกัน คือ Yoshida Campus, Uji และ Katsura

Continue reading KYOTO UNIVERSITY : Main Library

CSEAS Library : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

11393692_10155734784760541_3738774475342538721_o

จากการเข้าร่วมโครงการ   “Sakura Exchange Program in Science : Japan-Asia Youth Exchange Program in Science”    ได้มีโอกาสเยี่ยมชมห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา หรือ Center for Southeast Asian Studies Kyoto University ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดให้มีโครงการนี้ขึ้นมา  นับได้ว่าเป็นห้องสมุดเฉพาะที่มีความน่าสนใจมากค่ะ รายละเอียดมีดังนี้

Continue reading CSEAS Library : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนในโครงการ “Sakura Exchange Program in Science : Japan-Asia Youth Exchange Program in Science”

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับจดหมายเชิญจาก Center for Southeast Asian Studies Kyoto University หรือ ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต เพื่อส่งบุคลากรเข้าร่วมในกิจกรรมความร่วมมือสำหรับบรรณารักษ์และนักวิจัยรุ่นใหม่ ระหว่างมหาวิทยาลัยเกียวโต และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย 3 แห่ง ซึ่งในครั้งนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลทางวิชาการ และเพื่อพัฒนาการสื่อสาร การนำเสนอและอภิปรายร่วมกันระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น  โปรแกรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Sakura Exchange Program in Science  ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Japan Science and Technology Agency (JST)

Continue reading กิจกรรมแลกเปลี่ยนในโครงการ “Sakura Exchange Program in Science : Japan-Asia Youth Exchange Program in Science”

อาเซียน : ควร / ไม่ควร

แม้วันนี้ “รู้เขา รู้เรา” จะไม่ต้องรบเพื่อชนะร้อยครั้ง แต่กลับเป็นการ “รู้เขา รู้เรา” เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม อะไร “ควร” “ไม่ควร” ยังเป็นสิ่งที่ต้องระวัง บางเรื่องเราก็ไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่กลับสำคัญ ผู้เขียนได้เก็บเรื่องราวจากประสบการณ์ และการได้พูดคุยกับผู้รู้ มาบอกเล่าในแง่มุมที่น่าสนใจ และจำเป็นสำหรับการเข้าสู่ประขาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่เราอาจไม่เคยทราบมาก่อน เช่น การเดินทางไปพม่าต้องขอวีซ่าก่อน  หรือ มาเลเซียไม่อนุญาตให้นำรถที่ติดฟิล์มเข้มมากๆ เข้าประเทศ เป็นต้น

as

 

สำหรับหนังสืออาเซียน : ควร ไม่ควร ห้องสมุดมีให้บริการที่หมวด HIST DS 2013 615826 ค่ะ

รายการอ้างอิง

ทศมล ชนาดิศัย, และ พรเทพ โตชยางกูร. (2556). อาเซียน ควร ไม่ควร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์

สร้างรายการอ้างอิงรวดเร็ว ทันใจ ด้วย Microsoft Word

การทำรายงานทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ หรือเขียนบทความใดๆ ก็ตาม ถ้าเราคัดลอกผลงานของผู้อื่นมา โดยไม่ให้เครดิตเจ้าของผลงาน งานของเราก็จะเข้าข่าย Plagiarism  ดังนั้นการทำรายการอ้างอิงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันเรื่อง Plagiarism แล้ว ยังช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงแหล่งข้อมูลที่จะค้นคว้าต่อไปได้ อีกทั้งสร้างความน่าเชื่อถือที่มีการอ้างอิงอย่างเป็นระบบให้กับงานของเราเองด้วย

อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่มักจะกังวลว่า รูปแบบที่เราใช้นั้นถูกต้องหรือไม่ หรืออาจจะคิดว่ายุ่งยากที่ต้องมานั่งจำหรือพิมพ์เครื่องหมาย ต่างๆ ในรายการอ้างอิง แต่ถ้าเราทำงานผ่าน MS word จะสังเกตได้ว่า โปรแกรมนี้ มีฟังค์ชั่นการทำรายการอ้างอิงอัตโนมัติมาให้ด้วย Continue reading สร้างรายการอ้างอิงรวดเร็ว ทันใจ ด้วย Microsoft Word