การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)) ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523  (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการพัฒนาหัองสมุดสถาบันอุดมศึกษา)  มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด กิจกรรมอย่างหนึ่งของคณะอนุกรรมการฯ ที่จัดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ การประชุมสัมมนาประจำปี เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ รายงานความก้าวหน้าในงานอาชีพบรรณารักษ์และสารนิเทศ ตลอดจนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และเพื่อเปิดโอกาสให้บรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการนำวิธีการต่างๆ มาใช้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างกว้างขวางและใกล้ชิดยิ่งขึ้น รวมทั้งพิจารณา ทบทวนความร่วมมือที่ได้กระทำอยู่ อภิปรายถึงปัญหา อุปสรรคและข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไข (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2528  ; นวนิตย์ อินทรามะ, 2529) การจัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2522 โดยมีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพในการจัดงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งขอรวบรวมการจัดงานแต่ละครั้ง ดังนี้

ครั้งที่  1 ระหว่างวันที่ 16-19 พฤษภาคม 2522  โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน

ครั้งที่ 2  เรื่อง  “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาการเรียนการสอน”  ระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2525  โดย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ครั้งที่  3  เรื่อง “การพัฒนาระบบห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา”  ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2526  โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ครั้งที่ 4  เรื่อง “การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา” ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2528 ณ อาคารสัมมนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ครั้งที่ 5 เรื่อง “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า”  ระหว่างวันที่
28-30 ตุลาคม 2529 โดย สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ครั้งที่ 6 เรื่อง  “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติของประเทศไทย”  ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2531 โดย สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนื้อหาประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ “นโยบายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน” — ระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติของประเทศไทย / อุทัย ทุติยโพธิ — สรุปการอภิปราย “แนวทางการพัฒนาข่ายงานสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ” : ข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค / จารุพร พงศ์ศรีวัฒน์ ; ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาแพทยศาสตร์ / วิภา โกยสุขโข ; ข่ายงานสารนิเทศทางด้านการเกษตร / พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ — นโยบายระบบสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ — ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค / จารุพร พงศ์ศรีวัฒน์ — ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์นระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ / พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ — ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาแพทยศาสตร์ / วิภา โกยสุขโข — ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขามนุษยศาสตร์ / ธารา กนกมณี — ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ / นิตยา พีรานนท์ — ฐานข้อมูลสารนิเทศในประเทศไทย — บทบาทของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ — บทบาทของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อการพัฒนาระบบสารนิเทศทางวิชาการ แห่งชาติ / สุนทร แก้วลาย

ครั้งที่ 7  เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา” ระหว่างวันที่  4-6 กรกฎาคม 2532  โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาประกอบด้วย:  การบริหารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ / ครรชิต มาลัยวงศ์ — การบริการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ / กมเลศน์ สันติเวชชกุล — สถานภาพและรูปแบบที่เหมาะสมของเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย / วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน — ความร่วมมือในการดำเนินงานสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐและ เอกชน / อุทัย ทุติยะโพธิ — เครือข่าย : ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาห้องสมุด / ชุติมา สัจจานันท์ — เครือข่ายมหาวิทยาลัย / ธนากร อ้วนอ่อน — กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศ / ประดิษฐา ศิริพันธ์

ครั้งที่ 8 เรื่อง “กลยุทธ์การแสวงหาสารนิเทศ : ศาสตร์และศิลป์”  ระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2533 ณ  อาคาร ศศปาฐศาลา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ

ครั้งที่ 9 เรื่อง “บริการสารนิเทศยุคอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างวันที่ 29-31 ตุลาคม 2534  ณ สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เนื้อหาประกอบด้วย: แนวทางการพัฒนาการประยุกต์ไมโครคอมพิวเตอร์ในงานจ่าย-รับของห้องสมุด / จิราภรณ์ ชื่นปรีชา — ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการซีดี-รอม ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา / เปี่ยมสุข ทุ่งกาวี — สถานภาพและแนวโน้มของบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย / ราหุน วรสิทธิ์ — การประกอบธุรกิจการให้บริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ / จุมพจน์ วนิชกุล — องค์การที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย / กาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า — การพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ / ประภาวดี สืบสนธิ์

ครั้งที่ 10  เรื่อง “การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดเพื่อประสานการใช้ทรัพยากรสารนิเทศ” ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2535  โดย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เนื้อหาประกอบด้วย:
ระบบเครือข่ายและการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุด — การเตรียมการของห้องสมุดแต่ละแห่งในการเข้าร่วมเครือข่าย — ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเองของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา — สรุปฐานข้อมูลที่ห้องสมุดพัฒนาขึ้นเอง — ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ : LOCAL — ฐานข้อมูล PIN โปรแกรม Mini-micro CDS/ISIS กับงานดรรชนีวารสารไทย สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ — การจัดการฐานข้อมูลภาพใช้ร่วมกับฐานข้อมูลอัขระ — ฐานข้อมูลศูนย์เอกสารประเทศไทย — ฐานข้อมูล SWUA สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ครั้งที่ 11 เรื่อง “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ” ระหว่างวันที่  18-20 ตุลาคม 2536  ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร  โดย  สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

เนื้อหาประกอบด้วย:
การจัดการระบบเครือข่าย CD-ROM : Computer & Peripherals — มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ — มิติใหม่ของระบบอัตโนมัติและระบบเครือข่าย — การจัดการทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่อ — ซอฟต์แวร์ช่วยผลผลิตในงานต่างๆ — Video Computer — มัลติมีเดีย มิติใหม่ของทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ — การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ — แนะนำ UNIX และบริการเครือข่ายพื้นฐาน — ประสบการณ์เกี่ยวกับการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในการปฏิบัติงานของห้อง สมุดแห่งชาติ — ฐานข้อมูลใครเป็นใครในประเทศไทย — เทคโนโลยีการสื่อสารกับฐานข้อมูล — ดาวเทียมกับการสื่อสารสารนิเทศ — การประยุกต์งานระบบเครือข่าย — ประสบการณ์ในการสร้างระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และระบบเครือข่าย

ครั้งที่ 12  เรื่อง “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในปี 2540”  ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2537  โดย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ครั้งที่ 13 เรื่อง “ห้องสมุดอัตโนมัติ : แนวทางการพัฒนา” ระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2538 ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก  โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร

เนื้อหาประกอบด้วย:
การแปลงผันฐานข้อมูล และ database profile ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ / กรรณิการ์ ลินพิศาล — DYNIX / จิรี สุขมาตย์ — ทิศทางห้องสมุดอัตโนมัติกับการพัฒนาบุคลากรห้องสมุด / วิภา โกยสุขโข — ผลกระทบของระบบห้องสมุดอัตโนมัติต่อผู้ใช้บริการ / น้ำทิพย์ วิภาวิน

ครั้งที่ 14 เรื่อง “แนวคิดในการรื้อปรับระบบงานห้องสมุด” ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2539 ณ โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร  โดย
สำนักหอสมุด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เนื้อหาประกอบด้วย:
ห้องสมุดกับนโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษา — แนวโน้มของปัญหา อุปสรรค และโฉมหน้าห้องสมุดไทยในอนาคตกับแนวคิดการรื้อปรับระบบ — เทคโนโลยีสารสนเทศกับการรื้อปรับระบบงานห้องสมุด — การรื้อปรับระบบ : หลักการและการดำเนินงาน — แนวคิดในการรื้อปรับระบบห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา — วิธีการและปัญหาจากการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในงานต่างๆ — สรุปการอภิปราย แนวคิดในการรื้อปรับระบบห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา — สรุปการอภิปราย : เทคนิค ขั้นตอน และวิธีการในการรื้อปรับระบบ

ครั้งที่ 15 เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา” ระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2540  ณ  โรงแรมโฆษะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดย สำนักวิทยบริการ และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ครั้งที่ 16 เรื่อง “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา”  ระหว่างวันที่  2-4 ธันวาคม 2541  ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่  โดย กองห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เนื้อหาประกอบด้วย:
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา — การพัฒนาห้องสมุดอุดมศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา — ระบบการประกันคุณภาพการศึกษากับอุดมศึกษาไทย — การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ครั้งที่  17  เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา กับการก้าวสู่สถานะมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล”  ระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2542 ณ  โรงแรมลองบีช อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี  โดย
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

ครั้งที่ 18 เรื่อง “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทยในสหัสวรรษใหม่” ระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม 2543  ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น (กรุงเทพฯ) โดย สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เนื้อหาประกอบด้วย:
ประสบการณ์การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศของผู้ใช้และรูปแบบห้องสมุดในอนาคต / ยืน ภู่วรวรรณ — รูปแบบของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต / ประจักษ์ พุ่มวิเศษ — ห้องสมุดมหาวิทยาลัย-ผู้ใช้-บรรณารักษ์ / พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ — กฎหมายลิขสิทธิ์กับการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ / ศรีศักดิ์ จามรมาน — กฎหมายลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุด / ธัชชัย ศุภผลศิริ — กฎหมายลิขสิทธิ์กับ E-Commerce / วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน — แนวคิดเกี่ยวกับการขายข้อมูล ข่าวสารของห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย / บวร ปภัสราทร

ครั้งที่ 19  เรื่อง “การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์” ระหว่างวันที่ 25-26 ตุลาคม 2544 ณ โรงแรมตวันนา รามาดา กรุงเทพมหานคร  โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เนื้อหาประกอบด้วย:
กระบวนทัศน์ : ห้องสมุดเสมือน / ยืน ภู่วรวรรณ — สังคมบริการ / ไมตรี ทองประวัติ — เศรษฐกิจใหม่ / วรากรณ์ สามโกเศศ
ครั้งที่ 20  เรื่อง “รูปแบบความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา” ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2545  ณ โรงแรมเนวาด้าแกรนด์ โดย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เนื้อหาประกอบด้วย:
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา — รายงานสรุปผลการดำเนินงานคณะทำงานฯ — กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย — แผนปฏิบัติการโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ

ครั้งที่ 21  เรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การวิจัยและเครือข่ายความร่วมมือ : นวัตกรรมส่งเสริมการบริการสารสนเทศ” ระหว่างวันที่
20-22 ตุลาคม 2546 ณ ห้องตะกั่วป่า โรงแรมเจ บี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  โดย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ครั้งที่ 22 เรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม และความท้าทายของห้องสมุดในศตวรรษที่ 21” ระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม 2547  ณ ห้องภาณุรังษีบอลรูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ  โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาประกอบด้วย:
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการวิจัยและการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษา / พรชัย มาตังคสมบัติ — E-Learning and Campus Portals / ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ — From Information Gateways to Digital Library Management System / บัณฑิต ทิพากร — Libraries as Trusted Hubs of Community and Learning / ครรชิต มาลัยวงศ์ — Management of Digital Images and Video Objects Portals / เจริญศรี มิตรภานนท์ — Metadata Creation and Collaboration / วิลาศ วูวงศ์ — Web Services Technologies in a New Era of Research / ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ — นวัตกรรมบริการห้องสมุดเสมือน / ประดิษฐา ศิริพันธ์ — Open-Source Technology / ภุชงค์ อุทโยภาศ — แนวทางการจัดหาทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการใช้ร่วมกันในระดับประเทศ / วันชัย ริ้วไพบูลย์ — Open Linking System / Stanley Aung Myint — การพัฒนาทรัพยากรบุคคลสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในมุมมองของสถาบันการศึกษาและผู้ประกอบการ / กุลธิดาา ท้วมสุข รังสรรค์ ปีติปัญญา — ความจำเป็นในการจัดโครงสร้างห้องสมุดเพื่อรองรับการบริหารจัดการความรู้และสารสนเทศสมัยใหม่ / นงนุช ภัทราคร น้ำทิพย์ วิภาวิน

ครั้งที่ 23 เรื่อง “ทิศทางกลยุทธ์สำหรับห้องสมุดยุคสังคมฐานความรู้ ” ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2548  ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย  โดย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ครั้งที่ 24 เรื่อง “การเปลี่ยนแปลงแหล่งสารสนเทศ : จากห้องสมุดสู่ศูนย์การเรียนรู้” ระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2549  ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  โดย
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ครั้งที่ 25 เรื่อง “มาตรฐานเพื่อการจัดการและบริการสารสนเทศ” ระหว่างวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2550  ณ สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เนื้อหาประกอบด้วย:
มาตรฐานกับการบริหารห้องสมุด / ยุพิน เตชะมณี — บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย / ชุติม สัจจานันท์ — ISO/TC46 : มาตรฐานระหว่างประเทศด้วยการเอกสารและสารสนเทศ / สุวรรณา ธนพัฒน์ — มาตรฐานตัวชี้วัดที่พัฒนาโดย PULINET / พฐา สุวรรณรัตน์ — มาตรฐานตัวชี้วัดที่พัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / พิมพ์รำไป เปรมสมิทธ์ — Dublin Core Metadata : ถึงเวลาบรรณารักษ์ควรปรับตามหลากชนิดเมทาดาทา??? / สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ — Metadata Object Description Schema-MODS / นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ — การพัฒนา Metadata เพื่อการค้นคืนเอกสารใบลาน / นิศาชล จำนงศรี — มาตรฐานการค้นคืนสารสนเทศ : Z39.50 / จิระพล คุ่มเคี่ยม — การประเมินคุณภาพบริการของห้องสมุดโดยใช้ LibQUAL : กรณีศึกษาสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / เกวลี จันทร์ต๊ะนา — การประเมินคุณภาพบริการของห้องสมุด ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช / สุชาดา เนตรภักดี

ครั้งที่ 26  เรื่อง “รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่” ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2551

ครั้งที่ 27 เรื่อง “แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศ (Best Practice) ในงานห้องสมุด”  ระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2552 ณ ห้องประชุมพิมานทิพย์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ครั้งที่่ 28 เรื่อง “แนวคิดใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด” ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2553  ณ ห้องประชุมมรกตอีสาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อ.เมือง จ.นครราชสีมา  โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ครั้งที่ 29 เรื่อง “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนื้อหาประกอบด้วย:
แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน / วรากรณ์ สามโกเศศ — มิติใหม่ของการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ / กษิติธร ภูภราดัย ดารารัตน์ รัชดานุรักษ์ ปัญชลี พึ่งพิศ — ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพห้องสมุด: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ / สาโรช เมาลานนท์ — การประกันคุณภาพการศึกษาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือเครือข่ายด้านประกันคุณภาพการศึกษาห้องสมุด 5 สถาบัน / อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ — Tablet Publishing / สุปรีย์ ทองเพชร — ความรู้เรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ / ขจร พีรกิจ — ทำความเข้าใจเบื้องต้นกับ DPS / ขจร พีรกิจ — Cloud Computing in Libraries / สุปรีย์ ทองเพชร

ครั้งที่ 30 เรื่อง  “ความท้าทายของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่” ระหว่างวันที่  2 – 4 ธันวาคม 2556  ณ ห้องอิมพีเรียลแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เนื้อหาประกอบด้วย:
บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ / ภาวิช ทองโรจน์ — เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการพัฒนาห้องสมุด: โอกาส/ผลกระทบ /ปัญหา / วิชาญ เลิศวิภาตระกูล — ทิศทางการพัฒนา Green library: การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว: การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวในมุมมองของผู้บริหารที่มีประสบการณ์ / ชัชกูล รัตนวิบูลย์ อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ — แนวทางการพัฒนาห้องสมุดด้วยเทคโนโลยี / สมบูรณ์ เจตน์จิราวัฒน์ — การพัฒนาเทคนิคการให้บริการในห้องสมุดยุคใหม่: User engagement, การรับมือกับผู้ใช้บริการ, การเข้าถึงผู้ใช้โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ / ชนันนา รอดสุทธิ ฉวีวรรณ สวัสดี สุเทพ ทองงาม / การพัฒนาเกณฑ์ตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษาข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET)/ เพ็ญสุวรรณ นาคะปรีชา สายพิณ วิไลรัตน์

ครั้งที่ 31 เรื่อง Digital Humanities ระหว่างวันที่ 2-14 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา จ. ขอนแก่น  โดย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายการอ้างอิง

นวนิตย์ อินทรามะ. สาส์นจากรองศาสตราจารย์ ดร. นวนิตย์ อินทรามะ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ใน รายงาน การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 เรื่อง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า. 2529.

วิจิตร ศรีสอ้าน. คำปราศรัยในพิธีเปิดการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 4 เรื่อง “การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา” 24 เมษายน 2528.