อบรมการพัฒนาความคิดในเชิงกลยุทธ์

ในวันที่ 18 มีนาคม 2559 ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตร การพัฒนาความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ณ ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดโดย สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และ ดร. กุศยา ลีฬหาวงศ์ เป็นผู้บรรยาย สรุปโดยสังเขปดังนี้

ความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ระบบคิดที่จะทำให้มีความสามารถในการพัฒนาและใช้กลยุทธ์ไปสู่ความสำเร็จ ความคิดในเชิงกลยุทธ์จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) บุคลากรในองค์กรใด หรือในประเทศใดมีระบบคิดในเชิงกลยุทธ์ยิ่งมากก็จะทำให้ขีดความสามารถขององค์กรนั้นหรือประเทศนั้นเพิ่มสูงขึ้น
อาวุธซึ่งในทางธุรกิจหมายถึงกลยุทธ์จะไร้ประโยชน์ถ้าหากว่า    ผู้ใช้ไม่รู้จักใช้ให้เป็น ชัยชนะนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความทันสมัยของกลยุทธ์ หรืออาวุธที่มี ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้นั้นจะใช้แบบไหน เมื่อไร กับใคร ที่ไหน และอย่างไรต่างหาก ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของปั๊มน้ำมันเจ็ท (JET) เป็นปั๊มที่เกิดขึ้นมาทีหลังแต่มีความสำเร็จคือ รู้จักเปลี่ยนแปลงห้องน้ำให้กลายมาเป็นกลยุทธ์หรืออาวุธที่ชนะคู่แข่งจากปั๊มอื่นๆได้   มีร้านมินิมาร์ท มีร้านกาแฟ และมีสนามเด็กเล่น ความสำเร็จในองค์ประกอบของระบบคิดดังกล่าวคือ การมีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinking) ในการที่จะเห็นและเข้าใจทิศทางของตลาด การคิดนอกกรอบหรือนวัตกรรม (Innovative Thinking) ความคิดที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางและอ่อนไหวต่อความต้องการของลูกค้า (Customer Value Thinking)   และความคิดที่ตระหนักถึงคู่แข่งตลอดเวลา (Benchmarking Thinking) องค์ประกอบดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของ ความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

กระบวนทัศน์ในการคิด (Thinking Paradigm)
จำแนกเป็น 4 ระบบตามระดับความซับซ้อน (Sophistication)
– ความคิดในเชิงบวก (Positive Thinking)
– ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
– ความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
– ความคิดในเชิงจริยธรรม (Ethical Thinking)

ความซับซ้อนของการคิด
– ปลดกับดักหรือทลายกับดักจากความคิด
– คิดอะไรที่แปลกใหม่
– รู้เขารู้เรา

การพัฒนาระบบคิด
– จดและจำสามารถบอกซ้ำหรือบอกต่อได้โดยไม่ผิดเพื้ยน
– มีความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้
– ปรับใช้ได้กับสถานการณ์ทุกอย่างได้
– สามารถวิเคราะห์ถึงความสำคัญแต่ละเรื่องได้และแก้ปัญหาได้
– สามารถสังเคราะห์ได้เอาแนวคิดทุกอย่างมารวมกันทำให้
เกิดแนวคิดใหม่ๆ
– สามารถประเมินและวิเคราะห์ได้

ผู้บรรยายได้ให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาความคิดเพื่อที่สามารถนำไปใช้และจะประสบความสำเร็จได้
– กล้าที่ทลายกับดักหรือคิดนอกกรอบ
– รู้เขารู้เรา
– ให้เพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเวลา
– อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นด้วยตา บางเรื่องเชื่อถือได้และบางอย่างเชื่อถือได้
– ทุกเรื่องที่เห็นต้องวิเคราะห์ก่อนเสมอ
– สำรวจตัวเองว่าชอบอะไร
– ทำในสิ่งที่เรารักและมีความชำนาญ
– ให้ความสำคัญไม่เหมือนกัน คนฉลาดต้องทำเรื่องที่สำคัญที่สุด