Category Archives: คู่มือ/แนวปฏิบัติ

หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการเเพทย์ หรือ Medical Subject Headings (MeSH) เป็นคู่มือที่ใช้ในการกำหนดหัวเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การแพทย์
และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดทำขึ้นโดย หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (The National Library of Medicine)

Continue reading หัวเรื่องทางการแพทย์

การใช้หัวเรื่อง (Subject heading) ใน Library of congress Classification web

  1. เข้าเว็บไซต์ Classification web ด้วยลิงก์ https://classificationweb.net/ และกดที่ปุ่ม Log On เพื่อเข้าสู่ระบบ01
  2. เมื่อกรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านแล้ว จะเข้ามายังหน้า Main Menu ดังภาพ

02

Continue reading การใช้หัวเรื่อง (Subject heading) ใน Library of congress Classification web

วิธีการง่ายๆ เปลี่ยนเอกสารให้เป็นแนวตั้ง แนวนอนในไฟล์เดียวกัน

ในเอกสารงานหรือแม้แต่วิทยานิพนธ์ บางครั้งเราต้องแนบเอกสารที่เป็นแนวนอน เพื่อให้ภาพอ่านง่ายและคมชัด วันนี้หอสมุดฯ มีวิธีง่ายๆ ในการทำให้เอกสารเป็นแนวตั้งและแนวนอนในไฟล์เดียวกันครับ

1. ไปที่หน้าเอกสารที่ต้องการเปลี่ยนเป็นแนวนอน
2. ไปที่แถบเมนู “Layout” เลือก “Breaks” จากนั้นเลือก “Next Page”
1

3. จากนั้นเลือก “Orientation” และเลือก “Landscape”

2

เพียงเท่านี้คุณก็จะได้เอกสารที่มีรูปแบบกระดาษแนวตั้งและแนวนอนในหน้าเดียวกัน

การลงรายการชื่อเรื่องงานวิจัย

research

รายงานการวิจัย หมายถึง การนำเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาแล้วอย่างเป็นระบบมานำเสนอเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ทราบ และรายงานการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสื่อสารกับผู้อ่านที่สนใจเรื่องนั้นๆ รวมถึงบุคคลและหน่วยงานที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ทั้งยังเป็นหลักฐานทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยไปสู่สังคมอีกด้วย

Continue reading การลงรายการชื่อเรื่องงานวิจัย

ระบบจองห้องประชุมหอสมุดฯ

เมื่อบุคลากรฝ่ายใดจะจัดกิจกรรมการอบรม สัมมนา หรือประชุม สามารถจองห้องสำหรับจัดกิจกรรมได้ที่หน้าเว็บของหอสมุดฯ www.library.tu.ac.th และไปที่ Library Staff Page และเลือก Meeting Room Booking System

Continue reading ระบบจองห้องประชุมหอสมุดฯ

การลงรายการชื่อการประชุม หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

      265e878481b19d42a2d3ca2babf10af7                                                                                                                                                                                                                        ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดอบรมความรู้   Knowledge Management เรื่องการลงรายการสำหรับชื่อการประชุมโดยผู้เรียบเรียงเนื้อหาและผู้บรรยายครั้งนี้คือ คุณวิริยา  กิ้มปาน บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ  งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ส่วนดิฉันนางสาวพัชรี นารีดอกไม้  บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ทำหน้าที่สรุปเนื้อหาโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Continue reading การลงรายการชื่อการประชุม หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

1. ชื่อย่อและอักษรย่อ
ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในชื่อย่อและอักษรย่อขององค์กรที่เป็นที่รู้จัก โดยให้ยึดหลักตามองค์กรตามที่ปรากฏ เช่น

EU  (European Union)

WTO (World Trade Organization)

TU (Thammasat University)

Continue reading การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

แนวปฎิบัติที่ดีในการตรวจสอบสิทธิสมาชิก

แนวปฎิบัติที่ดีในการตรวจสอบสิทธิสมาชิก

1234
ที่มา: https://itaxi.taxi/customer

เมื่อใดที่ต้องตรวจสอบ

1. เมื่อพบว่า บัตรสมาชิก เช่น บัตรนักศึกษา บัตรประจำตัวบุคลากร ไม่สามารถใช้แตะผ่านประตูเพื่อเข้าห้องสมุด การยืมหนังสือผ่าน Self-Check หรือเคาน์เตอร์บริการ
2. เมื่อไม่ทราบ / ไม่แน่ใจว่า บัตรสมาชิกประเภทสมทบ หรือ รายปี ยังคงมีสภาพสมาชิกอยู่หรือไม่
Continue reading แนวปฎิบัติที่ดีในการตรวจสอบสิทธิสมาชิก

การลงรายการชื่อภรรยาของบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในอดีตบุคคลผู้มีตำแหน่งทางราชการจะได้รับพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ เรียกโดยรวมว่าบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาโกษาธิบดี และพระยาจุฬาราชมนตรี เป็นต้น ซึ่งภรรยาของบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์สามารถใช้ราชทินนามของสามีเป็นนามของตนเองได้ เช่น ท่านผู้หญิงพระเสด็จสุเรนทราธิบดี คุณหญิงดำรงแพทยาคุณ นางธนรักษ์พิสิษฐ์ เป็นต้น โดยอ้างอิงจาก ”พระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสัตรี พระพุทธศักราช ๒๔๖๐  โดยสามารถสรุปเนื้อหาหลักได้ดังนี้

Continue reading การลงรายการชื่อภรรยาของบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักเกณฑ์ที่สำคัญและข้อตกลงในการ Romanization เบื้องต้น ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดทำรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ภาษาไทย ของบรรณารักษ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ต้องเทียบเสียงอ่านข้อมูลบรรณานุกรมภาษาไทยเป็นอักษรโรมันควบคู่กันโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเทียบเสียงอ่านของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) ที่เป็นมาตรฐานสากลให้ถูกต้องซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการทั่วโลกสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่มีในหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้

ซึ่งในปัจจุบันบรรณารักษ์ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญได้เกษียณอายุงานเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีบรรณารักษ์ปฏิบัติการใหม่ ทำให้ต้องมีการทบทวนหลักเกณฑ์การเทียบเสียงอ่านของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางให้ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน Catalog CoP จึงได้จัดการฝึกอบรม หน่วย Catalog งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เรื่อง การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันโดยวิธีเทียบเสียงอ่าน (Romanization) ในวันที่ 5 เมษายน 2561 โดยสรุปหลักเกณฑ์ที่สำคัญได้ดังนี้ Continue reading หลักเกณฑ์ที่สำคัญและข้อตกลงในการ Romanization เบื้องต้น ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์