Tag Archives: KM

รูปแบบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง รูปแบบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ บรรยายโดยคุณสร้อยทิพย์ สุกุล จากบริษัท EIFL Thailand

S__21504040

Continue reading รูปแบบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

งานวิจัยในมุมมองของ KM

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และงานวิจัย  ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง ของการจัดการความรู้และงานวิจัย  ชื่อว่า “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  ซึ่งผู้เขียน คุณจงจิต วงษ์สุวรรณ, คุณเจนจิรา อาบสีนาค, คุณศุภณัฐ เดชวิถี และคุณพรพิมล ช่างไม้  สรุปประเด็นได้ 7 ข้อ ดังนี้

  1. ขั้นตอนเริ่มต้น
  2.  การปฏิบัติ
  3. ชนิดของความรู้ที่เน้น
  4. ตัวแปร
  5. การยืดหยุน
  6. วิธีคิด
  7. ทิศทางการดำเนินงานความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

จงจิต วงษ์สุวรรณ  เจนจิรา อาบสีนาค ศุภณัฐ เดชวิถี และ พรพิมล ช่างไม้  (2552)  “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)  : 22:27

 

การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความรู้ของแต่ละหน่วยงาน ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข  เป็นอีกหนึ่งห้องสมุดที่มีการจัดการความรู้และ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการใช้ KM กับหน่วยงาน  เริ่มจากมีการเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk)  มีการจัดกิจกรรม CoP การใช้เทคโนโลยี Web 2.0 กับการจัดการความรู้ (KM) และ บล็อก (Blog) บล็อกเป็นการจดบันทึกความรู้ส่วนบุคคลและเป็นบันทึกประจำวันแบบสาธารณะ หรือ Public Diary ที่ให้คนอื่นอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ เมื่อนำมาใช้กับหน่วยงานจะยิ่งเป็นประโยชน์  สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

รุจเรขา  วิทยาวุฑฒิกุล. 2552. การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. โดมทัศน์  ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)

 

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ  จึงใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักหอสมุดฯ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ข้างต้น ดังนี้

  • การใช้ Blog ในการนำเสนอบทความด้วยการเล่าเรื่องทางวิชาการ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดี  เป็นต้น ผ่านการจัดหมวดหมู่และการทำดัชนี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และยังได้เผยแพร่ความรู้เหล่านั้น สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และบุคคลทั่วไปในวงกว้างต่อไปทาง http://main.library.tu.ac.th/km/
  • การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้แก่ Training the trainers และ Digital literacy  เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าในการเป็นวิทยากรที่ดีในการให้บริการและส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศต่อไป
  • การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการอบรมจากวิทยากรภายนอก เช่น การนำเสนออย่างทรงพลัง  Smart Click คลิกทันสื่อ เป็นต้น20141216-Presentation4
    การอบรมวิทยากรจากภายนอก
     

    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์  KM
    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ KM

    คลิก  Knowledge Management ที่หน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดฯ (http:// library.tu.ac.th/) หรือ http://main.library.tu.ac.th/km/  จะเข้าสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุดฯ

    ตัวอย่างผลงานบทความที่เผยแพร่

  • GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES เป็นชุดเผยแพร่การเขียนทางวิชาการ
  • PATHFINDER เส้นทางการหาสารสนเทศ
  • PLAGIARISM AND HOW TO AVOID IT
  • OVERVIEW OF INFORMATION LITERACY RESOURCES WORLDWIDE
  • แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
  • ALTMETRIC 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014
  • การแนะนำการใช้ฐานข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ควรทราบเพื่อ การเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  • ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ปัจจุบัน มีบทความเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สารสนเทศ มากกว่า 200 บทความ และมีจำนวนยอดผู้ชมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

KNOWLEDGE SHARING ครั้งที่ 6 การเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WORDPRESS

เมื่อวันที่  12 ธันวาคม 2557 เวลา 13.00 -16.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศการเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WordPress ให้แก่บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณ ห้องนิเทศการศึกษา ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์

ภาพบรรยาการการอบรมการเขียน Blog ด้วย WordPress
ภาพบรรยาการการอบรมการเขียน Blog ด้วย WordPress

Continue reading KNOWLEDGE SHARING ครั้งที่ 6 การเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WORDPRESS

Knowledge Sharing ครั้งที่ 3 การเขียนบทความขึ้น Blog ด้วย WordPress

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เวลา 9.00-12.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดกิจกรรม Knowledge Sharing ครั้งที่ 3 ขึ้น โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมประมาณ 25 ท่าน  โดยการเรียนหลักสูตรดังกล่าวนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมในการเขียนบทความขึ้นเว็บไซต์ KM ของสำนักหอสมุดที่ http://main.library.tu.ac.th/km/  

เอกสารประกอบการบรรยาย

Knowledge Sharing ครั้งที่ 1 การเขียนบทความขึ้น Blog ด้วย WordPress

วันที่ 31 ตุลาคม 2557 เวลา 13.00-16.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม Knowledge Sharing ครั้งที่ 1  เรื่อง การเขียนบทความขึ้น Blog ด้วย WordPress เพื่อให้บุคลากรในสำนักฯ ได้รู้จักการใช้โปรแกรม WordPress ในการนำบทความหรือองค์ความรู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  และเพื่อเป็นการเผยแพร่ให้กับสาธารณะ  โดยผ่านทางเว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักฯ ที่ http://main.library.tu.ac.th/km ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ของบุคลากรในสำนักฯ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 24 คน  เอกสารประกอบการอบรม

บุคลากรในสำนักฯ ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมการใช้โปรแกรม WordPress
บุคลากรในสำนักฯ ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมการใช้โปรแกรม WordPress
บรรยากาศในการเรียนการสอน
บรรยากาศในการเรียนการสอน