หัวใจของการเรียนรู้ คือ การลงมือทำจากสิ่งที่รู้ และรู้เท่าทันสื่อใหม่

cropped-cropped-Logo-NAC2016

การเข้าร่วมฟังสัมมนาเรื่อง “รู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” (Technology literacy to support learning in the 21st century) เมื่อวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุม CC-404 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการประชุมวิชาการประจำปี 2559 หรือ NAC2016

ความรู้ที่ได้จากการเข้าฟังสัมมนาในครั้งนี้ ได้ช่วยเปิดมุมมองเรื่องของการใช้สื่อสมัยใหม่ รวมถึงรู้จักเครื่องมือใหม่ๆ ที่อาจารย์และนักวิชาการได้นำมาใช้ในการพัฒนาสื่อสารสอน โดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือที่มีให้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังสามารถนำมาใช้ในการสอนให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเสมือนเกมส์ ที่มีทั้งน่าสนใจ น่าติดตาม และชวนให้เกิดการเรียนรู้ เข้ากับเด็กและเยาวชนรในยุคที่เรียกว่า Gen-Z

โดย ดร.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แนะนำ 10 เครื่องมือที่นำมาใช้ประกอบการสอนมากที่สุดได้แก่ 1.Twitter 2.Youtube 3.Google Search 4.Google Docs/Drive 5.PowerPoint 6.Dropbox 7.Facebook 8.WordPress 9.Skype และ 10.Evernote

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

ด้าน รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังได้กล่าวถึงการพัฒนาการศึกษาไทยในปัจจุบัน อาจารย์ไม่สามารถทำหน้าที่ให้ความรู้แก่เด็กได้อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากเด็กๆ สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว และค่อนข้างเร็ว การสอนในสิ่งที่เขารู้กลายเป็นสิ่งน่าเบื่อ อาจารย์ควรเป็นผู้สนับสนุบและส่งเสริมเด็กให้ลงมือทำจากสิ่งที่เขารู้ ให้เขาได้นำมาความรู้ความสามารถที่ตัวเองมาทำให้เกิดประโยชน์ พัฒนาและต่อยอดให้เกิดความรู้ใหม่ๆ อาจารย์ /นักการศึกษา ควรจะต้องมีความรู้และเท่าทันสื่อสมัยใหม่ๆ รู้จักการนำมาใช้ประโยชน์ และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

ขณะที่ นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้แนะนำ “คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด” ในโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5รอบ 2เมษายน 2558  เพื่อเป็นวัตถุหรือเครื่องมือให้อาจารย์/ครู ในถิ่นทุรกันดารได้นำมาใช้ในการจัดทำสื่อการสอน พร้อมกับเน้นย้ำในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์และรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่หลายคนอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่น กรณีการนำภาพจาก Facebook มาใช้ ควรต้องขออนุญาติเจ้าของภาพอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำสื่อต่างๆ เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ควรจะต้องเป็นสื่อที่ผลิตจากโปรแกรมหรือเครื่องมือที่ถูกลิขสิทธิ์ เป็นต้น

เอกสารเพิ่มเติม

ไฟล์นำเสนอ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

ไฟล์นำเสนอ นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์

ไฟล์นำเสนอ ดร.วรสรวง ดวงจินดา