ความร่วมมือกับหอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ

หอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น วารสาร งานวิจัย รวมทั้งสิ่งพิมพ์ที่จัดทำโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

Capture

โดยเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการหารือร่วมกันถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของหอสมุดที่ตั้งเป้าหมายในการสร้างเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ การพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภายนอก

โดยมีการพูดคุยกันใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. การยืมระหว่างห้องสมุด โดยเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ และหอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นรูปแบบเดียวกันกับหอสมุดกฎหมายมหาชน ของสำนักงานศาลปกครอง ดูรายละเอียดได้ที่นี่ ซึ่งยังไม่มีการตกลงกันในส่วนของนโยบายและวิธีการดำเนินงาน

2. การแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศระหว่างกัน
ในประเด็นนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนงานวิจัย และส่งพิมพ์ระหว่างหน่วยงาน

  • หอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ มีความสนใจ วิทยานิพนธ์ของคณะนิติศาสตร์ ในสาขากฎหมายมหาชน
2018-06-12_12-19-48
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ มีความสนใจ วารสารศาลรัฐธรรมนูญ หนังสือ และงานวิจัยที่จัดทำโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่เผยแพร่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ebook)
Capture
เว็บไซต์ของหอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการเผยแพร่เอกสารต่าง ๆ ที่จัดทำโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ซึ่งปัจจุบันหอสมุด มธ. ได้รับอนุญาตจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในการจัดเก็บไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ในฐานข้อมูลของหอสมุด ซึ่งสามารถใช้งานได้ที่

  • วารสารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี 2542 (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1) – ปัจจุบัน ดูรายละเอียได้ที่นี่ 
  • Sanya Dharmasakti Library Collection ซึ่งเก็บรวบรวมหนังสือ และงานวิจัยที่จัดทำโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ 
    โดยในอนาคตจะมีการขออนุญาตหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น สำนักงานศาลปกครอง และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยจัดเก็บเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า

3. การตรวจสอบความซ้ำของผลงานทางวิชาการ
ในประเด็นนี้ หอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ มีความประสงค์ที่จะให้หอสมุด มธ. ช่วยตรวจความซ้ำของผลงานบุคลากรของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการทำผลงานวิชาการหรือวิจัยเพื่อประกอบการเลื่อนตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งหอสมุด มธ. มีเครื่องมือสำหรับเพื่อการนี้โดยเฉพาะ