รูปแบบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง รูปแบบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ บรรยายโดยคุณสร้อยทิพย์ สุกุล จากบริษัท EIFL Thailand

S__21504040

เนื้อหาการบรรยายกล่าวถึงวิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน, แนวโน้มและผลสำรวจการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากบริษัทต่างๆ, วัตถุประสงค์ในการใช้งาน, การเปลี่ยนแปลงของ platform, ปัจจัยที่ควรคำนึงในการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และรูปแบบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการจัดหาในปัจจุบันมุ่งเน้นที่ User-Center Acquisition มากขึ้น มีรูปแบบที่น่าสนใจดังนี้

  1. DDA :  Demand-Driven Acquisition คือการที่ผู้บอกรับมี account และจ่ายเงินในระบบไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อผู้ใช้ใช้งาน (view, download) ถึงจำนวนครั้งที่ตั้งค่าไว้ ระบบจะทำการตัดเงินใน account และจะได้หนังสือเล่มนั้นไปแบบถาวร ทำให้เป็นการจัดหาตามหนังสือที่ผู้ใช้ใช้งานจริง
  2. PDA : Patron-Driven Acquisition หรือ Evidence Based Selection คือการบอกรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งฐานข้อมูล หรือบาง collection โดยจ่ายค่าบอกรับเป็นรายปี และเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน 1 ปี สำนักพิมพ์จะส่งสถิติการใช้งานมาให้พิจารณา และผู้บอกรับจะสามารถเลือกดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ตามจำนวนค่าบอกรับที่จ่ายในข้างต้น

เอกสารประกอบการบรรยาย  Ebook platforms and purchase