เทคนิคการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน

เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน 2557 และวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ได้มีโอกาสอบรม “เทคนิคการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน” จัดโดย สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้เห็นความสำคัญของการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ เช่น สอนงาน ตรวจสอบการทำงาน

การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน เป็นการอธิบายแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร บอกจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของงาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงาน ใช้ประกอบการสอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการเรียนรู้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ศึกษารายละเอียดของงานจากเอกสาร
  2. ดูการปฏิบัติงานจริง
  3. จัดทำผังการปฏิบัติงาน
  4. จัดทำรายละเอียดแต่ละขั้นตอน
  5. ตรวจสอบข้อมูลอย่างถูกต้อง เช่น กฎระเบียบ
  6. ตรวจทานข้อมูลให้ถูกต้อง
  7. ขออนุมัติ
  8. ประกาศใช้
  9. เผยแพร่
  10. รวบรวมความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุง เพื่อใช้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

วิธีการเขียนคู่มือปฏิบัติงานไม่มีการเขียนเป็นตำรา ที่เราจะสามารถค้นหาเพื่อเป็นแนวทางได้ แต่เป็นการเขียนจากประสบการณ์และความรู้จากการทำงานของเราเอง ใช้ความเข้าใจ รายละเอียดของงานที่ปฏิบัติ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัว และสิ่งที่สำคัญคือความตั้งใจของเรา พยายามจัดทำให้เสร็จตามกำหนดเวลา อย่าทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ผู้บริหารเห็นประโยชน์และความสำคัญ สนับสนุนและให้คำปรึกษา

รายการอ้างอิง

จริยา บุณยะประภัศร และ ผุสดี รุมาคม. เทคนิคการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน, การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตร “เทคนิคการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน” รุ่นที่ 12-14  วันที่ 29-30 กันยายน 2557 และวันที่ 1 ตุลาคม 2557