มนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย

บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ นางสาวณิชาพัฒน์ พลายประเสริฐ และ นางสาวอิสริ์ยา หมีเงิน ได้เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “มนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย” โดยภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านมนุษยสารสนเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิริธร คณะอักษรศาสตร์ ในการประชุมฯ ดังกล่าว ได้นำเสนอ

มนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย
มนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย

การจัดการคลังภาพดิจิทัลอักษรศาสตร์บรมราชกุมารี: งานวิจัยด้านมนุษยสารสนเทศในยุคไซเบอร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์กุล และ อาจารย์ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการนำเสนองานวิจัยเรื่อง การจัดการคลังภาพดิจิทัล “อักษรศาสตร์บรมราชกุมารี” โดยการจัดหา จัดเก็บ และให้บริการสืบค้นพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์อย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากลในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และเพื่อให้เป็นคลังทรัพยากรสารนิเทศที่ผู้สนใจ สามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระฉายาลักษณ์ (Metadata) ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ผ่านเว็บ http://princessmcs.org/ และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

การจัดการคลังภาพดิจิทัลอักษรศาสตร์บรมราชกุมารี: งานวิจัยด้านมนุษยสารสนเทศในยุคไซเบอร์
การจัดการคลังภาพดิจิทัลอักษรศาสตร์บรมราชกุมารี: งานวิจัยด้านมนุษยสารสนเทศในยุคไซเบอร์

วิทยากรซึ่งเป็น 2 ท่านในทีมผู้วิจัย ได้นำเสนอการดำเนินการในภาพรวม ตั้งแต่
– การรวบรวม: กรอบเวลา หาแหล่ง แบ่งลำดับ
– จัดระบบ: อิงข้อมูลเดิม ค้นคว้าเพิ่ม เสริมเมทาดาทา หามาตรฐานแลกเปลี่ยนข้อมูล
– สงวนรักษา: ไฟล์คุณภาพสูง อยู่ทนนาน เปลี่ยนผ่านง่าย
– ส่งเสริมการใช้: บอกส่วนรวม ร่วมกันทำ นำไปต่อยอด

ในส่วนของข้อมูลเชิงระบบ ใช้โปรแกรม Omeka (version 2.3) ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บคลังภาพดิจิทัลนี้ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโอเพนซอร์ส ที่สนับสนุน
– Dublin Core
– Institutional-specific metadata
– OAI-PMH
– Atom, DCMESXML, JSON, and RSS2
– CSV, EAD
– Tagging
– Controlled vocabularues (e.g. LCSH)

การวิจัยด้านมนุษยสารสนเทศ: พรมแดนที่ไม่สิ้นสุด โดย อาจารย์ทัศนีย์ เจริญพร ภาควิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา

เริ่มต้นกล่าวถึง Human Information Behavior (HIB) การศึกษาวิธีการเพื่อเข้าใจวิธีการที่มนุษย์สัมพันธ์กับสารสนเทศ สารสนเทศเกิดขึ้นจากการสร้าง (Creat) การค้นหา (Seek) และการใช้ (Use) วิทยากรได้นำเสนอคลังข้อมูลต่างๆ ที่เป็น Open data เช่น http://www.data.gov (ของสหรัฐอเมริกา) และของไทย ได้แก่ http://www.data.go.th/รวมทั้งการเกิด Big data และ linked open data ซึ่งจะมีข้อมูลที่เชื่อมโยงกันถึงได้หมด

linked open data
                                   linked open data จะเห็น WorlCat อยู่ทางมุมขวาของภาพ

จากนั้นเป็นการพูดถึงศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม (http://m-culture.in.th) เก็บข้อมูลทุกอย่างทางศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นฐานข้อมูลของชาติ ให้ค้นหาได้ และเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง วิทยากรได้แบ่งปันประสบการณ์ในการพยายามให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละท้องถิ่นนำข้อมูลเข้าระบบ ซึ่งน่าจะเป็นส่วนที่ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก เมื่อได้ข้อมูล สามารถสืบค้นได้แล้ว ผลที่ออกมาจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น มีการปรับส่วนการแสดงผล เช่น แต่เดิม อาจจะเป็นเพียง infobox ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น knowledge map เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมมากขึ้น