การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ                  ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ในเรื่อง การกำหนดคำสำคัญ (Keyword) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ โดยเนื้อหาการบรรยายนั้นมีดังนี้

คำสำคัญ (keyword) คืออะไร

คำหรือวลีสำคัญในชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง เนื้อหา และสาระสังเขป  คำสำคัญเป็นภาษาอิสระที่ทำให้สามารถสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลได้

คำหรือวลีที่มีความสำคัญหรือมีนัยสำคัญ ต่อระบบการสืบค้นสารสนเทศ, คำที่มีสาระหรือประโยชน์ ใน ชื่อเรื่อง หรือ เนื้อหาจากเอกสาร  ใช้เพื่อระบุเนื้อหาหลักของเอกสารนั้นๆ

ประโยชน์ของคำสำคัญ (keyword)

การใช้คำสำคัญเพื่อการสืบค้น จะมีประโยชน์เมื่อหัวเรื่องของเอกสารนั้นไม่ชัดเจนหรือไม่เป็นที่รับทราบโดยทั่วกัน  เพราะหัวเรื่องเป็นสิ่งที่ผู้กำหนดหัวเรื่องกำหนดให้แก่บทความ หรือ หนังสือ ซึ่งผู้สืบค้นไม่ได้รู้จักไปทั้งหมด  ดังนั้นการใช้คำสำคัญเป็นวิธีที่ดีในการสืบค้น เพราะทำให้สืบค้นแนวคิดใหม่ หรือ ศัพท์เฉพาะที่หัวเรื่องยังไม่ได้กำหนดไว้

การกำหนดคำสืบค้นสำหรับ Search engines

            Long Tail Keyword คือ Keyword ที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง คือเป็นคำที่สื่อความหมายที่ชัดเจนว่ากำลังหมายถึงอะไรอยู่ ส่วนใหญ่แล้ว Long Tail Keyword มักจะประกอบไปด้วยคำหลายๆคำมารวมกันหรือบางครั้งอาจจะอยู่ในรูปประโยคก็ได้

ตัวอย่าง เครื่องมือกำหนดคำสำคัญสำหรับ Long tail keyword
ตัวอย่าง เครื่องมือกำหนดคำสำคัญสำหรับ Long tail keyword

การกำหนดคำสืบค้นสำหรับ Search engines (ต่อ)

          Niche Keyword คือ คำเฉพาะที่ลูกค้าจะใช้ค้นหาสินค้าของเราผ่านทางGoogle และมีความต้องการน้อยแต่ตรงกลุ่มเป้าหมายเรามากกว่า เช่น หากธุรกิจของเรา ขายแว่นตากรองแสงสำหรับคนที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งวันเพื่อลดแสงจ้าปกป้องดวงตา การเลือกคำว่า “แว่นตา” หรือ “ขายแว่นตา” จะไม่ใช่ Niche Keyword  เพราะแว่นตาจะมีหลากหลายประเภทการใช้งาน แต่คุณควรเลือกคำว่า “แว่นตากรองแสง”  หรือ “แว่นตาคอมพิวเตอร์” จะทำให้คุณได้กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแว่นตาของคุณจริง ๆ ลดการแข่งขันจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราลง งบทำตลาดก็ถูกลงอย่างมาก

ตัวอย่าง เครื่องมือกำหนดคำสำคัญสำหรับ niche keyword
ตัวอย่าง เครื่องมือกำหนดคำสำคัญสำหรับ niche keyword

ประสบการณ์ในการกำหนดคำสำคัญ

  1. กำหนดความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในพื้นฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์ และควรระลึกว่า ควรทำตัวเป็นผู้ค้น หรือคิดเหมือนที่ผู้ค้นคิด หรือการเน้น ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
  2. ควรเป็นคำที่ใช้กันในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป รวมทั้งศัพท์เทคนิค ถ้าศัพท์นั้นไม่ได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ใช้โดยทั่วไป ก็ควรใช้คำที่เป็นที่รู้จัก ตัวอย่าง เช่น state of the arts ก็อาจใช้คำว่า latest most update
  3. ควรเป็นคำที่มีความหมายชัดเจน ซึ่งต้องขึ้นกับบริบทของเนื้อหาด้วย ผู้สืบค้นที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน อาจตีความผิด ซึ่งประเด็นนี้ก็อาจแก้ไขด้วยการใช้ตรรกะบูลีน
  4. ควรใช้คำที่มักจะมีการสะกดผิดด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ ผู้ใช้พลาดข้อมูลที่สำคัญ เช่น มาตราฐาน