Category Archives: 02-Catalogue CoP

เครื่องมือช่วยสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ มาตรฐานการลงรายการ (RDA / AACR2) รูปแบบการลงรายการ MARC / Dublin Core / ISAD(G) การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันโดยวิธีเทียบเสียงอ่าน (Romanization)การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การทำดัชนี (Index)

การกำหนดเลขหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine Classification : NLM)

ทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการใช้ระบบเลขหมู่ 2 ระบบทั้ง NLM และ LC เนื่องจากทรัพยากรที่เข้ามาส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาคาบเกี่ยวทางด้านการแพทย์และสังคมศาสตร์  ในบทความนี้จะขอเน้นการกำหนดเลขหมู่ทางการแพทย์  ดังนี้

1. ลักษณะการจัดหมวดหมู่ระบบ NLM ประกอบด้วย

1.1  มีการใช้สัญลักษณ์แบบผสม ประกอบด้วยตัวอักษรโรมันผสมกับตัวเลขอารบิก
1.2  มีการจัดหมวดหมู่ 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Q และ หมวด W
1.3  ใช้ตารางภูมิศาสตร์ เพื่อระบบตำแหน่งทางภูมิศาสตร์

ลักษณะเลขหมู่
ลักษณะเลขหมู่ NLM

2.  การแบ่งหมวดหมู่ในระบบ NLM สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่

2.1  แบ่งตามกลุ่มสาขาวิชา  2 หมวดใหญ่

หมวด Q กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (Preclinical Sciences)
หมวด W กลุ่มวิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (Medicine and Related Sciences)

Continue reading การกำหนดเลขหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine Classification : NLM)

ทิพวรรณ อินทมหันต์: จากงานเทคนิคสู่การพัฒนาคลังดิจิทัล หอสมุดแห่ง มธ.

ทิพวรรณ อินทมหันต์ งานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทิพวรรณ อินทมหันต์ งานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของคนในทุกวงการ โดยเฉพาะห้องสมุดซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการจากสิ่งพิมพ์สู่เอกสารดิจิทัล เพื่อการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน

“ทิพวรรณ อินทมหันต์”  บรรณารักษ์ชำนาญการ สังกัดงานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เกษียณอายุราชการประจำปี 2562 ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การทำงานในส่วนงานเทคนิคมาจนถึงการรับผิดชอบงานคลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ได้ทราบกัน Continue reading ทิพวรรณ อินทมหันต์: จากงานเทคนิคสู่การพัฒนาคลังดิจิทัล หอสมุดแห่ง มธ.

หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการแพทย์

หัวเรื่องทางการเเพทย์ หรือ Medical Subject Headings (MeSH) เป็นคู่มือที่ใช้ในการกำหนดหัวเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การแพทย์
และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดทำขึ้นโดย หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (The National Library of Medicine)

Continue reading หัวเรื่องทางการแพทย์

การลงรายการฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์

การลงรายการฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกาศ พระราชโอการเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ในรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี

เพื่อให้การลงรายการชื่อบุคคลที่มีฐานันดรศักดิ์เป็นปัจจุบัน และถูกต้อง
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงกำหนดวิธีการลงรายการฐานนันดรศักดิ์ของพระบรมวงศ์ในรัชกาลปัจจุบันดังต่อไปนี้

Continue reading การลงรายการฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์

การใช้หัวเรื่อง (Subject heading) ใน Library of congress Classification web

  1. เข้าเว็บไซต์ Classification web ด้วยลิงก์ https://classificationweb.net/ และกดที่ปุ่ม Log On เพื่อเข้าสู่ระบบ01
  2. เมื่อกรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านแล้ว จะเข้ามายังหน้า Main Menu ดังภาพ

02

Continue reading การใช้หัวเรื่อง (Subject heading) ใน Library of congress Classification web

การลงรายการชื่อเรื่องงานวิจัย

research

รายงานการวิจัย หมายถึง การนำเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาแล้วอย่างเป็นระบบมานำเสนอเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ทราบ และรายงานการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสื่อสารกับผู้อ่านที่สนใจเรื่องนั้นๆ รวมถึงบุคคลและหน่วยงานที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ทั้งยังเป็นหลักฐานทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยไปสู่สังคมอีกด้วย

Continue reading การลงรายการชื่อเรื่องงานวิจัย

การลงรายการชื่อการประชุม หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

      265e878481b19d42a2d3ca2babf10af7                                                                                                                                                                                                                        ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดอบรมความรู้   Knowledge Management เรื่องการลงรายการสำหรับชื่อการประชุมโดยผู้เรียบเรียงเนื้อหาและผู้บรรยายครั้งนี้คือ คุณวิริยา  กิ้มปาน บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ  งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ส่วนดิฉันนางสาวพัชรี นารีดอกไม้  บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ทำหน้าที่สรุปเนื้อหาโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Continue reading การลงรายการชื่อการประชุม หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน : หมวด P ภาษาและวรรณกรรม (language and literature)

books-1614215_640

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในการกำหนดเลขหมู่ของหนังสือ โดยจะใช้ หมวด P ในการจัดหมวดหมู่หนังสือที่มีเนื้อหาในสาขาภาษาศาสตร์ วรรณกรรมและวรรณคดี ซึ่งมีแนวทางดังนี้ Continue reading การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน : หมวด P ภาษาและวรรณกรรม (language and literature)

การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

1. ชื่อย่อและอักษรย่อ
ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในชื่อย่อและอักษรย่อขององค์กรที่เป็นที่รู้จัก โดยให้ยึดหลักตามองค์กรตามที่ปรากฏ เช่น

EU  (European Union)

WTO (World Trade Organization)

TU (Thammasat University)

Continue reading การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

การลงรายการชื่อภรรยาของบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในอดีตบุคคลผู้มีตำแหน่งทางราชการจะได้รับพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ เรียกโดยรวมว่าบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาโกษาธิบดี และพระยาจุฬาราชมนตรี เป็นต้น ซึ่งภรรยาของบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์สามารถใช้ราชทินนามของสามีเป็นนามของตนเองได้ เช่น ท่านผู้หญิงพระเสด็จสุเรนทราธิบดี คุณหญิงดำรงแพทยาคุณ นางธนรักษ์พิสิษฐ์ เป็นต้น โดยอ้างอิงจาก ”พระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสัตรี พระพุทธศักราช ๒๔๖๐  โดยสามารถสรุปเนื้อหาหลักได้ดังนี้

Continue reading การลงรายการชื่อภรรยาของบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์