แนวปฎิบัติที่ดีในการตรวจสอบสิทธิสมาชิก

แนวปฎิบัติที่ดีในการตรวจสอบสิทธิสมาชิก

1234
ที่มา: https://itaxi.taxi/customer

เมื่อใดที่ต้องตรวจสอบ

1. เมื่อพบว่า บัตรสมาชิก เช่น บัตรนักศึกษา บัตรประจำตัวบุคลากร ไม่สามารถใช้แตะผ่านประตูเพื่อเข้าห้องสมุด การยืมหนังสือผ่าน Self-Check หรือเคาน์เตอร์บริการ
2. เมื่อไม่ทราบ / ไม่แน่ใจว่า บัตรสมาชิกประเภทสมทบ หรือ รายปี ยังคงมีสภาพสมาชิกอยู่หรือไม่

แนวทางการตรวจสอบ

1. สมาชิกที่มีข้อมูลในฐานข้อมูลของหอสมุด ให้ตรวจสอบกับในระบบ KOHA Staff เพื่อดูวันหมดอายุ ถ้าระบบแสดงข้อมูลว่า “หมดอายุ” ให้ดำเนินการ ดังนี้

ที่มา: https://blog.gemalto.com/mobile/2018/07/11/identity-verification-service-combating-fraud-and-improving-customer-care/
ที่มา: https://blog.gemalto.com/mobile/2018/07/11/identity-verification-service-combating-fraud-and-improving-customer-care/

2. สมาชิกที่ไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูลของหอสมุด ได้แก่ สมาชิกรายปี สมาชิกรายวัน และสมาชิกสมาคมศิษย์เก่าให้ผู้ปฎิบัติงานตรวจสอบสิทธิ ดังนี้

  • สมาชิกรายปี ดูวันหมดอายุที่หน้าบัตรสมาชิก กรณีต่ออายุสมาชิกแล้วแต่ยังไม่ได้บัตรใหม่ ให้ดูใบเสร็จรับเงิน หรือ สอบถามเคาน์เตอร์บริการ ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ หรือ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์
  • สมาชิกรายวัน ดูวันที่บนคูปอง ซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 วันเท่านั้น
  • สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า ดูบัตรสมาชิกที่นำมาแสดง หรือ ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยสมาคมศิษย์เก่า โดยสามารถดูรายชื่อสมาคมศิษย์เก่าที่สามารถเข้าใช้บริการห้องสมุดได้ที่ http://library.tu.ac.th/rules-regulations

ผู้รับผิดชอบ

  • ผู้ปฎิบัติงานเคาน์เตอร์บริการของห้องสมุดเป็นผู้รับผิดชอบ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. คู่มือรายละเอียดการปฎิบัติงาน QH-LS-03 เรื่อง การจัดการข้อมูลสมาชิก และการทำบัตร
  2. ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการใช้ห้องสมุด พ.ศ. 2560
  3. ประกาศ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
  4. ประกาศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. ประกาศ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง สมาคมหรือชมรมที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการเข้าใช้ห้องสมุด

ข้อควรระวัง

เมื่อผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวกที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้ ผู้ใช้อาจมีสภาวะอารมณ์ที่ไม่พอใจต่อการให้บริการ ผู้ปฎิบัติงานควรใช้ความระมัดระวังในการแสดงออกซึ่งคำพูด สีหน้า ท่าทาง หรือการพูดจาที่อาจไม่สุภาพ หรือ ไม่ให้เกียรติกับผู้ใช้บริการ เช่น การพูดคุยกันเองโดยไม่ให้ความสนใจกับผู้ใช้บริการ การใช้น้ำเสียงที่ไม่นุ่มนวล หรือ แสดงออกถึงความไม่เต็มใจในการให้บริการ เนื่องจากจะเป็นการสร้างความไม่พึงพอใจและเกิดข้อร้องเรียนตามมา