หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในการกำหนดเลขหมู่ของหนังสือ โดยจะใช้ หมวด P ในการจัดหมวดหมู่หนังสือที่มีเนื้อหาในสาขาภาษาศาสตร์ วรรณกรรมและวรรณคดี ซึ่งมีแนวทางดังนี้
- หมวดภาษาศาสตร์ ได้แก่
2. หมวดวรรณกรรมและวรรณคดี ได้แก่
3. นอกจากนั้นยังมีตารางช่วยในการกำหนดหมวดหมู่เพื่อให้ตรงกับเนื้อหาของหนังสือให้มากที่สุด จำนวน 40 ตาราง จากภาพเป็นตัวอย่างตาราง P-PZ40
วิธีการกำหนดเลขหมู่ มีการกำหนดไว้ 3 รูปแบบดังนี้
1. การกำหนดเลขหมู่สำเร็จรูป คือ การกำหนดเลขหมู่ที่เป็นตัวเลขหรือจุดทศนิยม ไม่มีการแตกย่อยเป็นตัวอักษรอื่น ดังตัวอย่าง
2. การกำหนดเลขหมู่แบบเพิ่มสัญลักษณ์เลขคัตเตอร์ (A-Z) คือ การกำหนดเลขหมู่ที่แบ่งเรื่องย่อยเฉพาะด้านตามลำดับอักษร (A-Z) การสงวนเลขคัตเตอร์บางตัวไว้เพื่อแทนค่าเฉพาะเนื้อหา หรือการแบ่งย่อยเนื้อหาให้เฉพาะมากขึ้น ดังตัวอย่าง
3. การกำหนดเลขหมู่แบบกระจายจากตารางช่วยสำหรับหมวดภาษาและวรรณกรรม คือ การกำหนดเลขหมู่โดยใช้ตารางช่วย ดังตัวอย่าง หมวด PL4111-4119.5 ให้ใช้ตาราง P-PZ8a ควบคู่ไปด้วย
ตัวอย่าง ตาราง P-PZ8a
ตัวอย่างเช่น
ชื่อเรื่อง: Workbook in comparative and historical Tai linguistics”
หัวเรื่อง: Tai languages
เลขหมู่: PL4113
————————————————————————————-
รายการอ้างอิง
- Library of Congress. Classification web [Internet]. Washington D.C.: Cataloging Distribution Service, Library of Congress. [cited 2018 Oct. 10]. Available from: https://classificationweb.net/
- Library of Congress. Library of Congress classification outline: class P language and literature [Internet]. Washington D.C.: Cataloging Distribution Service, Library of Congress. [cited 2018 Oct. 10]. Available from: http://www.loc.gov/aba/cataloging/classification/lcco/lcco_p.pdf
- สุภาพร ภัทราคร. การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หมวด P ภาษาและวรรณกรรม (language and literature). [กรุงเทพฯ]: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.