หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงาน มี 7 ประการ

M1

พนักงาน คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหน่วยงาน หากหน่วยงานใดมีพนักงานดี หน่วยงานนั้นก็จะมีความเจริญก้าวหน้า พนักงานจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญไม่ต่างจากลูกค้าของหน่วยงาน  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องแสวงหาพนักงานที่ดี มีคุณภาพ มีความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงลักษณะส่วนบุคคล ทัศนคติที่ดีในการทำงาน  การคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงานภายในหน่วยงาน จึงต้องอาศัยบรรทัดฐานและหลักเกณฑ์ที่ดีในการพิจารณาคัดเลือก ดังนี้M2

  1. ความรู้

ผู้บริหารจะต้องพิจารณาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นจริง ๆ และต้องแน่ใจว่าเขาเหล่านั้นมีความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งอาจจะใช้วิธีการตรวจวัด โดยให้ทำแบบทดสอบหรือการทดลองงาน จึงจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการสรรหาผู้ที่มีความรู้เข้ามาปฏิบัติงานในหน่วยงานได้

  1. ประสบการณ์

การคัดเลือกผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน มักจะพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ไหวพริบ และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาเฉพาะหน้า ได้ดีกว่าผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งในส่วนนี้ผู้บริหารสามารถพิจารณาได้จากประวัติการทำงาน และจากการสัมภาษณ์ รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมปฏิภาณไหวพริบ

  1. ผลการศึกษา

ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดผลการศึกษาของบุคลากรที่สมัครเข้ามาปฏิบัติงานกับหน่วยงาน ถือเป็นการวัดระดับความรู้ในเบื้องต้น ว่ามีความรู้และความเหมาะสมกับตำแหน่งมากน้อยเพียงไร ซึ่งเกรดเฉลี่ยที่เหมาะสมควรจะต้องอยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่า 2.5 แต่หากผู้สมัครมีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่าที่กำหนดดังกล่าว อาจพิจารณาจากคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย

  1. สถาบันการศึกษา

สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งย่อมมีชื่อเสียงในสาขาที่แตกต่างกันออกไป เช่น มหาวิทยาลัย A โด่งดังในเรื่องของวิศวกรรม แต่มหาวิทยาลัย B โด่งดังในเรื่องการบัญชี ดังนั้นผู้บริหารสามารถใช้สถาบันเป็นอีกเกณฑ์หนึ่งในการตัดสินเพื่อพิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ  ทั้งนี้ ก่อนจะรับพนักงานเข้ามาทำงานในหน่วยงาน อาจจะต้องตรวจสอบข้อมูลจากสถาบันการศึกษาต้นสังกัด   ของผู้สมัคร

  1. ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ

ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญมากในการตรวจสอบ พิจารณาคัดเลือกพนักงานเข้าสู่หน่วยงาน เพราะคนที่มีความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นจะเป็นผู้ที่มีความจริงใจกับหน่วยงานและผู้ร่วมงานมาก ซึ่งคนบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ที่มีมาตรฐานในการทำงานสูงและเป็นผู้ที่สามารถไว้วางใจให้ดูแลในเรื่องที่สำคัญ ๆ ของหน่วยงานได้ในบางโอกาสด้วย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบนี้อาจจะพิจารณาได้จากการรับบุคคลเข้ามาปฏิบัติงานแล้ว โดยอยู่ในช่วงการทดลองงาน

  1. ลักษณะบุคลิกภาพ

ผู้บริหารจะต้องพิจารณาบุคลิกภาคของพนักงานนับแต่เดินเข้ามารับการสัมภาษณ์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงรูปร่างหน้าตา แต่หมายถึงมารยาทในการพูด การตอบข้อซักถาม และการปฏิบัติ กาลเทศะ รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมด้วย

  1. มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ

การทำงานในองค์กรเป็นลักษณะของการทำงานในรูปแบบทีมเวิร์คที่จะต้องอาศัย การพึ่งพาติดต่อระหว่างกันภายในองค์กรอยู่ตลอด หากหน่วยงานใดมีพนักงานที่มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี ระบบการทำงานจะมีปัญหา การตรวจสอบด้านมนุษยสัมพันธ์จะสามารถพิจารณาได้จากการทดลองปฏิบัติงาน การสังเกตพฤติกรรมในการทำงาน

 

 

 

อ้างอิงจาก INCquity (อิงค์ควิตี้)
http://incquity.com/articles/office-operation/choosing-best-officer